ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม>>
ขนบธรรมเนียมและประเพณีไทย
พิธีมงคลแต่งงาน
การจัดพิธีแต่งงานมเป็นสองอย่าง คือจัดเป็นพิธีใหญ่
มีการนิมนตพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์
และผู้เป็นประธานในพิธีตลอดจนผู้มีเกียรติที่ได้รับเชิญมาร่วมกันหลั่งน้ำพระพุทธมนต์
อำนวยพร และในเวลาเดียวกัน พระสงฆ์ เจริญชัยมงคลคาถา
ส่วนการจัดพิธีแต่งงานอย่างย่อนั้น คงมีเหมือนกับการจัดพิธีอย่างใหญ่
เว้นแต่ไม่มีการนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์เท่านั้น
สิ่งสำคัญที่ต้องตระเตรียมและต้องปฏิบัติในพิธีการแต่งงาน มีดังนี้
1. จัดสถานที่ใช้ประกอบพิธีให้เรียบร้อย
ตกแต่งตามสมควรและพอเหมาะสมกับสถานที่นั้น ๆ
2. ควรจัดให้มีโต๊ะหมู่บูชาพระ และมีพระพุทธรูปเครื่องหลั่งน้ำพระพุทธมนต์
และเครื่องใช้ในพิธีอย่างอื่นตามที่จำเป็น
3. ถ้าต้องการให้มีการจดทะเบียนสมรสในวันนั้น และที่ประกอบการพิธีเลย
ก็ต้องติดต่อขอเชิญเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้นำทะเบียนสมรสมาจดทะเบียนสมรสในวันพิธีนั้นด้วย
4. ควรกำหนดเวลาต่าง ๆ ให้สอดคล้องกัน และการดำเนินงานก็ต้องรักษากำหนดเวลาไว้
เพราะถ้าพลาดเวลามากเกินไปแล้วจะเกิดการ ทำให้แขกต้องพลาดเวลาตามไปด้วย
การแต่งกายของคู่บ่าวสาว มีหลักดังนี้
- เจ้าบ่าว ต้องแต่งกายด้วยชุดสากล ใช้ผ้าที่มีสีเรียบ ๆ ไม่ฉูดฉาด
หากเป็นข้าราชการ ก็มีสิทธิ์ที่จะแต่งเครื่องแบบปรกติเป็นชุดแต่งงานได้
- เจ้าสาว แต่งกายด้วยชุดวิวาห์ที่เหมาะสม และเลือกสีให้ถูกกับสีเนื้อ
ส่วนชุดวิวาห์จะเลือกอย่างไรนั้น ต้องคำนึงถึงสถานที่ที่ใช้ประกอบพิธีการแต่งงานด้วย เพราะถ้าไปเกิดความไม่สะดวกเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายในขณะประกอบพิธีแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่งามตา
- เพื่อนเจ้าบ่าว และเพื่อนเจ้าสาว
เครื่องแต่งกายของเพื่อนเจ้าบ่าวและเพื่อนเจ้าสาวนั้นต้องมีการตกลงนัดแนะกันให้เป็นที่เรียบร้อยว่าใครจะใช้ชุดไหน
สีอย่างไร ซึ่งต้องให้เหมาะสมกลมกลืนกัน ถ้ามิฉะนั้นแล้ว
สีของเครื่องแต่งกายจะขัดกัน
ถ้าเพื่อนเจ้าบ่าวและเจ้าสาวใช้เครื่องแต่งกายที่เหมาะสมแล้ว
จะเป็นการเชิดชูเจ้าบ่าวและเจ้าสาวให้งามตายิ่งขึ้น
- เครื่องแต่งกายของแขกผู้ได้รับเชิญ ส่วนมากนิยมแต่งกายชุดสากล หรือไม่ก็แต่งกายตามปรกติตามความเหมาะสม และตามความนิยมของพื้นบ้านที่ประกอบการแต่งงานนั้น ถ้าเป็นการแต่งงานที่จัดเป็นพิธีใหญ่โน เจ้าภาพมักจะระบุการแต่งกายไว้ในบัตรเชิญด้วยว่าแต่งอย่างไร การปฏิบัติในพิธีแต่งงาน กล่าวโดยย่อคือ
- ในวันพิธีสมรา เจ้าสาวต้องอยู่ทางซ้ายของเจ้าบ่าวตลอดเวลา
- เพื่อนเจ้าบ่าวแลเพื่อนเจ้าสาว ตามปรกติ มีฝ่ายละไม่เกิน 4 คน
- เพื่อนเจ้าบ่าวและเพื่อนเจ้าสาว ในขณะประกอบพิธีนั้นต้องอยู่หลังเจ้าบ่าวและเจ้าสาวในระยะพอสมควร
- เมื่อถึงเวลาที่กำหนดเป็นฤกษ์การแต่งงาน ต้องแจ้งขอเชิญให้แขกที่มาร่วมงานได้เข้าไปในห้องประกอบพิธี
- เจ้าบ่าวไปยังห้องประกอบพิธี เมื่อแขกที่มาร่วมงานเข้าไปอยู่ในห้องนั้นพร้อมแล้ว และเจ้าบ่าวเข้าไปสู่พิธีมณฑลแล้ว ต้องนมัสการพระพุทธรูปที่เป็นประธานในพิธี
- ผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวนำเจ้าสาวเข้าสู่พิธีมณฑล เจ้าสาวนมัสการพระพุทธรูปที่เป็นประธานในพิธี
- เมื่อถึงเวลากนหนด ผู้เป็นประธานในพิธี หากมีอะไรก็ต้องกล่าว ก็ให้กล่าวเสียในโอกาสนี้
- เจ้าบ่าวไปคุกเข่าที่หน้าแท่นบูชาพระพุทธรูป ที่จัดเตรียมไว้
- ผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวนำเจ้าสาวไปคุกเข่าหน้าพระพุทธรูปเคียงคู่กับเจ้าบ่าว
- ผู้เป็นประธานในพิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์แล้วเจิมหน้าคู่บ่าวสาวพร้อมกับมีการอวยพรด้วย จากนั้นก็เป็นแขกผู้มาร่วมพิธี ไปหลั่งน้ำพระพุทธมนต์และประสาทพรตามลำดับ และถ้ามีพระสงฆ์มาร่วมพิธีพระสงฆ์ก็เจริญชัยมงคลคาถาในตอนนี้
- ถ้ามีการจดทะเบียนสมรส ก็ให้คู่สมรสและพยานลงชื่อในทะเบียนของเจ้าหน้าที่ให้เรียบร้อย แล้วกลับที่เดิม
- ให้แขกผู้ได้รับเชิญลงชื่อในสมุดที่ระลึกการแต่งงานที่ได้เตรียมไว้
- คู่สมรสถวายอาหารหรือจตุปัจจัยแด่พระภิกษุสงฆ์
- พระสงฆ์สวดอนุโมคาถา คู่สมรสกรวดน้ำอุทิศกุศล
- คู่สมรส นมัสการ พระพุทธรูปที่เป็นประธานของพิธี แล้วเดินกลับเข้าอยู่ในกลุ่มแขก เพื่อสนทนาทักทายปราศรัยและขอรับพร
- ถ้ามีการรับประทานอาหาร ก็เชิญแขกเข้าห้องรับประทานอาหารได้ และก่อนจะมีการรับประทานอาหาร ควรมีการกล่าวปราศรัยเล็ก ๆ น้อยๆ
- ผู้เป็นแขกที่รับเชิญพึงมีของขวัญให้เจ้าบ่าวและเจ้าสาวเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสนี้ด้วย
พิธีมงคลทำขวัญวัน
พิธีมงคล ทำขวัญเดือน
พิธีมงคลโกนผมไฟ
พิธีเอาเด็กลงเปล
พิธีมงคลโกนจุก
พิธีมงคลอุปสมบท
พิธีเข้าพรรษา
พิธีออกพรรษา
พิธีทอดกฐิน
พิธีทอดผ้าป่า
พิธีมาฆะบูชา
พิธีวิสาขะบูชา
พิธีมงคลแต่งงาน
พิธีมงคลทำบุญขึ้นบ้านใหม่
พิธีมงคลทำบุญอายุ
พิธีทำบุญลอยกระทง
พิธีทำบุญวันตรุษ
พิธีทำบุญวันสงกรานต์
พิธีทำบุญวันสารท
พิธีทำบุญวันขึ้นปีใหม่
พิธีทำศพ
ประเพณีการต้อนรับแขก