ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

เกร็ดความรู้ จากสารานุกรมไทย

เพนียด

สมัยโบราณมีการจับช้างไว้ใช้ราชการ จึงต้องสร้างเพนียด คือ คอก เมื่อต้อนโขลงช้างเข้าเพนียด แล้วจึงคัดเลือกตามต้องการของทางราชการ

ลักษณะของเพนียดทำด้วยเสาไม้แก่น มีความแข็งแรงมั่นคงทั้งต้น ปักลงไปพื้นดินลึก 1.5 - 2.0 เมตร ปักเรียงรายห่างเว้นระยะแต่ละต้น ให้หมอช้างความช้าง และผู้มีหน้าที่ในการคล้องช้าง หลบตัวออกมาได้สะดวกพ้นอันตราย เมื่อช้างไล่ทำร้ายคอก หรือเพนียดนี้ ปักเสาล้อมเรียงรายเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือรูปไข่ใช้พื้นที่ล้อมเป็นเพนียดประมาณ 20 หรือ 30 ไร่ มีประตูด้านหน้าที่ช่องโค้งหัวตัว อ และหางตัว อ จัดเป็นประตูด้านที่ต้อนล่อนำช้างเข้าเพนียด และที่ด้านหลังมีประตูสำหรับ คัดเลือกช้างสำคัญ ที่ต้องการได้แล้ว จะได้ผ่านเข้าประตูหลังนี้ ที่ประตูจะมีเสาที่เรียกว่า เสาโตงเตง คือ เป็นเสาคู่ขนานเมื่อช้างลอดผ่านเข้าไปแล้ว เสาจะปิดกันขวางประตูช้างจะออกไปอีกไม่ได้ ส่วนช้างที่ไม่ต้องการก็ปล่อยออกทางประตูแรกเข้า

ในการคล้องช้างเข้าเพนียด จะมีพลับพลาสร้างติดกับเพนียดด้านหนึ่ง สำหรับพระมหากษัตริย์ทอดพระเนตรในพลับพลา จะต้องเทวรูปพระพิฆเนศสำหรับสักการะ และนอกเพนียดอีกด้านหนึ่ง จะต้องปลูกศาลตั้งรูปพระครูประกำ ซึ่งเป็นครูของหมอเฒ่า หมอช้าง หมอควาญ เป็นเทวรูปหล่อด้วยโลหะสำริด ลักษณะหน้าเป็นคน ผมศีรษะเลียบ โดยรวมปกไว้ด้านหลัง นั่งบนแท่นโลหะหน้ากระดานสองชั้น มือถือด่อน (เหล็กกลมปลายแหลมด้ามเจาะรู) และถือเชือกบาศ (ทำด้วยโลหะ) เหน็บขอช้างไว้ข้างหลัง

การคล้องช้างในเพนียดมีมาแต่สมัยอยุธยา ต่อมาในรัชกาลที่ห้า มีการคล้องช้างไปเพนียดถึงสี่ครั้ง

>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย