ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
พินัยกรรม
"เอกสารแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินหรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย" พินัยกรรมเป็นเรื่องเฉพาะตัวมีผลบังคับได้ก็เฉพาะแต่ที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือการอันอยู่ในอำนาจของผู้ทำพินัยกรรมเท่านั้น บิดาจะทำพินัยกรรมแทนบุตรไม่ได้ แม้บุตรจะเป็นผู้เยาว์ก็ตาม
พินัยกรรมต้องทำตามแบบหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ พินัยกรรมที่ทำไม่ถูกต้องตามแบบจะเสียไปคือ เป็นโมฆะ อย่างไรก็ตาม ทรัพย์มรดกก็ตกทอดไปยังทายาทตามกฎหมายอยู่แล้ว ประเทศไทยมีกฎหมายมรดกมาแต่โบราณ แม้ครั้งสุโขทัยก็ปรากฎอยู่ในศิลาจารึกว่า เมื่อพ่อแม่ตายให้ทรัพย์สินตกได้แก่ ลูกของมัน แต่การทำพินัยกรรม ยังไม่ปรากฎว่ามีในสมัยนั้น เข้าใจกันว่าเรื่องพินัยกรรมและมรดกมีมาแต่สมัยอยุธยา
เรื่องพินัยกรรมได้นำมาป้องกันไว้ในประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ออกมาในปี พ.ศ.2468 ได้วางหลักในการทำพินัยกรรมไว้หลายแบบ คือ
1. - แบบเขียนเอง ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องเขียนด้วยมือของตนเองทั้งฉบับ เขียนเสร็จแล้วลงลายมือชื่อของตนไว้ โดยไม่ต้องมีพยานลงชื่อรับรอง เหมือนดังพินัยกรรมแบบอื่น แต่ต้องลงวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมนั้นไว้ด้วยจะจั่วหน้าส่งพินัยกรรมหรือไม่ก็ได้ ข้อกำหนดในพินัยกรรมนั้นสดแท้ แต่ผู้ทำพินัยกรรมประสงค์ข้อสำคัญคืออย่าให้ขัดต่อกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศิลธรรมอันดี หรือเป็นข้อกำหนดที่พ้นวิสัย ไม่อาจปฏิบัติได้ก็เป็นโมฆะเหมือนตัวนิติกรรมอื่นทั้งหลาย
2. - แบบคนอื่นเขียนให้หรือพิมพ์ ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม ถ้าเซ็นชื่อในพินัยกรรมไม่เป็นก็พิมพ์ลายนิ้วมือ และต้องทำต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน พยานจะต้องไม่ใช่ผู้รับพินัยกรรมเองหรือสามีภริยาของผู้รับพินัยกรรมกับต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว จะต้องไม่วิกลจริต หรือถูกศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หูหนวกหรือเป็นใบ้หรือตาบอดทั้งสองข้าง ผู้เขียนหรือพิมพ์ต้องลงชื่อไว้ด้วยจะลงชื่อเป็นพยานด้วยก็ได้
3. - แบบเอกสารฝ่ายเมือง ผู้ทำพินัยกรรมต้องไม่ทำที่อำเภอหรือเขตในกรุงเทพ ฯ หรือขอให้เจ้าหน้าที่มาทำที่บ้านหรือสถานที่อื่นใดนอกสถานที่ราชการก็ได้ ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องบอกข้อความที่ตนประสงค์จะใส่ไว้ในพินัยกรรมแก่เจ้าหน้าที่ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน ผู้ทำพินัยกรรมลงลายชื่อไว้ในพินัยกรรมต่อหน้าพยานนั้น และพยานก็จะลงชื่อไว้ในพินัยกรรมด้วย เจ้าหน้าที่ผู้จัดทำพินัยกรรมจะลงลายมือชื่อ วันเดือนปีในพินัยกรรม
4. - แบบเอกสารลับ หลังจากทำพินัยกรรมแล้วจะใส่พินัยกรรมไว้ในซองผนึกเรียบร้อย ลงลายมือชื่อตามรอยผนึกนั้น จากนั้นจะนำซองบรรจุพินัยกรรมนั้น ไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่อำเภอต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน และให้ถ้อยคำต่อบุคคลเหล่านั้นว่าซองนั้นเป็นซองพินัยกรรมของตน เมื่อเจ้าหน้าที่อำเภอจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรม และวันเดือนปีที่แจ้งลงไว้บนซองพินัยกรรมแล้ว เจ้าหน้าที่และพยานจะลงลายมือชื่อ และประทับตราบนซองนั้น
5. - แบบปากเหล่าหรือพินัยกรรมทำด้วยวาจา กฎหมายให้ทำได้เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งไม่สามารถจะทำแบบอื่นได้ด้วยความจำเป็นคับขัน ถ้าผู้ทำพินัยกรรมตายเสียในคราวนั้น พินัยกรรมนั้นก็มีผลใช้ได้ แต่ถ้ายังไม่ตายและมีชีวิตอยู่ต่อไปอีกถึงหนึ่งเดือน นับแต่ผู้นั้นกลับมาสู่ฐานะที่จะทำพินัยกรรมแบบอื่นได้แล้ว พินัยกรรมที่ทำด้วยวาจาจะสิ้นผลไปโดยปริยาย
ในกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมอยู่ต่างประเทศ จะทำตามกฎหมายต่างประเทศก็ได้
และหากจะทำเอกสารฝ่ายเมือง หรือทำเป็นเอกสารลับก็ให้ไปทำที่สถานทูต
หรือสถานกงสุล แทนอำเภอ ถ้าเป็นกรณีอยู่ในยุทธภูมิ ก็ให้ทำกับแม่ทัพนายกอง
>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>