สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้
น้ำส้มสายชู
น้ำส้มสายชูตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับ 204) พ.ศ.2543
แบ่งชนิดของน้ำส้มสายชูที่วางจำหน่ายอยู่ 3 ประเภท คือ น้ำส้มสายชูหมัก
น้ำส้มสายชูกลั่น และน้ำส้มสายชูเทียม
น้ำส้มสายชูที่เหมาะแก่การบริโภคก็คือน้ำส้มสายชูหมักและกลั่น
แต่ว่าก็ไม่ควรใช้น้ำส้มสายชูในการปรุงอาหารมาก เพราะน้ำส้มสายชูมีสมบัติเป็นกรด
อีกทั้งเมื่อผ่านกระบวนการหมักแล้วอาจเกิดสารปนเปื้อนได้
ซึ่งคณะกรรมการอาหารและยาได้กำหนดไว้ว่าสารปนเปื้อนเหล่านี้จะต้องมีไม่เกินตามปริมาณที่กำหนด
คือ
- สารหนูไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่อน้ำส้มสายชู 1 กิโลกรัม
- ตะกั่วไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่อน้ำส้มสายชู 1 กิโลกรัม
- ทองแดงและสังกะสีไม่เกิน 10 มิลลิกรัม ต่อน้ำส้มสายชู 1 กิโลกรัม
- เหล็กไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อน้ำส้มสายชู 1 กิโลกรัม
คนรักสุขภาพบางกลุ่มเลือกใช้แอ๊ปเปิ้ลไซเดอร์ วินีการ์ (Apple Cider Vinegar) ซึ่งเป็นน้ำส้มสายชูที่นำเข้าจากต่างประเทศ แต่ราคาค่อนข้างสูง แต่อย่างไรก็ตามน้ำส้มบ้านเราก็ใช้ได้ เพียงเลือกสินค้าที่มีคุณภาพ และหากไม่จำเป็นก็ควรใช้มะนาว มะขามเปียก เพราะน้ำส้มสายชูมีกรดน้ำส้ม ซึ่งจะกัดกระเพาะ คนเป็นโรคกระเพาะจึงไม่ควรกินน้ำส้มสายชู
น้ำมัน
น้ำตาล
ซีอิ๊วขาว ซอส เต้าเจี้ยว
น้ำปลา
เกลือ
น้ำส้มสายชู