ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ธรรมบาล
เป็นชาวลังกาคนหนึ่ง ซึ่งมีบทบาทสำคัญที่สุดในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ในอินเดีย และได้รับการยกย่องว่า เป็นนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง รู้จักกันทั่วไปในนาม "อนาคาริกธรรมบาล" ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2407 ในกรุงโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา
ขณะที่ท่านธรรมบาลกำลังเรียนอยยู่ที่โรงเรียนเซนต์โทมัส ได้มีเหตุการณ์ที่เป็นต้นเหตุให้ท่านเปลี่ยนวิถึชีวิตในกาลต่อมาคือการชุมนุมของชาวพุทธ เพื่อต่อต้านนักเผยแพร่ศาสนาฝ่ายตรงข้าม เพราะทนต่อการถูกกดขี่และเหยียดหยามทำลายต่อไปไม่ไหว ผู้ที่เป็นศูนย์รวมพลังของชาวพุทธครั้งนั้นก็คือพระเถระผู้ใหญ่ของศรีลังการูปหนึ่ง ท่านแสดงปาฐกถาเป็นประจำในวัดของท่าน ยังผลให้สะท้อนสะเทือนไปถึงศาสนฝ่ายตรงข้ามอย่างรุนแรง จนฝ่านนั้นจัดให้มีการชุมนุมโต้วาทีกันขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2416 ผลปรากฎว่าท่านได้รับชัยชนะเด็ดขาด ข่าวนี้ได้เผยแพร่ไปทั่วศรีลังกาและปประเทศต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ธรรมบาลซึ่งขณะนั้นมีอายุเพียงเก้าขวบเป็นผู้หนึ่งที่ตื่นเต้นและดีใจมากในชัยชนะนี้
ต่อมาในปี พ.ศ.2427 ธรรมบาลได้ติดตามพันเอก เฮนรี่ สเตล ออลคอตต์ ชาวอเมริกา และนางปลาวัตสกี ชาวรัสเซีย ผู้ตั้งสมาคมเทวญาณปรัชญาทางพุทธศาสนา ไปอยู่ที่สำนักงานสาขาของสมาคมในอินเดีย เพื่อฝึกหัดงานพระศาสนาและท่านได้ตัดสินใจเปลี่ยนวิถีชีวิตเป็นแบบอนาคาริกและใช้ชื่อว่า ธรรมบาล
เมื่อได้ช่วยงานพอสมควรแล้วท่านก็ได้เดินทางกลับลังกาและได้ร่วมกันจัดตั้งพุทธสมาคมขึ้น งานของสมาคมได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ต่อมาได้ตั้งโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้นหลายแห่ง เพื่อดึงเยาวชนของชาติให้รักาาศาสนาและวัฒนธรรมของตนไว้
ต่อมาท่านได้จาริกไปตามชนบทจนทั่วประเทศ พยายามชักชวนเพื่อร่วมชาติให้ร่วมกันรักษาศาสนาและวัฒนธรรมของตนไว้ ปรากฎว่าได้รับผลสำเร็จมาก
ท่านกับพระภิกษุชาวญี่ปุ่นผู้หนึ่งได้ออกเดินทางไปพุทธคยา เมื่อปี พ.ศ.2434 พบว่า พระวิหารพุทธคยาอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม พระพุทธรูปและภาพแกะสลักถูกทำลาย ทอดทิ้งอยู่เกลื่อนกลาด ดังที่เซอร์ เอ็ดวิน อาร์โนลด์ กล่าวไว้ก่อนหน้านั้น ท่านธรรมบาลจึงได้ปฏิญาณตนว่าจะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นในอินเดียให้ได้ หลังจากนั้นท่านได้เดินทางกลับศรีลังกาและร่วมกันจัดตั้งสมาคมศรีมหาโพธิ์ขึ้นที่กรุงโคลัมโบ ตัวท่านเองเป็นเลขาธิการ ได้เชิญผู้แทนจากประเทศไทย ญี่ปุ่น พม่า ศรีลังกา กัลกัตตา จิตตะกอง และยะไข่ ให้เข้าร่วมในการก่อตั้งสมาคมด้วย
ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ.2475 อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ.2476 และถึงแก่มรณะภาพในปีเดียวกัน หลังจากที่ทำงานหนักเพื่อพระพุทธศาสนา 40 ปี
ในปี พ.ศ.2492 รัฐบาลอินเดียมีมติให้ตรากฎหมายฉบับหนึ่ง ให้พระพุทธศาสน่าอยู่ในความดูแลของคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการจัดการพระวิหารพุทธคยา ประกอบด้วยชาวพุทธสี่คน ชาวฮินดูสี่คน มีผู้ว่าราชการจังหวัดคยาเป็นประธานกรรมการ
>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>