ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
จังหวัดอ่างทอง
ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก
ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา จังหวัดอ่างทอง
ดินแดนของจังหวัดอ่างทอง เคยเป็นเมืองโบราณในสมัยทวาราวดี ได้พบร่องรอยคูเมือง ที่มีลักษณะเป็นคูน้ำใหญ่ล้อมรอบเมือง ตามรูปแบบคูน้ำคันดินรอบชวากทะเล คือบริเวณที่ราบลุ่ม ภาคกลางบริเวณ สิงห์บุรี ชัยนาท และอ่างทอง คูเมืองดังกล่าวอยู่ที่บ้านคูเมือง ตำบลหัวไผ่ อำเภอแสวงหา
บ้านคูเมืองเป็นเมืองที่มีคูน้ำล้อมรอบ มีคลองขุดเชื่อมกับคูเมืองและแม่น้ำธรรมชาติ เมืองโบราณที่บ้านคูเมืองนี้ มีร่องรอยการเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่แรกเริ่มประวัติศาสตร์ ในประเทศไทย มาจนถึงสมัยทวาราวดี ได้ค้นพบวัดร้าง และพระพุทธรูปก่อนสมัยลพบุรี พบเศษกระเบื้องถ้วยชามเป็นดินเผา ลายเชือกทาบ และเคลือบสี รวมทั้งได้พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณอีกจำนวนหนึ่ง ได้พบพระพุทธรูปหิน มีทั้งหินทรายสีชมพู และสีเทาอมเขียว เป็นจำนวนมาก ศิลปะอโยธยา (พุทธศตวรรษที่ 14-18) แสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ที่ได้แผ่มาสู่ดินแดนส่วนนี้มาแล้ว อย่างกว้างขวางเป็นปึกแผ่นมานานแล้ว
อ่างทองเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งของไทย เคยเป็นแหล่งชุมชนยุคโบราณทางประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง มีแม่น้ำไหลผ่าน 2 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย เดิมตั้งเมืองอยู่ที่วิเศษชัยชาญ ริมแม่น้ำน้อย ได้ย้ายมาตั้งเมืองใหม่บนฝั่งซ้ายแม่น้ำเจ้าพระยาที่บ้านบางแก้ว ประมาณปลายสมัยกรุงธนบุรี และได้ชื่อว่าเมืองอ่างทอง อาจเป็นเพราะที่ตั้งเมืองอยู่ในพื้นที่ลุ่มคล้ายอ่าง ไม่มีภูเขา ป่าไม้ และแร่ธาตุ แต่เป็นอู่ข้าว อู่น้ำและอู่ปลา มาแต่สมัยโบราณ หรืออีกอย่างหนึ่งได้ชื่อนี้ตามชื่อบ้านอ่างทอง เมื่อครั้งย้ายเมืองมาตั้งใหม่ ณ ที่แห่งนี้
อ่างทองเป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำไหลผ่านถึง 2 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย เป็นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ผู้คนจึงนิยมเข้าอยู่อาศัยทำมาหากิน ในสมัยโบราณก่อนกรุงศรี-อยุธยานับแต่สมัยทวารวดีเป็นต้นมา เข้าใจว่ามีคนอาศัยอยู่ในท้องที่ของอ่างทองแล้ว และสร้างเป็นเมืองขึ้นด้วยแต่คงจะไม่ใช่เมืองใหญ่โตหรือเมืองสำคัญนักก็ได้ หลักฐานที่เหลือให้เห็นในปัจจุบันที่ส่อแสดงว่าท้องที่ของอ่างทอง เคยเป็นเมืองโบราณในสมัยทวารวาดีก็คือคูเมือง ที่มีลำคูล้อมรอบที่บ้านคูเมือง ตำบลห้วยไผ่ อำเภอแสวงหา ในปัจจุบันอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางเหนือประมาณ 4 กิโลเมตร คูเมืองที่บ้านคูเมืองซึ่ง นายบาส เชอลีเย นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้สำรวจพบและสันนิษฐานว่าเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี ล่วงมาในสมัยกรุงสุโขทัยก็เข้าใจว่ามีคนอาศัยอยู่มากเช่นกัน หลักฐานที่น่าจะยืนยันได้ก็คือวัดร้างที่มีอยู่มากมายในท้องที่ของอ่างทอง มีหลายวัดแสดงว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย และจากการสังเกตลักษณะของพระพุทธรูปสำคัญ ๆ หลายองค์พบว่ามีลักษณะการสร้างแบบสุโขทัยด้วย เช่น พระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก อำเภอป่าโมก เป็นต้น นอกจากการสร้างวัดและศิลปะการสร้างพระพุทธรูปแล้ว ลำน้ำโบราณซึ่งปัจจุบันได้ตื้นเขินกลายเป็นลำคลอง ลำห้วย หลายแห่ง โดยมีวัดร้างตั้งอยู่ริมน้ำเก่านี้มากมาย ก็สันนิษฐานว่าจะต้องมีมาเก่าแก่ถึงสมัยสุโขทัยอย่างแน่นอน ส่วนเรื่องราวเหตุการณ์สำคัญนั้นไม่มีหลักฐานที่ปรากฏชัด
|| อ่านต่อ >>>
จังหวัด » กรุงเทพฯ กาญจนบุรี ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ประจวบฯ ปทุมธานี เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อยุธยา อ่างทอง อุทัยธานี