ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ฟอลคอน
เป็นชาวกรีกเกิดเมื่อราวปี พ.ศ.2190 มีนามสกุลว่า เยรากี แปลว่า เหยี่ยว นกเขา เขาได้เดินทางไปอยู่ที่กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ เมื่ออายุได้ 10 ปี ต่อมาในปี พ.ศ.2112 เขาได้เป็นเด็กประจำเรือโฮปเวลล์ ซึ่งเดินทางมาค้าขายทางประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเซีย และต่อมาได้เปลี่ยนไปรับจ้างเป็นลูกเรือ ของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ และได้มาประจำสถานีการค้าของบริษัทที่กรุงศรีอยุธยา
เมื่อราวปี พ.ศ.2222 เจ้าหน้าที่อาวุโสของบริษัทอินเดียตะวันออกได้นำเขาไปฝากกับเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ขุนเหล็ก) เพื่อทำหน้าที่ล่าม และได้เข้ารับราชการในตำแหน่งสมุหบัญชีในกรมพระคลังสินค้า ได้แสดงความสามารถในด้านต่าง ๆ เป็นที่ประจักษ์ จึงได้รับแต่งตั้งเป็นหลวงวิชาเยนทร์ มีตำแหน่งในกรมพระคลังสินค้า ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยาวิชาเยนทร์ และพระยาวิชาเยนทร์ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมพระราชไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และการค้าขายกับบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศส
เมื่อวิชาเยนทร์ได้เป็นหัวหน้าในราชการต่างประเทศ ก็ตั้งใจพยายามที่จะให้บังเกิดประโยชน์แก่เมืองไทยด้วย คิดจะให้ไทยเป็นสัมพันธมิตรกับฝรั่งเศส กีดกันมิให้ฮอลันดาและอังกฤษคิดรายได้ และคิดจะบำรุงการค้าขายของไทยให้เจริญโภคทรัพย์เป็นกำลังของบ้านเมือง สมเด็จพระนารายณ์ ฯ ทรงเห็นชอบกับฟอลคอน จึงโปรด ฯ ให้ส่งคณะทูตไทยไปเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ประชวร พระเพทราชาได้ยึดอำนาจการปกครองที่กรุงศรีอยุธยา พระเพทราชาไม่ชอบเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ที่ได้เปลี่ยนไปเข้ารีดนับถือศาสนาคริสตัง และเกื้อกูลบาทหลวงฝรั่งเศสในการเผยแพร่ศาสนานี้ ตลอดจนใกล้ชิดกับกองทหารฝรั่งเศสของนายพลเดส์ ฟาร์ช ซึ่งอาจจะเป็นภัยแก่บ้านมืองในเวลาต่อไป
ในปี พ.ศ.1231 สมเด็จพระนารายณ์ประชวร และประทับอยู่ ณ พระราชวังเมืองลพบุรี ทรงชุบเลี้ยงเจ้าราชนิกุล ซึ่งทรงแต่งตั้งเป็นพระปีย์ ทรงเมตตาเหมือนพระราชบุตรบุตรธรรม เจ้าพระยาวิชาเยนทร์เข้าใจว่า เมื่อถึงเวลามอบเวนราชสมบัติ คงพระยศให้แก่พระปีย์ จึงได้คบคิดกับบาทหลวง พยายามเกลี้ยกล่อมให้พระปีย์เลื่อมใสในศาสนาคริสตัง และกลายเป็นผู้นิยมฝรั่งเศส
พระเพทราชาและหลวงสรศักดิ์เห็นสมเด็จพระนารายณ์ทรงมีพระอาการหนัก จึงล่อให้พระปีย์ และเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ เข้าไปในพระราชวัง แล้วกล่าวหาว่าคบคิดกันเป็นกบฎชิงราชสมบัติแล้วประหารชีวิตทั้งสองคน
>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>