ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
จังหวัดสุพรรณบุรี
ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก
ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี จังหวัดสุพรรณบุรี
งานอนุสรณ์ดอนเจดีย์
ณ บริเวณพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ มีการแสดง
ยุทธหัตถีชนช้างเทิดพระเกียรติการออกร้านของอำเภอและหน่วยราชการ ต่าง ๆ
รวมทั้งการแสดงมหรสพ งานนี้จะจัดในช่วงปลายเดือนมกราคม
ประเพณีตักบาตรเทโว
หลังจากออกพรรษาแล้วในเดือนตุลาคม จะมีการนำอาหาร ขนม โดย
เฉพาะอย่างยิ่งขนมต้มลูกโยนใส่บาตรถวายแด่พระสงฆ์
งานเทศกาลสมโภชและนมัสการหลวงพ่อวัดป่าเลไลยก์
ตั้งอยู่ที่ริมถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่
ที่วัดแห่งนี้ประชาชนนิยมมานมัสการ หลวงพ่อโต
ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารสูงเด่นเห็นแต่ไกล เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์
ศิลปะสมัยอู่ทองสุพรรณภูมิมีลักษณะประทับนั่งห้อยพระบาท
พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระชานุ พระหัตถ์ขวาวางหงาย
บนพระชานุอีกข้างหนึ่งในท่าทรงรับของถวาย องค์พระสูง 23.46 เมตร รอบองค์ 11.20 เมตร
มีนักปราชญ์หลายท่านว่า หลวงพ่อโตเดิมคงเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา
สร้างไว้กลางแจ้งเหมือนพระพนัญเชิงในสมัยแรกๆ เพราะมักจะพบว่า
พระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่สร้างในสมัยก่อนอยุธยาและอยุธยาตอนต้น
ส่วนมากชอบสร้างไว้กลางแจ้งเพื่อให้สามารถมองเห็นได้แต่ไกล
ภายในองค์พระพุทธรูปนี้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากพระมหาเถรไลยลายจำนวน 36
องค์ หลวงพ่อโตเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดใกล้เคียง
ทุกปีจะมีงานเทศกาลสมโภชและนมัสการหลวงพ่อวัดป่าเลไลยก์ 2 ครั้ง คือ ในวันขึ้น 7-9
ค่ำ เดือน 5 และเดือน 12
งานนมัสการพระพุทธไสยาสน์
(วัดเขาพระศรีสรรเพชญาราม)
ตั้งอยู่ที่ถนนมาลัยแมน ในตัวอำเภออู่ทอง เป็นวัดเก่าแก่
สันนิษฐานว่าตั้งแต่สมัยทวารวดี เพราะมีโบราณวัตถุหลายชิ้น เช่น พระพุทธไสยาสน์
พระพุทธรูปปางต่าง ๆ ซึ่งสลักจากเนื้อหิน เทวรูปจักรนารายณ์เนื้อหิน
บนยอดเขาพบซากเจดีย์อยุธยา 1 องค์
และยังมีรอยพระพุทธบาทจำลองแกะสลักด้วยหินเขียวธรรมชาติ
ประดิษฐานไว้ในมณฑปบนยอดเขาอีกด้วย ทุกปีมีงานนมัสการพระพุทธไสยาสน์ 2 ครั้ง คือ
วันขึ้น 15 ค่ำ และแรม 1 ค่ำ เดือน 12 กับวันขึ้น 14-15 ค่ำ และแรม 1 ค่ำ เดือน 5
ประเพณีกำฟ้า
เป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ของไทยพวน แบ่งเป็น 2 ช่วงคือวันขึ้น 3
และ 7 ค่ำ เดือนกุมภาพันธ์ วันกำฟ้าจะหยุดทำงานและเตรียมอาหารขนมหวาน คือ
ข้าวหลาม นำไปถวายพระ เมื่อถึงกลางคืนจะมีงานเลี้ยงฉลอง ประเพณีนี้
ยังคงมีอยู่ในหมู่บ้านไทยพวน
ประเพณีแต่งงานของไทยโซ่ง
พิธีแต่งงานดั้งเดิมของไทยโซ่ง ตำบลสวนแตง อำเภอเมือง
ตำบลบ้านดอน ดอนมะเกลือ หนองแดง อำเภออู่ทอง หลังจากที่ได้รับอนุญาตจากฝ่ายเจ้า
สาวแล้ว เจ้าบ่าวจะจัดงานในวันขึ้น 1 ค่ำจนถึง 13 ต่ำของเดือนมีนาคม พฤษภาคม
กรกฎาคม และ พฤศจิกายน
ประเพณีบุญบั้งไฟ
จัดขึ้นในหมู่ไทยพวน ไทยเวียง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ
เดือนพฤษภาคม เพื่อเป็นการบูชาเทวดาให้ฝนตกตามฤดูกาล
มีการจัดเตรียมบั้งไฟแห่แหนไปวัดและยิงบั้งไฟที่วัด
ปัจจุบันยังคงหาดูได้ในตำบลต่างๆ ในอำเภออู่ทอง และอำเภอบางปลาม้า
งานเทศกาลทิ้งกระจาด
กำหนดจัดงานหลังสารทจีนไป 3 วัน เริ่มวันที่ 18 เดือน 7
ของจีน ตรง กับเดือน 9 ของไทย ราวเดือนสิงหาคม-กันยายน สถานที่จัดงานอยู่ในเขต
เทศบาล ตั้งแต่สมาคมตงฮั้วฮ่วยก้วง จนถึงด้านหลังเทศบาลเมืองฯ
จังหวัด » กรุงเทพฯ กาญจนบุรี ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ประจวบฯ ปทุมธานี เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อยุธยา อ่างทอง อุทัยธานี