ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก
ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา จังหวัดสุราษฎร์ธานี(2)
ดินแดนประวัติศาสตร์รอบอ่าวบ้านดอนถือเป็นศูนย์กลางอาณาจักรศรีวิชัยที่สะสมอารยธรรมและ สืบทอดกันมายาวนานจากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในดินแดนแห่งนี้ ทำให้ทราบว่าสภาพภูมิศาสตร์ทำให้มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตและการพัฒนาการของเมืองเป็นอย่างยิ่ง สุราษฎร์ธานีเป็นศูนย์กลางชุมชนเมืองที่ถูกจัดตั้งด้วยปัจจัยทางภูมิศาสตร์รอบอ่าวบ้านดอน เป็นศูนย์กลางการค้าขายนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันโดยพัฒนามาพร้อม ๆ กับชุมชนโบราณอีกหลายแห่งที่อยู่บริเวณรอบอ่าวบ้านดอน ประกอบด้วยชุมชนเมืองสำคัญ ๆ เช่น
เมืองไชยา เมืองโบราณมีศูนย์กลางที่ราบลุ่มคลองไชยาเกิดขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เกิดผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมด้านศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธแบบเถรวาท มีชื่อเสียงมากเมื่อครั้งวัฒนธรรมศรีวิชัยเจริญรุ่งเรื่องในราวพุทธศตวรรษที่ 13-17 เมืองไชยาเป็นเมืองหนึ่งในเมืองสิบสองนักษัตรของอาณาจักรนครศรีธรรมราช ชื่อว่าเมืองบันไทยสมอ
เมืองเวียงสระ มีอายุรุ่นเดียวกับเมืองไชยาอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำตาปี และแม่น้ำพุมดวง มีศูนย์กลางอยู่บริเวณตำบลเวียงสระ อำเภอเวียงสระ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่11 - 15 หรือ 16สภาพภูมิศาสตร์ของเมืองอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ ติดต่อกับทางทะเลไม่ได้การคมนาคมลำบากความสำคัญจึง ลดถอยลงไป เป็นเพียง การขยายชุมชน สะสมแหล่งอาหารเพื่อบำรุงเมืองเท่านั้
เมืองคีรีรัฐนิคมเป็นเมืองขนาดเล็กที่เป็นบริวารของเมืองเวียงสระ เรียกกันว่าเมือง " ธาราวดี "บ้าง " คงคาวดี " บ้าง มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาโอบล้อมไปด้วยลำน้ำที่ไหลผ่าน เดิมเมืองนี้ตั้งอยู่ที่บ้านน้ำรอบ ภายหลังมาขึ้นกับเมืองตะกั่วป่าและยังไม่มีการปกครองเป็นหัวเมืองจึงเรียกกันว่า " คีรีรัฐนิคม " เมืองนี้มิได้เป็นศูนย์กลางทางการค้าแต่เป็นเมืองหน้าด่านควบคุมสินค้าทางเดินบกข้ามแหลมมลายูระหว่างฝั่งทะเลตะวันตกกับฝั่งทะเลตะวันออก
เมืองท่าทองเป็นเมืองขนาดใหญ่ เชื่อกันว่าเป็นเมืองสิบสอง นักษัตรของนครศรีธรรมราช ชื่อ "เมืองสะอุเลา"ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มลำน้ำท่าอุแท และคลองกะแดะควบคู่กันในอำเภอกาญจนดิษฐ์ อายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 เป็นต้นมา เป็นชุมชนกระจัดกระจายพบว่าตำบลช้างขวาและใกล้เคียงมีศิลปกรรมสมัยทราวดี
สมัยตั้งแต่รัชสมัยพระบรมไตรโลกนาถ เป็นต้นมา ได้มีการฟื้นฟูบูรณะวัดต่างๆ ในเมืองไชยาที่สำคัญคือ วัดพระบรมธาตุ ให้เป็นวัดสำคัญประจำเมืองไชยา
บทบาทของเมืองในสุราษฎร์ธานีในสมัยอยุธยา ค่อนข้างราบเรียบ คงจะเป็นเพราะศูนย์กลางการค้าทางทะเล ได้เปลี่ยนสถานที่ไปทำให้บทบาทของเมืองต่าง ๆ น่าจะเป็นเมืองกสิกรรมไม่โดดเด่นเช่นเมืองปัตตานี สงขลา พัทลุง และนครศรีธรรมราช
ในปี พ.ศ.2328 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระเจ้าปดุงกษัตริย์พม่ายกกองทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ เมืองไชยา และเมืองท่าทอง ได้รับความเสียหายมาก ผู้คนอพยพออกไปจากตัวเมือง เข้าใจว่าน่าจะย้ายไปตั้งเมืองใหม่ที่พุมเรียง พุมเรียงได้กลายเป็นศูนย์กลางเมืองไชยา จนกระทั่งมีการสร้างทางรถไฟสายใต้ ผ่านเมืองไชยา ทำให้ศูนย์กลางเมืองไชยาได้ย้ายกลับมาอยู่ใกล้สถานีรถไฟ การที่เมืองไชยาเก่าบริเวณที่ตั้งวัดเรียง ย้ายไปอยู่ที่พุมเรียงเป็นเวลาประมาณศตวรรษเศษ เป็นเหตุให้วัดต่าง ๆ ในเมืองไชยาที่เคยเจริญมาตั้งแต่ครั้งอยุธยากลายสภาพเป็นวัดร้าง เช่นวัดพระบรมธาตุไชยา วัดแก้วกาหลง เป็นต้น
จังหวัด » กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล สุราษฎร์ธานี