ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
เครื่องลายคราม
เครื่องลายครามตามที่เข้าใจกันเป็นส่วนมาก หมายถึงเครื่องภาชนะกระเบื้อง หรือเครื่องถ้วยของจีน ชนิดที่เขียนลายเป็นสีคราม เฉพาะที่นิยมกันว่า เป็นของดีมีราคา เครื่องถ้วยจีน คงจะมีเข้ามาขายในประเทศไทย พร้อม ๆ กับที่จีนส่งสินค้าเข้ามาขายในประเทศไทย ประเทศไทยได้จัดทำเครื่องถ้วยขึ้นใช้เอง จนถึงเป็นสินค้าจำหน่ายไปยังประเทศใกล้เคียง ตั้งแต่ปี พ.ศ.1837
ในสมัยอยุธยา เครื่องถ้วยที่ไทยสั่งออกไปทำในเมืองจีน เท่าที่พบมีเพียงสามอย่างคือ ชาม จานเชิง และโถ สีก็มีก็มีสามอย่างคือ ลายครามอย่างหนึ่ง ลายสีเขียนบนพื้นถ้วยขาวอย่างหนึ่ง และเบญจรงค์ ลายไทยที่ทำให้ตัวอย่างไปเขียนเครื่องถว้วย มีลายก้านขด และลายก้านแย่ง เป็นต้น บางทีก็มีภาพปลายกระหนก ภาพเทพพนม และภาพเทพพนมนรสิงห์
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ 1 เครื่องถ้วยที่สั่งไปทำเมืองจีนได้โปรดให้ช่างหลวง เขียนลายตัวอย่างขึ้นใหม่ แต่ดำเนินตามตัวอย่างที่ดี ครั้งกรุงเก่าเป็นพื้น ถึงรัชกาลที่ 2 เครื่องถ้วยที่สั่งไปทำเมืองจีนได้คิดแก้ไขผิดจากเดิม ทั้งรูปร่างและลวดลาย มีลายผูกขึ้นใหม่หลายอย่าง เช่น ลายดอกกุหลาบ เป็นต้น ในรัชกาลที่ 3 นิยมลวดลายไปข้างแบบจีนมากขึ้น ในรัชกาลที่ 4 สั่งให้ทำแต่ลายน้ำทองกับลายคราม ในรัชกาลที่ 5 เครื่องถ้วยจีนที่เป็นของดี มีตกเข้ามามากกว่ารัชกาลก่อน ๆ เพราะกลับเกิดนิยมเล่นเครื่องถ้วยและเครื่องโต๊ะกันขึ้นอีก
>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>