ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
จิ้มก้อง
การจิ้มก้อง มีว่าแต่โบราณกาลมาจีนถือว่า พระเจ้ากรุงจีนเป็นราชาธิราช อยู่เหนือเจ้าประเทศอื่นๆ จึงมีคำเรียกพระเจ้ากรุงจีนว่า ฮ่องเต้ เรียกเจ้าประเทศอื่นว่า อ๋อง เมื่อประเทศต่าง ๆ ไปค้าขายถึงเมืองจีน ก็มีพระราชสาสน์และมีเครื่องราชบรรณาการ ไปถวายพระเจ้ากรุงจีน ซึ่งจีนเรียกว่า จิ้มก้อง เมื่อนั้นจีนจึงยอมให้เรือของประเทศนั้น ๆ เข้าไปทำการค้าขายกับจีนได้
จีนถือว่า ประเทศที่ไปจิ้มก้อง ยอมเป็นประเทศราชไปแสดงความสวามิภักดิ์ต่อจีน ส่วนประเทศต่าง ๆ นั้น ถือว่าเป็นการเจริญทางพระราชไมตรีกับจีน จากจดหมายเหตุจีน ได้ความว่าไทยไปจิ้มก้องพระเจ้ากรุงจีน ตั้งแต่สมัยเมื่อพระเจ้ารามคำแหง ฯ ครองกรุงสุโขทัย เป็นปฐม และมีสืบมาตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้เลิก
เมื่อปี พ.ศ.1825 ง่วนสีโจ๊ ฮ่องเต้ (กุบไลข่าน) ให้ทูตมาเกลี่ยกล่อม เสียมก๊ก คือ กรุงสุโขทัย กับหลอฮกก๊ก คือ กรุงละโว้ ซึ่งสมัยนั้นยังไม่รวมกันเป็น เสียมหลอฮกก๊ก ให้ไปอ่อนน้อมต่อกรุงจีน พ.ศ.1836 ง่วนสีโจ๊ ฮ่องเต้ ให้ราชทูตไปทำทางพระราชไมตรีด้วยพระเสียมก๊ก
ต่อมาพระเจ้าไถ่โจ๊ ฮ่องเต้ ทรงปรารภว่า ประเทศต่างๆ ที่อยู่ไกลคือ เจียมเสีย (จัมปา) งังน่าง (ญวน) ซีเอี้ยง (โปร์ตุเกส) ซอลี้ (สเปน) เอี่ยวอวา (ชวา) เสียมหลอฮกก๊ก (เมืองไทย) ปะหนี (ปัตตานี) กำพัดฉิ (กัมพูชา) เคยไปจิ้มก้องทุกปี ฝ่ายจีนสิ้นเปลืองมากนัก จึงห้ามไม่ให้ไปทุกปี (ให้ไปสามปีครั้ง)
เมื่อประมาณปี พ.ศ.2418 นายห้างปุนถัง มีจดหมายมาถึงกระทรวงต่างประเทศว่า ตกต่งภาคกวางตุ้ง สั่งให้ทวงก้อง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงปรึกษาเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ กับเคาซิลออฟสเตต ได้ความเห็นเป็นสองฝ่าย เห็นว่าควรไปจิ้มก้องฝ่ายหนึ่ง เห็นว่าไม่ควรอีกฝ่ายหนึ่ง ครั้งนั้นยุติให้พระยาโชฎึก ฯ มีจดหมายไปถึงนายบ้านปุนถัง ให้บอกต๋งต๊กว่า ถ้าจะให้ทูตไทยไปเมืองจีนก็ต้องให้ขึ้นบกที่เมืองเทียนจิ๋น เหมือนทูตฝรั่งจึงจะไป แต่นั้นจีนก็ไม่ทวงก้อง ต่อมา
>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>