ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
ละครพูดสลับลำ
ได้แก่ เรื่องชิงนาง และปล่อยแก่
การแสดง
ละครพูดล้วน ๆหรือละครพูดแบบร้อยแก้ว ดำเนินเรื่องด้วยวิธีพูด ใช้ท่าทางแบบสามัญชนประกอบ การพูดที่เป็นธรรมชาติ ลักษณะพิเศษของละครพูดชนิดนี้ คือ ในขณะที่ตัวละครคิดอะไรอยู่ในใจมักใช้วิธีป้องปากบอกกับคนดู
ละครพูดแบบร้อยกรอง ดำเนินเรื่องด้วยวิธีพูดที่เป็นคำประพันธ์ชนิดคำกลอน คำฉันท์ คำโคลง ซึ่งมีวิธีอ่านออกเสียงปกติเหมือนละครพูดร้อยแก้ว แต่มีจังหวะวรรคตอนเน้นสัมผัสตามชนิดของคำประพันธ์นั้น ๆ
ละครพูดสลับลำ ยืดถือบทพูดมีความสำคัญในการดำเนินเรื่องแต่เพียงอย่างเดียวบทร้องเป็นเพียงบทแทรกเพื่อเสริมความ ย้ำความ ประกอบเรื่องไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง ถ้าตัดบทร้องออกก็ไม่ทำให้เนื้อเรื่องของละครขาดความสมบูรณ์แต่อย่างใด คำว่า “ลำ” มาจากคำ “ลำนำ” หมายถึง บทร้องหรือเพลง
ดนตรี
ละครพูดล้วน ๆ
หรือละครพูดแบบร้อยแก้ว
บรรเลงโดยวงดนตรีสากลหรือปี่พาทย์ไม้นวมแต่จะบรรเลงประกอบเฉพาะเวลาปิดฉากเท่านั้น
ละครพูดแบบร้อยกรอง บรรเลงดนตรีคล้ายกับละครพูดล้วน ๆ
ละครพูดสลับลำ บรรเลงดนตรีคล้ายกับละครพูดล้วน ๆ
แต่บางครั้งในช่วงดำเนินเรื่องถ้ามีบทร้อง ดนตรีก็จะบรรเลงร่วมด้วย
เพลงร้อง
ละครพูดล้วน ๆ
หรือละครพูดแบบร้อยแก้ว เพลงร้องไม่มี ผู้แสดงดำเนินเรื่องโดยการพูด
ละครพูดแบบร้อยกรอง เพลงร้องไม่มี
ผู้แสดงดำเนินเรื่องโดยการพูดเป็นคำประพันธ์ชนิดนั้น ๆ
ละครพูดสลับลำ
มีเพลงร้องเป็นบางส่วน
โดยทำนองเพลงขึ้นอยู่กับผู้ประพันธ์ที่จะแต่งเสริมเข้ามาในเรื่อง
» ละครเสภา
» ละครร้อง
» ละครพูด



