ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

ไทยใหญ่ (shan state)

ชานมาจากไหน

       ในร่องรอยเกี่ยวกับชื่อ สยาม เราได้ทราบว่าพวกไตรง บางที่ก็ถูกเรียกว่า สยาม (ออก เสียง ชยาม) หรือ ชาม มีคำอธิบายต่อปีกว่าคำว่า ชาม นี้คือคำเดียวกับ ชาน ที่พม่าใช้เรียกคนไตในรัฐชาน แต่ที่เพี้ยนเป็น ชาน ก็เพราะพม่าออกเสียงตัว ม สะกดเป็นแม่กน ข้อนี้เป็นความจริง คำว่า ชาน ในภาษาพม่านั้นอักษรพม่า เขียน ชาน (ใช้ ม สะกด)

        ถ้าจะถอดรูปอักษรออกเป็นตัวไทยก็จะเป็น รหมะ ตัว ร นั้น พม่าออกเสียงเป็น ย หมด (ยกเว้นสำเนียงชาวยะไข่หรือ อารกัน ซึ่งออกเสียง ร รัวลิ้นได้ ) เมือเอา ย ควบ ห คือ กระแทกเสียงที่นำคอ ( aspirated ) แล้วออกเสียงเป็นกึ่ง ซ กึ่ง ช ซึ่งใช้เป็นอักษรอังกฤษโดยประมาณว่า Sh. ส่วน เครื่องหมายสระอะนั้นบอกเสียงหนัก-ยาว ฉะนั้น รหมะ จึงเท่ากับเขียน ซาม หรือชาม. แต่ออกเสียงเป็นแม่กน จึงออกเสียงเป็น ซาน หรือ ชาน (เสียง ที่ถูกนั้นกึ่ง ซ กึ่ง ช ไม่สามารถจะเขียนให้ตรง ด้วยอักษรไทยได้) ซึ่งเสียงนี้ฝรั่งเอาไปเขียนว่า Shan ไทย เราถอดคำออกมาจากภาษาอังกฤษจึงถอดเป็น ชาน แต่ถ้าให้คนไทยที่ไม่รู้จักภาษาอังกฤษฟังชาวพม่าออกเสียง คำนี้แล้วเขาคงจะฟังกระเดียดไปทาง ซ และเขียนเป็นตัว ไทยว่า ซาน มากกว่า ชาน

         พึ่งทราบว่า การที่ข้าพเจ้าถอดอักษรพม่าออกเป็น รห นั้น เป็นการถอดออกตามรากเหง้าอักษรให้ไทยๆเราดูเข้าใจเท่า นั้น ในหนังสือพม่าเองถือเอาอักษรตัว รห นี้เป็นตัวเฉพาะ ตัวหนึ่งซึ่งอ่านตัว ซะ (กึ่ง ซ กึ่ง ช)ฉะนั้น รหมะ ในความ รู้สึกของพม่าจึงเป็นการจงใจเขียน ซาม (หรือชาม)แต่เนื่อง ด้วยพม่าไม่มีเสียงแม่กน จึงออกเสียงเป็น ซาน-ชาน ไป อัน ที่จริงแล้วเสียง ซาน-ชาน นี้พม่าจะเขียนโดยใช้ น สะกดตรงตามเสียงก็ย่อมทำได้เพราะพม่ามีตัว น และใช้สะกดแม้กนเสมอ แต่ทำไมคำ ชาน นี้จึงสะกดด้วย ม

       คำตอบที่จะแก้ปัญหานี้ได้คือคำนี้เดิมทีเดียวต้องเป็นภาษา อื่นทีเขียนด้วย ม สะกด หรือออกเสียงเป็นแม้กม แล้วพม่า ยืมคำนั้นมาใช้โดยยังรักษารูปคำเดิมไว้แต่ทว่าออกเสียง ตามอักขรวิธีของพม่า เรื่องก็เป็นอย่างเดียวกับในภาษา ไทยเรามีคำว่า กษัตริย์ ที่จริงถ้าจะเขียนตรงตามเสียงว่า กะสัด ก็ได้แต่ที่เขียนพิสดารหนักหนายังงั้นก็เพื่อรักษารูปคำเดิมใน ภาษาสันสกฤตไว้เพราะขอยืมเขามา คำนี้ภาษาสันสกฤต เขาอ่านออกเสียง ฉัด-ตรี-ยะ แต่เราเขียนตามเขาอย่างเดียว เวลาอ่านเราอ่านตามอักขรวิธีของเราว่า กะสัด พม่าจะต้องยืมคำ ซาม-ชาม มาจากภาษาอื่น คงเขียนรูป คำดั้งเดิมยู่แต่อ่านตามอักขรวิธีพม่าและลิ้นพม่า เป็นซาน-ชาน คำ ชาม-ซาม ดั้งเดิมนั้นมาจากไหน ? เราพอจะคลำพบร่องรอยอยู่บางเมื่อตรวจดูคำเรียกชื่อไตใน สหภาพพม่า

 

         สหภาพพม่าปัจจุบันประกอบด้วยชนชาติใหญ่ๆ หลายชนชาต ิมีชนชาติไตรวมอยู่ด้วยเป็นรัฐใหญ่รัฐหนึ่ง คือที่พม่าเรียกว่า รัฐชาน( Shan State ) และ ไทยเราเรียกตามฝรั่งว่า รัฐชาน หรือบางทีก็ว่ารัฐฉานหรือไทใหญ่ คนไตที่นั้นเองเรียก รัฐ ของตนเองว่า เมิงไต (เมืองไท) นอกจากนั้นยังมีคนไต ในรัฐกะฉิน ซึ่งชาวไทใหญ่เรียกไตพวกนี้ว่า ไตคำตีโหลง (ไทคำทีหลวง) และพวกพม่าเรียกคันตีกยี (คันตีคือ คำตี อย่าลืมว่าพม่าไม่มีเสียงแม่กม กยีเป็นภาษาพม่า แปลว่าใหญ่. หลวง) นอกจากไตคำตีหลวง ยังมีไตอีกพวก หนึ่งอยุ่ในบริเวณเมืองฉิ่งกะลิ่งคำตี ใกล้พรมแดนอินเดีย พวกนี้เรียกตัวเองว่า ลูกไต ชาวไทใหญ่เรียกเขาว่า ไตคำ เหมือนกันแต่ไม่มีโหลง (หลวง) บรรดาชนชาติไตทั้งสาม แหล่งใหญ่ๆนี้ถูกชนชาติต่างๆในพม่าเรียกชื่อด้วยคำๆเดียว กันแทบทั้งสิ้น เป็นแต่ออกเสียงเพี้ยนไปบ้างตามลิ้นของตน เล็กน้อย

        ปัญหาต่อไปมีอยู่ว่าคำ ชาน ในภาษาพม่าและคำคล้าย คลึงกันที่แสดงในบทก้อนนั้นเป็นคำเดียวกับคำว่า สยาม ในภาษาไทยหรือไม่ คำตอบก็คือเป็นคำเดียวกัน

         สะพานเชื่อมที่แสดงความจริงข้อนี้ก็คือภาษามอญ มอญเรียกคนไตในพม่าและยุนนานว่า เซม และขณะ เดียวกันก็เรียกคนไทยในประเทศว่า เซม เหมือนก้นหมด นี่แสดงว่าในภาษามอญ คำว่าเซมคือชื่อสำหรับเรียก ชนชาติไตทั้งชนชาติโดยไม่จำแนกว่าจะอยู่ในขอบเขตของ การเมืองและเศรษฐกิจเดียวแห่งสังคมใด ในเอเชียตะวัยออกเฉียงใต้นี่ดูเหมือนจะมีมอญเพียงชาต ิเดียวเท่านั้นที่ให้ร่องรอยเป็นสะพานเชื่อมนี้อย่างชัดเจนที่สุด

         ตามที่ได้ค้นกันมาถึงบัดนี้เราได้เห็นชัดแล้วว่าคำ ชาน-เซม-เซียม-สยาม เป็นคำเดียวกันทั้งสิ้น เป็นแต่เพียงเพี้ยน กันไปตามภาษา และมีขอบเขตแห่งความหมายแตก ต่างกันออกไป กว้างบ้าง แคบบ้าง กาลเวลาผ่าน ไปชื่อ ของชนชาติไตก็เลยเกิดแยกกันเป็นสองคำเด็ดขาดคือ ชาน( Shan ) และสยาม ( Siam ) จน แทบจะไม่เห็นร่อง รอยว่าเป็นคำเดียวกันโดยเฉพาะคนไทยเรานั้น แม้จะติด กับพม่าและไทใหญ่แต่ก็ไม่รู้จักคำว่า ชาน มีความหมาย เฉพาะไทใหญ่ในรัฐชานเท่านั้นหาได้รับรู้ไม่ว่า ชาน ทั้งในภาษาพม่าและอังกฤษรวมทั้งภาษาฝรั่งอื่นๆมีความ หมายคลุมถึงชนชาติไต-ไททั้งหมดที่อยู่นอกลุ่ม เจ้าพระยาและนอกประเทศลาว หาได้รับรู้ไม่ว่าสยาม ก็เป็นคำเดียวกับชาน และเป็นคำเดียวกับเซม ในภาษา มอญซึ่งใช้เรียกชนชาติไต-ไทโดยทั่วไปไม่จำกัด ขอบเขต การเมืองและสังคม

  • รวบรวมจาก : ความเป็นมาของคำ สยาม ไทย ลาวและขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ โดย จิตร ภูมิศักดิ์

ชานมาจากไหน
เมืองไตย  (Shan State)
ลำดับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์รัฐฉาน (ค.ศ.1939-ปัจจุบัน)
วันชาติรัฐฉาน (7 กุมภาพันธ์ 2490)
วันปฏิวัติกอบกู้รัฐฉาน
สถาบันหลักอันศักดิ์สิทธิ์ 4 สถาบัน
สัญญาปางหลวง
การต่อต้านและปราบปรามยาเสพติด

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย