ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
จังหวัดลำพูน
ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก
สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดลำพูน
วัดมหาวัน
วัดนี้สร้างมาแต่ครั้งพระนางจามเทวีขึ้นครองนครหริภุญไชย
สิ่งที่น่าชมคือ พระพุทธสิกขิ หรือพระศิลาดำ
ซึ่งพระนางจามเทวีอัญเชิญมาจากเมืองละโว้ ชาวเมืองเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า
พระรอดหลวง หรือพระรอดลำพูน
ซึ่งมีความสำคัญและเป็นแบบพิมพ์ในการจำลองทำพระเครื่องที่ลือชื่อคือ พระรอดมหาวัน
วัดจามเทวี
ชาวบ้านเรียกว่า วัดกู่กุด ตั้งอยู่ริมถนนจามเทวี ตำบลในเมือง
เป็นฝีมือช่างละโว้ ลักษณะพระเจดีย์เป็นสี่เหลี่ยมแบบพุทธคยาในประเทศอินเดีย
แต่ละด้านมีพระพุทธรูปยืนปางประทานพรอยู่เป็นชั้นๆ
ภายในเจดีย์บรรจุอัฐิของพระนางจามเทวีปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย
วัดพระยืน
เดิมชื่อว่า วัดพฤทธมหาสถาน
พระเจดีย์วัดพระยืนเป็นพระเจดีย์ทรงมณฑป มีพระพุทธรูปยืนทั้งสี่ทิศ
เครื่องบนประกอบด้วยเจดีย์ห้ายอด
โดยมีเจดีย์ทรงระฆังและเจดีย์ทรงกลมขนาดเล็กเป็นประธาน
คล้ายคลึงกับอานันทเจดีย์ที่เมืองพุกาม และพระเจดีย์วัดป่าสัก จังหวัดเชียงราย
วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร
สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1651 ในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช
หมู่บ้านหัตถกรรมผ้าฝ้ายเวียงยอง
เป็นหมู่บ้านผลิตผ้าฝ้ายโดยฝีมือชาวบ้าน
ผ้าที่ผลิตจะเป็นผ้าฝ้ายและผ้าฝ้ายยกดอก รวมถึงผลิตภัณฑ์จากฝ้ายอื่น ๆ
อนุสาวรีย์สุเทวฤาษี
เดิมตั้งอยู่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดลำพูน
สุเทวฤาษีเป็นผู้สร้างเมืองหริภุญไชย แต่เนื่องจากเป็นผู้บำเพ็ญสมาบัติ
และไม่ยุ่งเกี่ยวกับทางโลก จึงไปเชิญพระนางจามเทวี
ซึ่งเป็นพระธิดาของพระยาจักวัติแห่งเมืองละโว้ มาปกครองเมืองหริภุญไชยแทน
และยังได้ช่วยเหลือพระนางจามเทวีประดิษฐานพระบวรพุทธศาสนาในนครหริภุญไชยอย่างมั่นคง
อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย
ตั้งอยู่บริเวณวัดดอยติ ตำบลป่าสัก
เป็นความภูมิใจอย่างใหญ่หลวงของชาวลำพูน
ที่เมืองนี้เป็นบ้านเกิดเมืองนอนของนักบุญผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนา
อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี
สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระนางจามเทวี
ซึ่งเป็นองค์ปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย พระนางเป็นปราชญ์ที่มีคุณธรรม
ความสามารถและกล้าหาญ ได้นำพุทธศาสนาศิลปวัฒนธรรมมาเผยแพร่ในดินแดนแถบนี้
จนมีความรุ่งเรืองสืบมาจนถึงปัจจุบัน
กู่ช้าง-กู่ม้า
เป็นโบราณสถาน ตั้งอยู่บริเวณชุมชนวัดไก่แก้ว
ซอยโรงเรียนจักรคำคณาทร เป็นสถูปทรงกระบอกปลายมน
เชื่อว่าเป็นสุสานช้างศึกคู่บารมีของพระนางจามเทวี ชื่อ ภูก่ำงาเขียว
ซึ่งหมายถึงช้างผิวสีคล้ำงาสีเขียวที่ทรงอานุภาพและอิทธิฤทธิ์ในสงคราม ส่วน กู่ม้า
เป็นสถูปทรงระฆัง เชื่อว่าเป็นสุสานม้าทรงของพระโอรสพระนางจามเทวี
บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ดอยขะม้อ
เป็นภูเขาไฟโบราณ รูปทรงสัณฐานคล้ายฝาชี บนยอดมีปล่องกว้าง 3
เมตร ลึกประมาณ 6 เมตร ตอนล่างเป็นบ่อ มีน้ำตลอดปี ประชาชนนับถือกันมาแต่โบราณว่า
เป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ห้ามผู้หญิงตัก
เมื่อถึงเทศกาลสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัยจะต้องตักน้ำจากบ่อนี้ไปปนกับน้ำพระราชทาน
แล้วจึงนำขึ้นสรงองค์พระธาตุและ เมื่อพระมหากษัตริย์ไทยเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ
จะต้องนำน้ำในบ่อนี้อัญเชิญไปร่วมเป็นน้ำพุทธาภิเษก
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย
ก่อตั้งโดยพระยาราชกุลวิบูลย์ภักดีสมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ
ต่อมากรมศิลปากรได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารแห่งใหม่เสร็จเมื่อ พ.ศ. 2517
ภายในพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุแบ่งเป็น 3 ห้องคือ ห้องจัดแสดงใหญ่
เป็นห้องโถงยาวอยู่ชั้นบนของตัวอาคารมีการจัดแสดงวัตถุออกเป็น 3 สมัย
คือสมัยก่อนหริภุญไชย สมัยหริภุญไชย และสมัยล้านนา ห้องจัดแสดงศิลปพื้นบ้าน
และเครื่องไม้จำหลัก เป็นห้องจัดแสดงเล็กที่อยู่อาคารเล็กชั้นเดียว
มีโถงเชื่อมจากชั้นบนของอาคารหลังใหญ่ วัตถุที่แสดงเป็นศิลปะสมัยล้านนา
รัตนโกสินทร์ แสดงออกถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น
แหล่งทอผ้าบ้านหนองเงือก
เป็นแหล่งผลิตผ้าฝ้ายทอมือ
และสินค้าหัตถกรรมพื้นเมืองที่ทำจากผ้าฝ้าย
วัดพระพุทธบาทตากผ้า
เป็นปูชนียสถานสำคัญของจังหวัดลำพูน
เป็นศิลปะที่ผสมผสานจากพระธาตุดอยสุเทพและพระธาตุหริภุญชัย โดยมีบันไดนาค 469 ขั้น
เชื่อมระหว่างเจดีย์บนม่อนดอยกับวัดพระบาทตากผ้าที่เชิงดอย
ปัจจุบันสามารถนำรถขึ้นไปได้
หอศิลป
อุทยานธรรมะ
เป็นสวนร่มรื่น มีอาคารใช้สำหรับจัดแสดงงานประติมากรรม
เกี่ยวกับธรรมะและพระพุทธศาสนา รอบๆ อาคารมีแบบจำลองประติมากรรม มุมแสดงเสียงพิเศษ
ตั้งขึ้นโดยคุณอินสนธ์ วงค์สาม ศิลปินแห่งชาติสาขาประติมากรรม ปี พ. ศ. 2542
ซึ่งมีวัตถุประสงค์จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทศิลปะและธรรมะ
ถ้ำเอราวัณ
ลักษณะปากถ้ำจะมีขนาดเล็กลาดต่ำจนถึงปากคูหาถ้ำ
เมื่อผ่านปากถ้ำเข้าไปจะพบห้องโล่งกว้างแสงแดดเข้าไม่ถึงบางแห่งของห้องโถงใหญ่แบ่งเป็นห้องเล็กๆ
กระจายอยู่ซึ่งแต่ละห้องจะมีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม
อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล
มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
อำเภอห้างฉัตรและอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง สภาพพื้นที่เป็นป่าเขา
อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด
วัดศรีดอนชัย
วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางลีลาสูง 59 ศอก
เป็นพระพุทธรูปที่สูงและใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ สร้างขึ้นจากศรัทธาของประชาชน ในปี
พ.ศ. 2538 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล
เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองราชย์เป็นปีที่
50 และพระองค์ทรงพระราชทานนามว่า พระพุทธเฉลิมสิริราช
วัดพระธาตุดอยเวียง
เป็นที่ประดิษฐานเจดีย์เก่าแก่ซึ่งมีพระสารีริกธาตุบรรจุอยู่
สันนิษฐานว่าสร้างเมื่อ พ.ศ. 1220 ในสมัยพระนางจามเทวี
ตามตำนานจารึกในใบลานเล่าว่าขุนหลวงปาละวิจา
มาตั้งเมืองที่นี่ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านและได้สร้างวัดไว้บนดอย
ต่อมาถูกไฟป่าไหม้ลุกลาม ทำให้เหลือแต่เจดีย์และศาลาเล็ก ๆ หลังหนึ่ง
วัดนี้ยังมีพระพุทธรูปเก่าแก่อีก 3 องค์
องค์แรกเป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 29 นิ้ว
พระธาตุดอยห้างบาตร
เป็นเจดีย์ทรงจัตุรมุขสีขาว มีฉัตรทองอยู่ยอดเจดีย์
ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อไร
พระธาตุแห่งนี้อยู่บนยอดดอยที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์เบื้องล่างได้ไกล
วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน
เป็นวัดที่สวยงาม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2484
ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระเจ้าสะเลียมหวาน ซึ่งแกะสลักจากไม้สะเดา
เป็นที่เคารพสักการะของผู้คนทั่วไป
หมู่บ้านกะเหรี่ยงพัฒนาห้วยหละ
เป็นหมู่บ้านกะเหรี่ยงที่ยังคงประเพณีเก่าแก่ดั้งเดิมไว้คือการทอผ้าแบบดั้งเดิมโดยใช้เอวเป็นกี่ในการทอ
ถ้ำหลวงผาเวียง
เป็นถ้ำที่มีความสวยงามภายในถ้ำแบ่งออกเป็น 8 ห้อง เช่น
ลานรมณีย์เป็นห้องกว้างมีแสงสว่างจากปากถ้ำส่องถึง อัคนีโขดเขิน
เป็นห้องที่มีร่องรอยการพังทะลายของหินงอกหินย้อย และ เนินไศลงามตา
เป็นเนินดินสลับกับก้อนหินตั้ง
วัดบ้านปาง
เป็นวัดซึ่งครูบาศรีวิชัยบวชเรียนเป็นวัดแรกภายในบริเวณวัดนอกจากจะร่มรื่นด้วยต้นไม้น้อยใหญ่
มีโบสถ์วิหารสวยงาม และยังมีพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารครูบาเจ้าศรีวิชัย
ซึ่งเก็บของใช้ส่วนตัวของท่านไว้อย่างครบถ้วน
วัดพระธาตุห้าดวง
สันนิษฐานว่าเป็นบริเวณเวียงเก่าลี้
เพราะมีซากกำแพงและคูเมืองตั้งเป็นแถว วัดนี้เป็นที่ตั้งของหมู่เจดีย์ 5 องค์
อุทยานแห่งชาติแม่ปิง
พื้นที่บางส่วนเป็นลำน้ำปิงซึ่งยาวประมาณ 140 กิโลเมตร
และสองฝั่งแม่น้ำเป็นเกาะแก่ง หน้าผา หินงอก หินย้อย
จังหวัด » กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์