ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ปรัชญาจีน

ลัทธิเม่งจื้อ

ประวัติความเป็นมาและต้นกำเนิดของลัทธิเม่งจื้อ

เม่งจื้อเกิดที่เองโฉเสียน อยู่ในแคว้นลู้ ปัจจุบันคือมณฑลชางตุง เม่งจื้อเกิดในตระกูลหมาง เดิมชื่อหมางโก แต่ภายหลังพระเจ้ากรุงจีนเปลี่ยนชื่อให้เป็นหมางสี เม่งจื้อแสวงหาที่รับราชการไปตามแคว้นต่างๆและทุกแคว้นที่เหยียบย่างเข้าไปก็ได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะในสมัยนั้นนักปรัชญาการเมืองได้รับการยกย่องมาก เม่งจื้อได้รับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์หลายแคว้น โดยเฉพาะที่แคว้นชี และได้ใช้ชีวิตยามชราสั่งสอนลูกศิษย์ และเขียนหนังสือเกี่ยวกับความคิดและชีวิตระหว่างที่รับราชการมา

แนวคิดและหลักคำสอน

เม่งจื้อ สาวกเอกของขงจื้อ ท่านเป็นนักตีความหลักปรัชญาของขงจื้อ นอกจากนั้นยังเป็นที่เข้าใจกันว่า มีความคิดใหม่เพิ่มเติมอันเป็นของเขาเอง ความคิดที่สำคัญที่เพิ่มเติมจากหลักคำสอนของขงจื้อ คือ กำเนิดความดีความชั่วของบุคคล กษัตริย์ปกครองประชาชนโดยคุณธรรม และพละกำลัง

แนวความคิดของเม่งจื้อเสริมต่อแนวความคิดของขงจื้อสองประการเกี่ยวกับการปกครองที่ดี คือ

1. เม่งจื้อสอนว่าถ้าผู้ปกครองไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนและไม่ได้ปกครองประชาชนอย่างถูกต้อง สวรรค์ก็ย่อมไม่พอใจ ฉะนั้นประชาชนก็ย่อมจะมีสิทธิโค่นล้มผู้ปกครองผู้นั้นได้

2. ผู้ปกครองที่ดีต้องไม่เพียงแต่เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ประชาชนอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะต้องกระทำตนให้มีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ประชาชนควรได้รับ และต่อเงื่อนไขความเหมาะสมของประชาชนด้วย

อิทธิพลของลัทธิเม่งจื้อที่มีต่อสังคมจีน

1. ด้านการศึกษา แนวคิดของเม่งจื้อส่งเสริมให้คนมีการศึกษา คือ เชื่อว่าคนมีการศึกษาเท่านั้นจึงเก็บเอาความเจริญของมนุษย์ถ่ายทอดไปให้ลูกหลานได้ และการศึกษานี้ทำให้คนต่างกัน ในประเทศจีนพยายามส่งเสริมให้บุตรหลานของตนเข้ารับการศึกษา เพื่อจะได้มีหน้าที่การงานที่ดี

2. ด้านปกครอง ลัทธิเม่งจื้อ เป็นแนวคิดพื้นฐานของทั้งการปกครองแบบประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์ แนวคิดในส่วนนี้มีความขัดแย้งกับลัทธิขงจื้อ เนื่องจากขงจื้อให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัวมากกว่าสถาบันชาติ

3. ด้านเศรษฐกิจ แนวคิดของเม่งจื้อมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ คือ เป็นผลให้ประเทศจีนมีระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ความเป็นอยู่ในสังคมทุกคนต้องมีความอยู่รอดเสมอกัน ที่ดินที่อยู่ในประเทศก็ถือว่าเป็นของรัฐ ดังนั้นทุกคนต้องทำเพื่อรัฐและความอยู่รอดของตน

- ลัทธิขงจื้อ
- ลัทธิเต๋า (เล่าจื้อ)
- ลัทธิเม่งจื้อ
- ลัทธิโมจื้อ
- ลัทธิซุ่นจื้อ
- ระบบฟาเจียหรือนิตินิยม
- ลัทธิฝ่าหลุนกง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย