ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
จังหวัดสุโขทัย
ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก
ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา จังหวัดสุโขทัย
สุโขทัย ในฐานะที่เป็นแคว้นทางการปกครองอย่างเป็นเอกเทศ ได้ปรากฏรูปร่างขึ้นมาเมื่อพุทธศตวรรษที่ 18 เมื่อวีรบุรุษไทย 2 คน คือ พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดและพ่อขุนบางกลางหาวเจ้าเมืองบางยาง ได้ร่วมมือกันยึดเมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัยคือมาจากข้าศึกที่ชื่อว่า ขอมสบาดโขลญลำพง
เมืองสุโขทัยเดิม พญาศรีนาวนำถมเป็นเจ้าเมืองครองอยู่ แต่ครั้งเมื่อพญาศรีนาวนำถมถึงแก่กรรมลง ได้เกิดเรื่องยุ่งยากขึ้น โดยต้องตกอยู่ในอำนาจปกครองของขอมสบาดโขลญลำพง ดังนั้น พ่อขุนผาเมืองผู้เป็นโอรส จึงได้ร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาวยึดอำนาจคือ สำหรับพ่อขุนผมเองนั้นนอกจากเป็นโอรสของเจ้าเมืองสุโขทัยเก่าและเป็นเจ้าเมืองราดแล้ว ยังดำรงฐานะเป็นราชบุตรเขยของกษัตริย์เขมร และได้รับมอบนามเกียรติยศคือ ศรีอินทราบดินทราทิตย์ กับพระขรรค์ชัยศรีจากกษัตริย์เขมรด้วย
เมื่อยึดเมืองศรีสัชนาลัยกับสุโขทัยได้แล้ว พ่อขุนผาเมืองจึงได้มอบเมืองสุโขทัยให้สหายตนครอบครอง พร้อมทั้งนามเกียรติยศตนให้แก่สหาย ส่วนตัวเองกลับไปครองเมืองราดเช่นเดิม ด้วยเหตุนี้ พ่อขุนบางกลางหาวจึงได้เป็นที่รู้จักกันภัยหลังในนามว่า ศรีอินทราบดินทราทิตย์ หรือ ศรีอินทราทิตย์
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ครอบคอรงสุโขทัยเป็นศุนย์กลางมีอำนาจอยู่แถบบริเวณลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำปิงตอนล่าง ทรงมีโอรสที่ปรากฏนามอยู่สองพระองค์ คือ พ่อขุนบานเมือง ผู้พี่และพ่อขุนรามราชผู้น้อง
ในขณะนั้นบ้านเมืองยังอยู่ในความไม่สงบ ยังมีผู้นำของกลุ่มชนอิสระอยู่อีกหลายกลุ่มที่คิดจะตั้งตัวเป็นใหญ่ ดังนั้น ในการรวบรวมกลุ่มชนต่าง ๆ เหล่านั้นเข้าด้วยกันจึงต้องมีการทำสงครามต่อสู้กัน ดังเช่นครั้งหนึ่งเมื่อพ่อขุนรามราช อายุได้ 19 ปี ประมาณปี พ.ศ. 1800 ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดตีเมืองตาก ซึ่งเป็นเมืองอยู่ในอาณาเขตปกครองของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ครั้งนั้นพ่อขุนรามราชได้ช่วยพระราชบิดาออกสู้รบด้วย และสามารถชนช้างชนะขุนสามชนได้ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงหนามพ่อขุนราชราชว่า พระรามคำแหง
เมื่อขุนศรีอินทราทิตย์สิ้นพระชนม์พ่อขุนบานเมือง ได้ขึ้นครองราชย์ต่อมา แต่อยู่ในช่วงระยะสั้น ๆ ไม่ปรากฏเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ เมื่อพ่อขุนบานเมืองสิ้นประชนม์ ในปี พ.ศ. 1822 พ่อขุนรามคำแหง จึงได้ครองราชย์ต่อมาและได้ทรงเป็นมหาราชพระองค์แรงของชนชาติไทย ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชถือได้ว่าเป็นยุคทองของสุโขทัย อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรือกว่าในรัชกาลใด ๆ ในราชวงศ์พระร่วง ราชอาณาจักรแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวาง ทิศเหนือ อาณาเขตถึงเมืองหลวงพระบาง โดยมีเมืองต่าง ๆ คือ เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองปัว ทิศใต้ อาณาเขตถึงฝั่งทะเลสุดเขตมาลายู โดยมีเมืองต่าง ๆ คือ เมืองคนที เมืองพระบาง เมืองแพรก เมืองสุพรรณภูมิ เมืองเพชรบุรี และเมืองนครศรีธรรมราช ทิศตะวันออก อาณาเขตถึงเมืองเวียงจันทน์ และเมืองเวียงคำ โดยมีเมืองสระหลวง เมืองสองแคว เมืองลุมบาจาย และเมืองสคา ทิศตะวันตก อาณาเขตถึงเมืองฉอด และเมืองหงสาวดี
ในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช บ้านเมืองอยู่อย่างสงบ มีความร่วมเย็นเป็นสุขดังที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว การพาณิชย์เจริญก้าวหน้า พระองค์ได้ทรงวางระเบียบปกครองบ้านเมือง ทั้งยังประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1826 กับทั้งทรงดูแลการเพิ่มผลผลิตของประชากร เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของอาณาจักร
พระราชโอรสพระองค์หนึ่งของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช คือ พญาเลอไท ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองศรีสัชนาลัย ในขณะที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชครองราชสมบัติอยู่ เมือพ่อขุนรามคำแหงมหาราชสวรรคตในราว พ.ศ. 1842 เมืองต่าง ๆ ที่เคยอยู่ในอำนาจของอาณาจักรสุโขทัย ได้แตกแยกกันออกเป็นอิสระทำให้เสถียรภาพของอาณาจักรสุโขทัยอยู่ในฐานะที่คับขัน กษัตริย์ที่ครองราชสมบัติสืบต่อจากพ่อขุนรามคำแหง คือ พญาไสสงคราม การที่เมืองต่าง ๆ พยายามแยกตัวออกเป็นอิสระ รวมทั้งเมืองที่อยู่ใกล้กับเมืองหลวงพยายามแยกตัวออกไป แสดงให้เห็นว่าถ้าไม่เกิดความยุ่งยากในราชวงศ์ก็ขึ้นอยู่กับการปกครองเป็นสำคัญ เพราะการปกครองในสมัยนั้นเป็นแบบนครรัฐ คือแต่ละเมืองก็มีผู้ปกครองนครเป็นอิสระเข้ามารวมกันได้ก็เพราะศรัทธาในกษัตริย์องค์เดียวกันเท่านั้น
|| อ่านต่อ >>>
จังหวัด » กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์