ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
จังหวัดลพบุรี
ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก
ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี จังหวัดลพบุรี
งานจัดเลี้ยงโต๊ะจีนลิง
จัดขึ้นที่บริเวณพระปรางค์สามยอดและศาลพระกาฬ ช่วงประมาณ
เดือนพฤศจิกายน จะมีลิงซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณนั้นมาร่วมกินอาหาร
พร้อมทั้งขนมและผลไม้ที่จัดไว้
งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
จัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์
เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ
สมเด็จพระนารายณ์ที่มีต่อลพบุรีและประเทศชาติ
เนื่องจากเมืองลพบุรีเป็นราชธานีแห่งที่สองในสมัยนั้น
ที่พระองค์ทรงโปรดปรานประทับอยู่ที่นี่นานกว่าที่กรุงศรีอยุธยา
บริเวณงานส่วนใหญ่อยู่ที่บริเวณพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์
เริ่มด้วยพิธีบวง สรวงดวงพระวิญญาณของสมเด็จพระ นารายณ์ฯ ขบวนแห่ต่าง ๆ
เช่น ขบวน แห่พระราชสาส์น ขบวน เจ้านายชั้นสูงฝ่ายใน ขบวนทหาร ฯลฯ
การแต่งกาย สมัยพระนารายณ์ การแสดงการละเล่น
การประดับประทีปโคมไฟในพระราชวัง เพื่อทำให้ บรรยากาศกลับคืนสู่อดีตเมื่อ
300 ปีที่ผ่านมา
ประเพณีกำฟ้า
เป็นงานบุญพื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวไทยพวน
มีอยู่หลายหมู่บ้านในเขตอำเภอ เมือง และอำเภอบ้านหมี่
จัดขึ้นเพื่อขอพรจากเทพยดาผู้รักษาฟากฟ้าและบันดาล ให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล
มักจะถือเอาวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันสุกดิบ และรุ่ง ขึ้น 3 ค่ำ เดือน
3 จะเป็นวันกำฟ้าโดยชาวบ้านจะร่วมกันใส่บาตรด้วยข้าวหลาม และข้าวจี่
ประเพณีใส่กระจาด
หรือประเพณีเสื่อกระจาด ตามภาษาพวนเรียกว่า "เส่อกระจาด"
เป็นการทำบุญยิ่งใหญ่ประจำปี
ประเพณีที่ชาวไทยพวนถือปฏิบัติกันในเขต อ.บ้านหมี่
จัดให้มีขึ้นในงานเทศกาลเทศน์ มหาชาติ
ส่วนมากจะกำหนดในฤดูกาลออกพรรษาคือ เดือน 11 ข้างแรม ก่อนถึง
วันใส่กระจาดหนึ่งวัน ชาวบ้านจะช่วยกันทำขนมห่อข้าวต้ม ตำข้าวปุ้น
ในคืนนั้น หนุ่ม ๆ จะไปเที่ยวตามบ้านสาวที่ตนชอบ
โดยช่วยทำขนมและมีโอกาสได้พูดคุย กัน รุ่งขึ้นจะเป็นวันใส่กระจาด
ชาวบ้านจะนำของ เช่น กล้วย อ้อย ส้ม ธูป เทียน หรืออื่นๆ
มาใส่กระจาดตามบ้านของคนที่ตนรู้จัก เจ้าของบ้านก็จะนำอาหารที่
เตรียมไว้มาเลี้ยงรับรองแขก เมื่อแขกจะกลับ
เจ้าของบ้านจะนำข้าวต้มมัดฝากไป ให้เรียกว่าคืนกระจาด ในวันรุ่งขึ้น
เป็นวันเทศน์มหาชาติ จะนำของที่แยกมาใส่ กระจาดทำเป็นกัณฑ์
ไปถวายพระที่วัด โดยถือว่าการทำบุญมหาชาติ
ประเพณีชักพระศรีอาริย์
วัดไรย์
ประเพณีชักพระศรีอาริย์หรือแห่พระศรีอาริย์ถือปฏิบัติกันมานาน
ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 หรือเดือนพฤษภาคมซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา
ทางวัดจะจัดให้มีการ อัญเชิญพระศรีอาริย์มาประดิษฐานบนแท่นตะเฆ่
แล้วให้ประชาชนรวมกันชัก พระไปทางทิศเหนือ เริ่มจากวัดไรย์ไปสุดทางที่วัดท้องคุ้ง
แล้วชักกลับมายังวัด ไรย์ ระหว่างทางจะมีผู้เข้าร่วมขบวนเป็นจำนวนมาก
จะหยุดขบวนในแต่ละจุด เพื่อให้ผู้ที่ศรัทธาได้สรงน้ำและนมัสการ
ประเพณีกวนข้าวทิพย์
เป็นประเพณีที่สืบเนื่องมาแต่พุทธกาล
ในจังหวัดลพบุรีได้มีประเพณีกวนข้าว ทิพย์หลายแห่ง
โดยเฉพาะที่วัดนิคมสามัคคีชัย ต.นิคม อ.เมือง
ได้ทำพิธีกวนข้าวทิพย์มานานกว่า 20 ปีแล้ว โดยจะกระทำในวันขึ้น 14 ค่ำ
เดือน 6 และจะนำไปถวายพระในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6
ส่วนที่เหลือก็จะแจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่ไปร่วมทำบุญในวันนั้น
ถือเป็นการให้ทาน
งานทุ่งทานตะวันบาน
จัดขึ้นประมาณเดือนธันวาคมของทุกปี
เนื่องจากเป็นเนื่องจากเป็นช่วงที่ดอกทานตะวันบาน
ปัจจุบันจังหวัดลพบุรีมีพื้นที่ปลูกทานตะวันนับแสนไร่
ก่อนที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิต ดอกทานตะวันจะบานเหลืองอร่าม สวยงาม
จังหวัด » กรุงเทพฯ กาญจนบุรี ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ประจวบฯ ปทุมธานี เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อยุธยา อ่างทอง อุทัยธานี