ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ทิฐิ
โดยรูปคำแปลว่า ความเห็นหรือการเห็น ในพรมชาลสูตรแบ่งทิฐิเป็นสองอย่างก็มี สามอย่างก็มี และ 62 อย่างก็มี ที่แบ่งเป็นสองอย่างคือ
1. สัสตทิฐิ ได้แก่ เห็นว่าอารามณ์หรือตน และโลกเป็นของเที่ยง ยั่งยืนเสมอไป
ไม่มีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลง เช่นเห็นว่าคนตายไปแล้วก็ต้องเป็นคน
สัตว์อะไรตายไปแล้วก็ต้องเป็นสัตว์ชนิดนั้น
2. อุทเฉททิฐิ มีความเห็นว่าอารมณ์หรือตน และโลกเป็นของสูญ ตายแล้วสูญหมด
ไม่มีเกิดใหม่
ทิฐิที่แบ่งเป็นสามอย่างได้แก่ อกิริยาทิฐิ อเหตุกทิฐิ และนัตถิกทิฐิ
1. อกิริยาทิฐิ มีความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ คนจะทำอะไรก็ทำไป แต่เท่ากับไม่ได้ทำ
ไม่มีผลอะไร ทำดีก็ไม่ได้ดี ทำชั่วก็ไม่ได้ชั่ว สักแต่ว่าทำเท่านั้น
2. อเหตุกทิฐิ มีความเห็นว่า หาเหตุมิได้หรือไม่มีเหตุ
เช่นเห็นว่าคนจะได้ดีก็ได้ดีเอง จะได้ชั่วก็ได้ชั่วเอง ไม่มีเหตุไม่มีผล
3. นัตถิกทิฐิ มีความเห็นว่าไม่มี เห็นว่าบุญไม่มี บาปไม่มี ทานที่ให้ไม่มีผล
ไม่มีมารดาบิดา ไม่มีบุตรธิดา มารดาบิดาไม่มีคุณอะไรกับบุตรธิดา
บุตรธิดาก็ไม่จำเป็นต้องมีกตัญญูกตเวทีต่อมารดาบิดา เป็นต้น
ทิฐิสามอย่างนี้อกิริยทิฐิ มีเจ้าลัทธิชื่อบูรณกัสสป ซึ่งเรียกว่า เป็นอกิริยวาที คือผู้มีวาทะ ว่าไม่เป็นอันทำ อเหตุกทิฐิ มีเจ้าลัทธิชื่อมักขวิโคสาล ซึ่งเรียกว่า เป็นอเหตุกวาทีคือผู้มีวาทะว่าไม่มีเหตุ นัตถิกทิฐิ มีเจ้าลัทธิชื่ออธิตะเกสกัมพล ซึ่งเรียกว่า เป็นนัตถิกวาที คือผู้มีวาทะว่าไม่มี
ในพรหมชาลสูตรแบ่งทิฐิออกไปอีกเป็น 62 อย่าง โดยผู้บัญญัติ (สมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้ไม่รู้ไม่เข้าใจในสัจธรรม) กำหนดเอาขันธ์ (เรื่องของตน และเรื่องของโลก) ส่วนอดีตและมีความเห็นไปตามส่วนอดีต แล้วปรารถขันธ์ส่วนอดีตที่เป็นมาจึงแสดงทิฐิเป็นหลายอย่างด้วยเหตุ 18 ประการ กำหนดเอาขันธ์ส่วนอนาคต และมีความเห็นไปตามขันธ์ ส่วนอนาคตแล้วปรารถขันธ์ส่วนอนาคตจึงแสดงทิฐิเป็นหลายอย่างด้วยเหตุ 44 ประการ รวมเป็น 62 ประการ
>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>