ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
พระโคดม
พระพุทธเจ้าองค์หลังสุดในพระพุทธเจ้า 25 พระองค์
ห้าองค์หลังเรียกเป็นเฉพาะว่าพระเจ้าห้าพระองค์ พระโคดมพุทธเจ้า
มีพระนามเดิมว่า สิทธัตถะ เป็นเชื้อวงศ์สักยะ ในโคตรหรือสกุลโคดม
เป็นชนในวรรณกษัตริย์อยู่ทางตอนเหนือของอินเดีย ขึ้นอยู่กับแคว้นโกศล
เป็นโอรสพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งเมืองกบิลพัสด์ และพระนาง
พระโพธิสัตว์ ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราพิมพา เมื่อพระชนมายุได้ 16 พรรษา เมื่อพระชนมายุได้ 29 พรรษา ทรงมีพระโอรสชื่อพระราหุล ทรงรู้สึกเบื่อหน่ายในชีวิตแห่งโลกวิสัย จึงเสด็จออกมหาภิเนกกรมณ์ แล้วเสด็จไปยังเมืองราชคฤห์ ได้พบพระเจ้าพิมพิสาร และรับคำพระเจ้าพิมพิสารว่าถ้าทรงแสวงหาธรรมสำเร็จแล้ว จะเสด็จกลับมาเยี่ยมกรุงราชคฤห์ก่อนอื่น
ต่อมาพระโพธิสัตว์ได้ขอเข้าเป็นศิษย์ของอาฬารดาบส กาลามโคตร ได้ศึกษาและปฏิบัติตามลัทธิของอาฬารดาบสจบแล้วเห็นว่ายังไม่บรรลุธรรม จึงเสด็จไปศึกษาต่อในสำนักอุทกดาบส แต่ก็ยังไม่บรรลุธรรมได้ จึงเสด็จไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา เป็นเวลานานถึงหกปี โดยมีภิกษุห้ารูปเรียกว่า ปัญจวัคคีย์ ติดตามเป็นศิษย์ เมื่อพระโพธิสัตว์เห็นว่าการบำเพ็ญทุกรกิริยาไม่เป็นทางให้ตรัสรู้ได้ จึงเลิกเสีย ทำให้ปัญจวัคคีย์ผิดหวัง จึงละทิ้งพระองค์พากันไปอยู่ที่อิสิปัตนะ
พระโพธิสัตว์ เสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์ ประทับนั่งขัดสมาธิ ตั้งพระทัยแน่วแน่ว่าจะไม่เสด็จลุกจากอาสนะ จนกว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ทรงเข้าญาณสมาบัติอยู่ตลอดคืน ในยามแรกทรงบรรลุวิชชาที่หนึ่งคือ ทรงระลึกถึงพระชาติที่ล่วงมาแล้วเป็นอันมาก (ทำให้รู้ว่าสังสารวัฎคือ การเวียนว่ายตายเกิดนั้นมีจริง - เพิ่มเติม) ในยามกลางทรงบรรลุวิชชาที่สองทรงรู้ กำเนิดของสัตวว์โลกว่าเป็นไปตามกรรมที่สัตว์นั้นได้ทำไว้ (ทำให้รู้ว่าผลของกรรมนั้นมีจริง - เพิ่มเติม) และในยามปลายทรงบรรลุวิชชาที่สามคือ การทำอาสวะให้หมดสิ้นไป (เห็นอริยสัจสี่ อันทำให้พ้นไปจากวัฎฎสงสาร - เพิ่มเติม) ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญ เดือนหก หรือวันวิสาขบูชา
พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า จะประทานพระปฐมเทศนา แก่ปัญจวัคคีย์ก่อน จึงได้เสด็จไปยังอิสิปัตนะ พบปัญจวัคคีย์แล้วตรัสเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์ ในวันเพ็ญเดือนแปด หรือวันอาสาฬหบูชา พระโกณทัญญะ (องค์หนึ่งในปัญจวัคคีย์) ได้ดวงตาเห็นธรรม และปัญจวัคคีย์ก็ได้รับบรรพชาอุปสมบท เป็นพระภิกษุ และต่อมาเมื่อพระพุทธองค์ทรงเทศนา อนัตตลักขณสูตร แก่พระภิกษุปัญจวัคคีย์แล้ว พระปัญจวัคคีย์ทั้งห้าองค์ ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
วันรุ่งขึ้น พระพุทธองค์ทรงพบยสมาณพ ได้ตรัสเทศนาโปรด ยสมาณพ จนเลื่อมใสและต่อมาได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เศรษฐีบิดายสมาณพได้รับไตรสรณาคมน์ มารดาและภริยาพระยส ได้เป็นอุบาสิกา สองคนแรก สหายพระยส รวม 54 คน ได้บรรพชาและอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ต่อมาได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ รวมพระอรหันต์นอกจากพระพุทธองค์มี 60 องค์ พระพุทธองค์ตรัสให้พระอรหันต์ทั้ง 60 องค์ แยกย้ายกันไปประกาศเผยแผ่พระธรรม (มีความตอนหนึ่งว่า "จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺ ปาย เป ฯ" พวกเธอจงเที่ยวจาริกเพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก - เพิ่มเติม)
เมื่อพระพุทธเจ้า จำพรรษาอยู่ ณ เมืองพาราณสี แล้ว เมื่อออกพรรษาได้ตรัสเทศนาโปรดภัททวัคคีย์ 30 คน ประทานบรรพชาอุปสมบทให้ จากนั้นได้ทรงแสดงอิทธิปาฎิหาริย์ เพื่อโปรด กัสสปสามพี่น้อง ซึ่งเป็นพวกชฎิล ให้เลื่อมใส แล้วประทานบรพรชาอุปสมบทแก่กัสสปสามพี่น้อง พร้อมบริวารพันคน ท่านเหล่านั้นเมื่อได้สดับพระธรรมเทศนา อาทิตตปริยายสูตร แล้วก็บรรลุภูมิเป็นพระอรหันต์ จากนั้นพระพุทธองค์พร้อมด้วยพระสาวกเหล่านี้ เสด็จไปเยี่ยมกรุงราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารถวายสวนเวฬุวัน พระพุทธองค์ประทับอยู่สองเดือน ได้พระอัครสาวก พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ มาบรรพชาอุปสมบท จากการได้พบพระอัสสชิ (องค์ที่ห้าของปัญจวัคคีย์ ) และได้ฟังธรรมจากท่าน (มีความว่า เย ธมฺมา เหตุปภวา เตส ํ เหตุ ํ ตถาคโต เต สญฺจ โย นิโรโธ เอว ํ วาที มหาสมโณ ธรรมใดเกิดจากเหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณทรงสั่งสอนอย่างนี้ - เพิ่มเติม ) แล้วได้ดวงตาเห็นธรรม (มีความว่า ยงฺ กิญจิ สมุทฺยธมฺม ํ สพฺพนฺต ํ นิโรธ ธมฺมนฺติ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา)
ในเดือนสี่ พระพุทธองค์พร้อมพระสาวก เสด็จเยี่ยมกรุงกบิลพัสดุ์ ประทับอยู่ที่สวนนิโครธาราม ทรงแสดงยมกปาฎิหาริย์ และตรัสเล่าเรื่อง เวสสันดรชาดก ประทานบรรพชาอุปสมบทแก่พระราหุล ได้มีพวกกษัตริย์สากิยะได้บรรพชาอุปสมบท ครอบครัวละคน แล้วเสด็จกลับกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ ณ สวนสีตวัน
ณ สวนสีตวัน เศรษฐีชื่อ สุทัต ซึ่งภายหลังได้ชื่อว่า อนาถบิณฑิกะ ได้มาเฝ้าและมีความเลื่อมใสในพระพุทธองค์ อัญเชิญทูลเสด็จไปเยี่ยมเมืองสาวัตถี เมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปถึงแล้ว อนาถบิณฑกะได้ถวายสวนเชตวัน สำหรับเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าและพระสาวก ในช่วงเวลาตอนนี้ นางวิสาขา ได้สร้างวัดบุพพาราม ถวายพระพุทธองค์ ที่เมืองสาวัตถี
พรรษาที่สี่ พระพุทธเจ้าเสด็จประทับที่เวฬุวัน ณ
ที่นี้ได้โปรดอุคเสนมาณพ
พุทธพรรษาที่ห้า พระเจ้าสุทโธทนะ สิ้นพระชนม์
หลังจากที่ได้สำเร็จพระอรหันต์ภูมิแล้ว ในระยะเวลาตอนนี้กษัตริย์พวกสากิยะ
และพวกโกลิยะ วิวาทกันเรื่องแย่งน้ำในแม่น้ำโรหินี
พระพุทธองค์ทรงไกล่เกลี่ยให้ทั้งสองฝ่ายคืนดีกัน และประทับอยู่ที่นิโครธาราม ณ
ที่นี้พระมหาปชาบดีโคตมี พร้อมกุลนารีในวงศ์สากิยะ ขออุปสมบท
พระอานนท์ทูลอ้อนวอนแทนสตรีเหล่านั้น พระพุทธองค์จึงประทานพุทธานุญาต
พรรษาที่หก พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฎิหาริย์
อีกครั้งที่ใต้ต้นมะม่วงในเมืองสาวัตถี
ก่อน7/นี้พระพุทธองค์ทรงห้ามไม่ให้สาวกแสดงปาฎิหาริย์
และทรงจำพรรษาที่มังกุลบรรพต
พรรษาที่เจ็ด พระพุทธองค์เสด็จไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ตรัสเทศนาพระอภิธรรม โปรดพระพุทธมารดา และทรงจำพรรษาอยู่บนนั้น
พระสารีบุตรไปฟังอภิธรรมทุกวัน และจำได้หมด
เมื่อออกพรรษาพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัส
ห่างจากเมืองสาวัตถี 30 โยชน์ ในระหว่างเวลานี้ นางจิญจมาณวิกา
ถูกชักชวนให้ใส่ร้ายพระพุทธองค์
พรรษาที่แปด พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในประเทศของพวกภัคคะ
ที่ป่ามาสกลาวัน ใกล้สูงสุมารคีรี
พรรษาที่เก้า พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่กรุงโกสัมพี
ขณะเสด็จไปแคว้นกุรุ พราหมณ์ชื่อ คันทิยะ ได้ถวายธิดาชื่อ มาคันทิยา
แต่พระพุทธเจ้าทรงปฎิเสธ ทำให้นางมาคันทิยา ผูกใจเจ็บต่อพระพุทธเจ้า
พรรษาที่สิบ พระภิกษุสงฆ์ที่เมืองโกสัมพี เกิดความเข้าใจผิดกัน
พระพุทธองค์ไม่ทรงสามารถระงับการวิวาทกันนี้ได้
จึงเสด็จไปประทับอยู่ในป่าลิไลยก์ มีช้างมาคอยปฎิบัติพระพุทธองค์
เมื่อทรงจำพรรษา ณ ที่นั้น แล้วจึงเสด็จกลับมาเมืองสาวัตถี
ระหว่างทางพวกภิกษุที่เมืองโกสัมพี รู้สำนึกในความผิด
จึงพากันมากราบทูลขอลุกะโทษ ความแตกร้าวก็หมดไป
พรรษาที่สิบเอ็ด พระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่บ้านพราหมณ์ชื่อ เอกมาลา
และทรงโปรด กสิภาวัทวาชะ
พรรษาที่สิบสอง เสด็จประทับที่เมืองเวรัญชา
ทรงจำพรรษาที่เมืองนี้ ตามคำขอร้องของพราหมณ์เวรัญชะ
พรรษาที่สิบสาม ทรงจำพรรษาที่เจลิกบรรพต ซึ่งมีพระเมฆิยะ
เป็นผู้ปฎิบัต พระพุทธองค์โดย
พรรษาที่สิบสี่ เสด็จประทับที่เมืองสาวัตถี ณ
ที่นี่พระราหุลได้รับอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
พรรษาที่สิบห้า พระพุทธเจ้าเสด็จเยี่ยมเมืองกบิลพัสดุ์อีก ณ
ที่นี้สุปพุทธะ พระบิดาของพระนาง
พรรษาที่สิบหก พระพุทธเจ้าเสด็จประทับที่เมืองอาลวี ได้โปรดยักษ์ชื่อ
อาลวถะ
พรรษาที่สิบเจ็ด พระพุทธเจ้าเสด็จกลับไปเมืองสาวัตถี
แล้วเสด็จกลับมาเมืองอาลวี โปรดชาวนาคนหนึ่งได้บรรลุโสดาบัน
และทรงจำพรรษาที่กรุงราชคฤห์
พรรษาที่สิบแปด พระพุทธเจ้าเสด็จจากเชตวัน มายังเมืองอาลวี
โปรดบุตรสาวช่างทอผ้า ได้บรรลุโสดาบัน
พรรษาที่สิบเก้า พระพุทธเจ้าประทับที่เขาอาลิกบรรพต
พรรษาที่ยี่สิบ ทรงแสดงปาฎิหาริย์โปรดองคุลิมาล
จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ในพรรษานี้เองพระอานนท์
ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ปฎิบัติใกล้ชิดพระพุทธเจ้า และได้ปฎิบัติน7/ที่นี้ตลอดมา
พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาาที่กรุงราชคฤห์
ในระยะ 25 ปี หลัง ตามอรรถกถากล่าวว่า พระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่เมืองสาวัตถี ในพระเชตวันวิหารบ้าง ที่บุพพารามบ้าง เมื่อออกพรรษาพระพุทธเจ้าจะจาริกไปยังเมืองตำบลต่าง ๆ อยู่มากแห่ง
ในปีสุดท้ายเมื่อจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน มีเรื่องพระเจ้าพิมพิสารสิ้นพระชนม์ก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้แปดปี และในระยะเดียวกันนี้พระเทวทัตก็พยายามจะดำรงตำแหน่งประธานในคณะสงฆ์ แต่ไม่สำเร็จ จึงได้พยายามทำลายพระชนม์พระพุทธเจ้าหลายประการแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ
พระพุทธเจ้าเสด็จออกจากเขาคิชฌกูฏ ใกล้เมืองราชคฤห์ ไปยังสวนอัมพลัฏฐิกา เสด็จต่อไปยังนาลันทา หมู่บ้านปาฏลิคาม ข้ามแม่น้ำคงคาไปยังหมู่บ้านโกฏิคาม ไปยังตำบลญาติกะ แล้วเสด็จไปเมืองเวสาลี ประทับอยู่ในสวนนางอัมพปาลี จากนั้นเสด็จต่อไปยังหมู่บ้านเพลุวะ ทรงจำพรรษา ณ ที่นี้และประชวรอย่างหนัก พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับพระอานนท์ว่าการประกาศพระศาสนาของพระองค์จะสิ้นสุดลงแล้ว และเมื่อดับพระชนม์ชีพแล้ว ให้สงฆ์จงปกครองรักษากันเอง โดยยึดเอาพระธรรมเท่านั้นเป็นที่พึ่งต่อไป และได้ตรัสเทศนาเรื่องสติปัฏฐานสี่
รุ่งขึ้น พระพุทธองค์ได้เสด็จไปสู่หมู่บ้านภัณฑคาม ณ ที่นี้ได้ตรัสเทศนาโปรดมหาชนด้วยเรื่องอริยธรรมสี่ ซึ่งเป็นเครื่องทำลายความเกิดใหม่ คือศีล สมาธิ ปัญญาและวิมุตติ จากนั้นเสด็จดำเนินผ่านหมู่บ้านหัตถคาม อัมพคาม และชัมพุคาม แล้วเสด็จประทับยังหมู่บ้านโภคนคร ณ อานันทเจดีย์ ตรัสเทศนาเรื่องมหาปเทสสี่อันเป็นทางที่กำหนดเรื่องหลักธรรมอันแท้จริงได้แน่แท้ จากนั้นได้เสด็จไปยังเมืองปาวา ประทับที่ป่ามะม่วง (อัมพวัน) ของนายจุนท์ช่างทอง นายจุนท์จัดภัตตาหารอันมีสูกรมัทวะรวมอยู่ด้วยถวายพระพุทธเจ้า เป็นภัตตาหารครั้งสุดท้าย แล้วก็เกิดอาพาธลงพระโลหิต จากนั้นได้เสด็จดำเนินไปยังเมืองกุสินารา ทรงข้ามแม่น้ำหิรัญวดีไปสู่ป่าอุปวัตนสาละ ทรงไสยาสน์ใต้ต้นสาละ
ฝ่ายกษัตริย์มัลละต่างพากันมาเฝ้าเพื่อถวายสักการะบูชา มีปริพาชกผู้หนึ่งชื่อ
สุภัททะ เข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์โปรดให้สุภัททะได้รับบรรพชาอุปสมบท
และพระพุทธองค์ได้ตรัสแก่เหล่าพระภิกษุสงฆ์ว่า ("หนฺททานิ ภิกฺเว
อามนฺตยามิ โว วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถาติ" ฯลฯ
ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราเตือนพวกเธอว่าสังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด
นี้เป็นพระวาจาครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้า จากนั้นพระพุทธองค์ทรงเข้าฌานสมาบัติทบทวนกลับไปกลับมาโดยอนุโลม และปฏิโลม แล้วเสด็จดับขันธปรินิพพานในขณะที่ออกจากจตุตถฌาน - เพิ่มเติม)
รุ่งขึ้น พระอานนท์ได้แจ้งเรื่องแก่กษัตริย์พวกมัลละแห่งเมืองกุสินารา เพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพ โทณพราหมณ์ได้ให้คำแนะนำ ในการแบ่งพระสรีรธาตุ ออกเป็นแปดส่วนเท่ากัน กับผู้ที่อ้างสิทธิ์อันได้แก่ พระเจ้าอชาติศัตรู กษัตริย์พวกลิจฉวีแห่งเมืองเวสาลี กษัตริย์พวกสากิยะแห่งเมืองกบิลพัสดุ์ กษัตริย์พวกพุลีแห่งเมืองอัลกัปปะ กษัตริย์พวกโกลิยะแห่งเมืองรามนคร พราหมณ์แห่งแคว้นวันเวฐทีปะ และกษัตริย์พวกมัลละแห่งเมืองปาวา ส่วนโทณพราหมณ์ขอรับภาชนะที่ตรงพระสรีรธาตุเป็นของตน ส่วนกษัตริย์พวกโมริยะแห่งปีปผลิวัน มาทีหลังจึงได้แต่พระอังคารเท่านั้น
>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>