ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ดิถี
มีคำนิยามว่า "วันตามจันทรคติ ใช้คำว่าค่ำหนึ่ง สองค่ำ ใช้ว่าคฤถีก็มี" วันของจันทรคติทิน หมายถึง ระยะเวลาที่เราเห็นดวงจันทร์โคจรทางทิศตะวันตก ไปสู่ทิศตะวันออก โดยวัดจากจุดใดจุหนึ่งหรือในขณะใดขณะหนึ่งเป็นหลัก บรรจบรอบและเมื่อบรรจบรอบนี้ต่างกัน ระยะเวลาของเดือนหนึ่ง ๆ จึงต่างกันคือ
จากอามาวสีถึงอามาวสี (วันดับถึงวันดับ) ซึ่งเป็นเวลาที่ดวงจันทร์อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ เดือนชนิดนี้ กำหนดให้มี 30 ดิถี ทุกเดือนไป แต่ใน 30 ดิถี เมื่อนำไปเทียบกับเดือนทางสุริยคติทิน ต้องกำหนดให้เดือนที่มี 29 วัน เดือนคู่มี 30 วัน เว้นแต่ปีใดมีอธิกวาร จึงกำหนดให้เดือนเจ็ดมี 30 วัน (เฉพาะปีนั้น) เป็นการเพิ่มวันในปีของดวงจันทร์ที่หย่อนอยู่ 11 วันใน 1 ปี เพื่อผ่อนผันให้เข้ากับทางโคจรของสุริยยาตร และอนุโลมให้เข้ากับแบบแผนทางพุทธศาสนา เกี่ยวกับเข้าพรรษาด้วย
ประเทศไทยได้นิยมใช้เดือนจันทรคติทิน หรือจันทรคติกาล มาแต่ปางบรรพ์ ถือเป็นประเพณีนิยมและเกี่ยวเนื่องด้วยพิธีกรรมตามหลักศาสนา ปีของจันทรคติ กำหนดให้มี 12 เดือน เท่ากับ 360 ดิถี แต่ปีตามดวงจันทร์ที่โคจรในปีปรกติมาสวารมี 354 วัน ปีปรกติมาสอธิกวารมี 355 วัน ปีอธิกมาศมี 384 วัน
การเติมอธิกวาร เพิ่มอธิกมาส ลงในเดือนจันทรคติเป็นการกระทำเพื่อรักษาฤดูกาล วันขึ้นแรมให้คงที่ไว้ใกล้เคียงกับเดือนสุริยคติ เดือนของจันทรคติทินนั้น กำหนดให้มีสองปักษ์ ปักษ์ละ 15 วัน (บางปักษ์อาจมี 14 วัน ถ้าเป็นเดือนคี่) ปักษ์หนึ่งเรียก ชุณหปักษ์ คือปักษ์ข้างขึ้น ปักษ์ที่สองเรียกกาฬปักษ์คือ ปักษ์ข้างแรม
>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>