ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
เดียรถีย์
"นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนาในอินเดียสมัยพุทธกาล" เป็นคำกลางที่ทางพุทธศาสนาใช้ เรียกนักบวชอื่น ๆ บางทีตามเดิม อัญญะ ซึ่งแปลว่า อื่น เข้าไปข้างหน้าเป็นอัญญเดียรกีย์ ก็มี
พวกเดียร์ถีย์ในสมัยพุทธกาลมีอยู่มากมาย และมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เรียกตามชื่อลัทธิก็มี เรียกตามชื่อสำนักก็มี และเรียกตามลักษณะอาการ หรือพรตที่ประพฤติปฏิบัติก็มี แยกออกเป็นประเภทๆ ได้ คือ
ฤาษี แปลว่าผู้เห็น คือ เห็นสัจธรรม ผู้แสวงหา คือ แสวงหาคุณธรรม
เป็นคำในภาษาสันสกฤตตรงกับ อิสิ ในภาษาบาลี เป็นนักบวชประเภทอยู่ในป่า
จัดเป็นนักบวชพวกธรรมของอินเดีย
ดาบส แปลว่า ผู้บำเพ็ญพรต เป็นนักบวชประเภทนุ่งขาว
มุนี แปลว่า ผู้บำเพ็ญโมเนยปฏิบัติ คือ ถือความวิเวก สงบ สงัด ไม่พูดจากับใคร
ปริพาชก แปลว่า ผู้เร่ร่อน ไม่ค่อยอยู่ประจำที่มีทั้งผู้ชายและผู้หญิง
อาชีวก แปลว่า ผู้เลี้ยงชีพ มีทั้งผู้ชายและผู้หญิง
โดยทั่วไปเป็นนักบวชในศาสนาเชนนิกายหนึ่ง
อเจลก แปลว่า ผู้ไม่นุ่งผ้า ใช้เรียกนักบวชในศาสนาเชนนิกายทิกับพร
นิคันถะ คือ
นิครนถ์แปลว่าผู้ปราศจากกิเลสเครื่องร้อยรัดเป็นชื่อเรียนับวชในศาสนาเชน
ชฎิล แปลว่า ผู้ไว้ผม นิยมเกล้าเป็นชฎา นับถือการบูชาไฟ
มณทกะ แปลว่า ผู้มีศรีษะโล้น
เครุยะ แปลว่า ผู้นุ่งขาวห่มขาว เห็นจะเป็นพวกชีผ้าขาว
เคคัณติกะ แปลว่า ผู้ถือไม้เท้าสามหัว ผ้าจะเป็นพวกฤาษี
เทวธัมมิกะ แปลว่า ผู้นับถือพระผู้เป็นเจ้า คือพราหมณ์พวกนับถือพระพรหม
ว่าเป็นผู้สร้างโลก
ภิกขุหรือภิกษุ แปลว่า ผู้ขอ คือถือการขออาหารเป็นอาชีพ
คำว่าเดียรถีย์ แปลว่า ทางน้ำ ฝั่งน้ำ ในทางศาสนาหมายถึงลัทธิ เพราะเป็นที่ข้ามไปสู่สุคติ ในพระวินัยปิฎก มีว่าถ้าเดียรถีย์คนใดต้องการจะบวชในพระพุทธศาสนา ต้องได้รับการฝึกอบรมเพื่อทดสอบดูว่าผู้นั้นมีความเลื่อมใสจริง เสียก่อนจึงอนุญาตให้บวชได้ วิธีดังกล่าวเรียกว่า ติตถิยปริวาส อนึ่ง การภิกษุในพระพุทธศาสนารูปใด ไปเข้ารีตเดียรถีย์ ต่อมาเกิดกลับใจขอบวชในพระพุทธศาสนาอีก ท่านห้ามมิให้บวชเด็ดขาดเพราะถือเป็นอภัพบุคคล คือ ผู้ขาดคุณสมบัติของผู้จะบวชอย่างหนึ่ง
>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>