ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
ละครดึกดำบรรพ์
เป็นละครที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 กำเนิดขึ้น ณ บ้านเจ้าพระยาเทเวศร์ลงศ์วิวัฒน์(ม.ร.ว. หลาน กุญชร) โดยแสดง ณ โรงละครที่ตั้งชื่อว่า โรงละครดึกดำบรรพ์ เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ ได้เดินทางไปยุโรปเมื่อปี พ.ศ. 2434 และมีโอกาสได้ชมละครโอเปร่า (opera) ซึ่งท่านชื่นชมการแสดงมาก เมื่อกลับมาจึงคิดทำละครโอเปร่าให้เป็นแบบไทย จึงเล่าถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ก็โปรดเห็นว่าดีในการสร้างละครดึกดำบรรพ์ครั้งนี้ นอกจากท่านจะเป็นผู้นสร้างโครงละครดึกดำบรรพ์ สร้างเครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์การแสดงแล้ว ท่านยังได้รับความร่วมมือจากผู้ร่วมงานที่สำคัญ ได้แก่
-
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงพระราชนิพนธ์บท และทรงเลือกสรร ปรับปรุงทำนองเพลง ออกแบบฉาก และกำกับการแสดง
-
หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ตาด ตาตะนันท์) เป็นผู้จัดทำนองเพลงควบคุมวงดนตรีและปี่พาทย์
-
หม่อมเข็ม กุญชร ณ อยุธยา ภรรยาของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ เป็นผู้ปรับปรุงประดิษฐ์ท่ารำ และฝึกสอบให้เข้ากับบท และลำนำทำนองเพลง
ละครดึกดำบรรพ์แสดงครั้งแรกปี พ.ศ. 2442 เนื่องในโอกาสต้นรับเจ้าชายเฮนรี พระอนุชาสมเด็จพระเจ้ากรุงปรัสเซีย ซึ่งเป็นพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ละครดึกดำบรรพ์ได้รับความนิยมตลอดมา จนกระทั่งปี พ.ศ. 2452 เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ เกิดอาการเจ็บป่วย ถวายบังคมลาออกจากราชการ ทำให้ต้องเลิกการแสดงละครดึกดำบรรพ์ไปนับตั้งแต่เริ่มแสดงละครดึกดำบรรพ์จนเลิกการแสดง รวมระยะเวลา 10 ปี
ลักษณะของการแสดงละคร
ผู้แสดง ใช้ผู้หญิงล้วน ผู้ที่จะได้รับคัดเลือกให้แสดงละครดึกดำบรรพ์จะต้องมีความสามารถพิเศษด้วยคุณสมบัติ 2 ประการคือ
-
เป็นผู้ที่มีเสียงดี ขับร้องเพลงไทยได้ไพเราะ
-
เป็นผู้ที่มีรูปร่างงาม รำสวย ยิ่งผู้ที่จะแสดงเป็นตัวเอกของเรื่องด้วยแล้ว ต้องใช้ความพินิจพิเคราะห์อย่างมาก
การแต่งกาย เหมือนอยางละครในที่เรียกว่า ยืนเครื่อง นอกจากบางเรื่องที่ดัดแปลงเพื่อความเหมาะสม และให้ตรงกับความเป็นจริง
เรื่องที่แสดง
ที่เป็นบทละครบางเรื่อง บางตอน พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้แก่ เรื่องสังข์ทอง คาวีตอนสามหึง อิเหนาตอนไหว้พระ สังข์ศิลป์ชัยภาคต้นกรุงพานชมทวีป รามเกียรติ์ อุณรุฑ มณีพิชัย
บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็นพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่
เรื่องศกุนตลา ท้าวแสนปม พระเกียรติรถ
บทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์
อินทราชัย ได้แก่ เรื่องสองกรวรวิก เรื่องจันทกินรี
เรื่องพระยศเกตุ
การแสดง จะผิดแปลกจากละครแบบดั้งเดิม เพราะผู้แสดงต้องร้องเองรำเอง ไม่มีบรรยายกิริยาของตัวละคร ได้มีการปรับปรุงการแสดงความเป็นไปในเนื้อเรื่อง พยายามแสดงให้สมจริงสมจังมากที่สุด มีการตกแต่งฉากและสถานที่ ใช้แสง สี เสียง ประกอบฉาก นับเป็นต้นแบบในการจัดฉากประกอบการแสดง่ของโขน ละครต่อมา การแสดงมักแสดงตอนสั้น ๆ ให้ผู้ชมละครชมแล้วอยากชนต่ออีก
ดนตรี ใช้ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ เพื่อความไพเราะนุ่มนวล ดดยการผสมวงดนตรีขึ้นใหม่และคัดเอาสิ่งที่มีเสียงแหลมเล็กหรือดังมาก ๆ ออกเหลือไว้แต่เสียงทุ้ม ทั้งเพิ่มเติมสิ่งที่เหมาะสม7เข้ามา เช่น ฆ้องหุ่ยมี 7 ลูก 7 เสียง ต่อมาเรียกว่า วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
1. เพลงร้อง จากบทละครโดยปรับปรุงหลายอย่างคือ
2. ตัดคำว่า เมื่อนั้น บัดนั้น เมื่อจะกล่าวถึงใครออก
โดยให้ตัวละครรำใช้บทเพื่อให้เข้าใจว่าใครเป็น ผู้พูด
3.
คัดเอาแต่บทเจรจาไว้ โดยยกบทเจรจามาร้องรำ ให้ตัวละครร้องโต้ตอบกันเอง
4. ไม่มีบทที่กล่าวถึงกิริยาของตัวละครว่า จะนั่ง จะเดินซ้ำอีก
ทำให้ผู้แสดงไม่เคอะเขิน
5. บรรยายภาพไว้ในบทร้อง ประกอบศิลปะการรำ
6. ไม่มีคำบรรยาย
7. บทโต้ตอบ ทุ่มเถียง วิวาท ใช้บทเจรจาเป็นกลอนแทน และเจรจาเหมือนจริง
8. มีการนำทำนองเสนาะในการอ่านโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน มาใช้
9. มีการนำเพลงพื้นเมือง เพลงชาวบ้าน การละเล่นของเด็กมาใช้
10. มีการเจรจาแทรกบทร้องโดยรักษาจังหวะตะโพนให้เข้ากับบทร้อง และอื่น ๆ
สถานที่แสดง มักแสดงตามโรงละครทั่วไป เพราะต้องมีการจัดฉากประกอบให้ดูสมจริงมากที่สุด
» ละครเสภา
» ละครร้อง
» ละครพูด