ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก
ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างบริเวณที่แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรีและแม่น้ำป่าสัก มาบรรจบกันเป็นทำเลเหมาะสมสามารถคุมเส้นทาง การค้าขายทั้งภายในและภายนอกดังนั้นในอดีตกรุงศรีอยุธยาจึงเป็นศูนย์กลาง ทางเศรษฐกิจการปกครอง และวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งในภูมิภาคนี้ สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ.1893 มี พระมหากษัตริย์ปกครองสืบมา 33 พระองค์ รวม 33 รัชกาล โดยสมเด็จ พระเจ้าเอกทัศน์เป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้าย ก่อนเสียกรุงแก่พม่าเมื่อ พ.ศ.2310 รวมเวลาที่เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย 417 ปี
กำแพงเมืองพระนครศรีอยุธยา แรกสร้างด้วยดินต่อมาเปลี่ยนเป็นกำแพงอิฐในรัชกาลสมเด็จ พระมหาธรรมราชา โดยกำแพงเมืองหนา 5 เมตร สูง 6 เมตร ยาวราว 12.5 กิโลเมตร มีป้อมปืนรอบเมือง 16 ป้อม ประตู 99 ประตู ในจำนวนนี้มีประตูน้ำ 20 ประตู ประตูเมือง 18 ประตู ประตูช่องกุด 61 ประตู มีคลองชักน้ำเข้ามาใช้ ภายในเมืองหลายสาย ซึ่งเป็นคลองสายหลักที่ขุดเป็นแนว เหนือ-ใต้ 5 สาย แนวตะวันออกถึงตะวันตก มากกว่า 5 สาย
มีถนนอิฐ และถนนดิน เป็นเส้นทางสัญจรทางบก ซึ่งส่วนมากจะสร้างขนานไปกับคลอง มีสะพานทั้งสิ้นกว่า 30 สะพาน สร้างด้วยไม้และอิฐ สะพานสร้างด้วยศิลาแลง และสะพานหกอย่างละ 1 สะพาน พื้นที่นอกเมือง เป็นที่ราบลุ่มสำหรับการเกษตรกรรมมีคลองธรรมชาติและ คลองขุดเป็นเครือข่ายโยงใยจำนวนมาก สองฝั่งแม่น้ำลำคลอง เป็นที่อยู่อาศัยของชาวเมือง สลับกับวัดวาอารามทั่วไป ประชาชนเหล่านี้ทำ อาชีพเกษตร กรรมและอุตสาหกรรมในครัวเรือน ที่เน้นการผลิดเพื่อตอบสนองชุมชนเป็นสำคัญ ตลาดใหญ่ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าขายของพื้นเมือง คือตลาดน้ำ 4 แห่ง นอกเมือง 30 แห่ง ตลาดเหล่านี้ขายของสด เช้า เย็น และสิ่งของที่ผลิตเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน ชาวอยุธยาส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ ดังปรากฎ วัดในพระพุทธศาสนาทั้งวัดหลวงและวัดราษฎร์กว่า 500 แห่ง นอกจากนี้ยังมีศาสนสถานในศาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู และศาสนาคริสต์ ซึ่งเป็นศาสนาของชาวต่างชาติ ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอีกจำนวนหนึ่ง ชาวต่างชาติเหล่านี้ ได้รับพระบรมราชานุญาตให้อยู่อาศัยนอกเมือง เช่น โปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศส แขกจาม แขกมลายู และญี่ปุ่น เป็นต้น
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นแหล่ง ชุมชนที่มีคนอยู่อาศัยมาหลายยุคหลายสมัย และเคยเป็นที่ตั้งเมืองหลวงของราชอาณาจักรกรุง- ศรีอยุธยานานถึง 417 ปี (ระหว่าง พ.ศ. 1893 - 2310) ก่อนหน้านั้นดินแดนนี้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรทวารวดี และอาณาจักรโบราณที่นักวิชาการส่วนมากเรียกว่าอโยธยาตามลำดับ ถึงแม้ว่าเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกในปี พ.ศ. 2310 ดินแดนนี้ก็ยังมีประชาชนอาศัยอยู่เรื่อยมา จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ดังน้น ขอกล่าวประวัติความเป็นมาเป็น 4 ระยะคือ ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์
บริเวณนี้อยู่ในอาณาจักรทวารวดีระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 - 16 ต่อมาในพุทธ-ศตวรรษที่ 16 - 18 ก็ตกอยู่ใต้อิทธิพลของขอม โดยมีเมืองละโว้ (ลพบุรี) เป็นเมืองหน้าด่าน ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก็เป็นอิสระจากอิทธิพลของขอม ในช่วงนี้ได้เกิดอาณา-จักรใหม่ๆ อีกหลายรัฐ เช่น สุโขทัย ลานนา และล้านช้าง และก็เกิดรัฐที่พัฒนาจากอาณาจักรเดิม เช่น อโยธยา สุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรี) และนครศรีธรรมราช เป็นต้น
ดินแดนบริเวณภาคกลางของประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 - 18 ซึ่งตกอยู่ใต้อิทธิพลของขอมว่า แค้วนละโว้ แล้ว ก็อาจกล่าวตามข้อเสนอของนักวิชาการกลุ่มหนึ่งว่า แคว้นละโว้ (อโยธยา) พัฒนาขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเมืองของแคว้นละโว้ (ทวารวดี) เดิมดินแดนบริเวณนี้ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ซึ่งพงศาวดารเหนือกล่าวไว้ว่าในปี พ.ศ. 1587 พระเจ้าสายน้ำผึ้งได้พระราชทานพระเพลิงศพพระนางสร้อยดอกหมาก พระมเหสีซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงจีน ที่บางกะจะ และทรงสถาปนา บริเวณนั้นเป็นพระอาราม ให้ชื่อว่า วัดพระเจ้านางเชิง
ในพุทธศตวรรษที่ 17 - 18 เมืองอโยธยาคงเป็นเมืองขึ้นของแคว้นละโว้ จนกระทั่งพุทธศตวรรษที่ 18 จึงมีการย้ายเมืองสำคัญมาอยู่แถวปากน้ำแม่เบี้ย ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และก็คงมีบทบาทแทนที่เมืองละโว้ (ลพบุรี) อย่างไรก็ตามเมืองละโว้ (ลพบุรี) ก็ยังคงครองความเป็นศูนย์กลางทางอารยธรรมอยู่จนกระทั่งต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ดังจะเห็นได้จากการที่มีเจ้านายไทย 3 พระองค์ คือ พ่อขุนรามคำแหง พ่อขุนมังราย และพ่อขุนงำเมือง ขณะยังทรงพระเยาว์อยู่ได้เสด็จมาศึกษาเล่าเรียน ที่เขาสมอคอน ในเมืองละโว้ (ลพบุรี)
|| อ่านต่อ >>>
จังหวัด » กรุงเทพฯ กาญจนบุรี ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ประจวบฯ ปทุมธานี เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อยุธยา อ่างทอง อุทัยธานี