ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม>>
ขนบธรรมเนียมและประเพณีไทย
พิธีเข้าพรรษา
การเข้าพรรษา คือเทศกาลระหว่างเดือน 8 ถึงเดือน 11 ของปี ทางจันทรคติที่ภิกษุในพุทธศาสนาจะต้องอยู่จำพรรษา ณ ที่หนึ่งที่ใดเป็นที่แน่นอน ไม่ท่องเที่ยวไปโดยไม่มีกิจจำเป็น และแม้จะมีกิจจำเป็นก็จะออกไปเกิน 7 วันไม่ได้ วันเข้าพรรษานี้เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 แต่ถ้าปีใดเป็นปีอธิกมาส คือเดือน 8 มีสองหน วันเข้าพรรษาจะเริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำของเดือน 8 หลัง เมื่อถึงวันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชน ผู้ศรัทธาในศาสนาพึงปฏิบัติดังนี้คือ จัดเครื่องสักการะ เช่นดอกไม้ธูปเทียน น้ำอ้อย น้ำตาล แปรง ยาสีฟัน สบู่ ฯลฯ ที่เป็นของใช้สำหรับพระสงฆ์ไปนมัสการถวายภิกษุสงฆ์ ในตอนเช้าวันแห่งเข้าพรรษา มีการทำบุญตักบาตร ตอนบ่ายถ้ามีเวลาว่างก็จะไปฟังธรรมเทศนาที่วัด เพราะส่วนมากในเทศกาลเข้าพรรษา ทุกวัดมักจัดให้มีการแสดงธรรมเป็นประจำวัน นอกจากนี้ อาจจะมีผู้ศรัทธาหลาย ๆ คนรวมกัน จัดทำเทียนพรรษาไปถวายวัดหนึ่งวัดใด เพื่อพระท่านจะได้จัดสักการะบูชาในการประกอบกิจสงฆ์ในพระอุโบสถอีกด้วย ผู้ที่ศรัทธาแก่กล้าบางคนมีการถือศีลอุโบสถตลอด 3 เดือนบ้าง งดเว้นการดื่มน้ำเมา หรือทำบาปอื่น ๆ บ้าง ซึ่งเป็นการฝึกฝนตัวเองให้เป็นผู้มีความอดกลั้นมีจิตใจผ่องใสอันเป็นสิริมงคลแก่ตนเองทั้งสิ้น
พิธีมงคลทำขวัญวัน
พิธีมงคล ทำขวัญเดือน
พิธีมงคลโกนผมไฟ
พิธีเอาเด็กลงเปล
พิธีมงคลโกนจุก
พิธีมงคลอุปสมบท
พิธีเข้าพรรษา
พิธีออกพรรษา
พิธีทอดกฐิน
พิธีทอดผ้าป่า
พิธีมาฆะบูชา
พิธีวิสาขะบูชา
พิธีมงคลแต่งงาน
พิธีมงคลทำบุญขึ้นบ้านใหม่
พิธีมงคลทำบุญอายุ
พิธีทำบุญลอยกระทง
พิธีทำบุญวันตรุษ
พิธีทำบุญวันสงกรานต์
พิธีทำบุญวันสารท
พิธีทำบุญวันขึ้นปีใหม่
พิธีทำศพ
ประเพณีการต้อนรับแขก