สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ศิลปะศรัทธา ถวายพระมหากษัตริย์ไทย
ประเทศไทย มีประวัติศาสตร์การปกครองที่ยาวนาน
โดยมีพระมหากษัตริย์ที่ทรงปรีชาสามารถ แต่ละยุคแต่ละสมัย
ซึ่งทรงนำบ้านเมืองสู่ความรุ่งเรืองสถาพร และมีความเป็นเอกราช ตราบเท่าทุกวันนี้
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงพระราชดำริให้สร้างพระพุทธรูปขึ้น และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างอุทิศถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
33 พระองค์ สมัยกรุงธนบุรี 1 พระองค์ และสมัยรัตนโกสินทร์ 3 พระองค์
ซึ่งได้ประดิษฐานเพื่อเป็นที่เคารพสักการะของปวงชนชาวไทยสืบไป
พระพุทธรูปปางประทานเอหิภิกขุ
ทรงอุทิศพระราชกุศลถวาย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
ขนาดหน้าตักกว้าง 8 ซ.ม. สูงเฉพาะองค์พระ 11.20 ซ.ม. สูงจากฐานถึงพระรัศมี 22.50
ซ.ม.
พระราชประวัติ
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
พ.ศ. 1893-1912
ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี นับตั้งแต่ พ.ศ. 1893
และทรงรวบรวมชาวไทยทั่วทิศานุทิศให้เป็นปึกแผ่น ตลอดจนขยายราชอาณาจักรให้แผ่ไพศาล
ในขณะเดียวกันก็ทรงนำแบบแผนในการปกครองมาใช้ เพื่อเป็นหลักเกฎฑ์ที่แน่ชัด
ในการบริหารราชการแผ่นดิน
พระพุทธรูปปางชี้อัครสาวก
ทรงอุทิศพระราชกุศลถวาย สมเด็จพระบรมไตรยโลกนาถ
ขนาดหน้าตักกว้าง 22.65 ซ.ม. สูงเฉพาะองค์พระ 10.90 ซ.ม.
สูงจากฐานถึงพระรัศมี 22.65 ซ.ม.
พระราชประวัติ
สมเด็จพระบรมไตรยโลกนาถ
พ.ศ. 1991-2031
ทรงวางระบบระเบียบบริการราชการแผ่นดิน อย่างมีแบบมีแผนยิ่งขึ้น
โดยนำหลัก จตุสดมภ์ (เวียง วัง คลัง นา) มาใช้
ทรงส่งเสริมวรรณคดีไทยจนเป็นที่เฟื่องฟู ดังที่ได้พระราชนิพนธ์มหาชาติคำหลวงขึ้น
แม้กระทั่งหนังสือ ลิลิตพระลอ อันถือเป็นวรรณคดีของชาติ ก็สันนิฐานว่า
อาจทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเอง หรือมีผู้แต่งขึ้นในรัชกาลนี้
พระพุทธรูปปางห้ามมาร
ทรงอุทิศพระราชกุศลถวาย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ขนาดหน้าตักกว้าง
8 ซ.ม. สูงเฉพาะองค์พระ 11.35 ซ.ม. สูงจากฐานถึงพระรัศมี 23 ซ.ม.
พระราชประวัติ
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
พ.ศ. 2034-2072
ในรัชสมัยของพระองค์ได้ทำสัญญาพระราชไมตรีกับโปรตุเกส
นับเป็นครั้งแรกที่ไทยได้เจริญสัมพันธไมตรีกับชาติตะวันตก (พ.ศ. 2061)
ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถในการรบ แต่เมื่อว่างเว้นจากการศึกสงคราม
ก็ได้จักระบบการปกครอง เพื่อความสงบร่มเย็นของบ้านเมือง
พระองค์ได้โปรดให้สร้างตำราพิชัยสงคราม กับได้วางหลักเกณฑ์ ให้ชายไทยอายุ 188-60 ปี
ต้องมีหน้าที่รับราชการทหาร