ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

ไทยใหญ่ (shan state)

เมืองไตย  (Shan State)

มีอาณาเขตรวมทั้งหมด 62,500 ตารางไมล์ ตั้งอยู่ระหว่างเส้นละติจูดเหนือ 19 องศา 20 ลิบดา และ 24 องศา 9 ลิบดา ลองติจูดตะวันออก 96 องศา 13 ลิบดาและ 101 องศา 9 ลิบดา

1.ด้านทิศเหนือ ติดกับรัฐคะฉิ่น
2.ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ติดกับประเทศจีน เขตเมืองยูนนาน
3.ด้านตะวันออก ติดกับประเทศลาว
4.ด้านตะวันออกเฉียงใต ติดกับประเทศไทย
5.ด้านทิศใต้ ติดกับรัฐคะยา
6.ด้านทิศตะวันตก ติดกับเมืองมัณฑะเลย์ และเมืองสะแกง (ประเทศพม่า)

       เมืองไตยตั้งอยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงและป่าทึบ มีแหล่งต้นน้ำและแหล่งน้ำอัน อุดมสมบูรณ์ มีที่ราบสูง จากระดับน้ำทะเลประมาณ 500 – 600 ฟุต ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดดอยเล็ง ตั้งอยู่ใน เมืองใหญ๋ มีความสูงประมาณ 8,777ฟุตจากระดับ น้ำทะเลรองลงมาคือ ดอยจ้อง ซึ่งตั้งในเมืองแสนหวีและดอยจ้าง ซึ่งตั้งในเมืองกึ๋ง ทั้งสองดอยนี้มีความสูง ประมาณ 8,000 ฟุตเศษ ดอยอัน ตั้งอยู่ในปางตะละ สูงประมาณ 7,678 ฟุต,ดอยมอ, ดอยหมอง ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำต้ำผาก และแม่น้ำป๋อน, ดอยมูตั้งในเมืองใหม่(เสาหิน,เสายา) ซึ่งดอย เหล่านี้มีความสูงประมาณ 7,000 – 8,000 ฟุต ส่วนดอยมาตั้งอยู่ในเมืองกะลอ มีความสูงประมาณ 5,000 ฟุตเศษ

        แม่น้ำคง(สาละวิน) เป็นแม่น้ำสายสำคัญ ไหลผ่านเมืองไตย โดยแบ่งเขตออกเป็น 2 ส่วนคือด้านทิศตะวันตก และตะวันออก ซึ่งฝั่ง แม่น้ำ ทั้งสองฟากสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ6,000 – 7,000 ฟุตแม่น้ำสาละวินนี้ไหลผ่าน รัฐคะยา กะเหรี่ยง และมอญไหล ลงอ่าวเมาะตะ มะที่เมืองมะละเม็ง

 

      มีแม่น้ำหลายสายในประเทศไหลมารวมกันสู่แม่น้ำสาละวิน ดังนี้

  1. ด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน มีแม่น้ำตี, แม่น้ำนิม, แม่น้ำป๋าง, แม่น้ำเต็ง, แม่น้ำป๋อน ไหลมารวมกันสู่สาละวิน
  2. ด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน มีแม่น้ำม้า, แม่น้ำนาง, แม่น้ำขา, แม่น้ำสิ่ม, แม่น้ำหาง,แม่น้ำจ้อด, แม่น้ำทา และ แม่น้ำกุน ไหลมารวม กัน สู่สาละวิน

        นอกจากนี้ ยังมีแม่น้ำโขงซึ่งมีต้นกำเนิดจากยอดดอยทิเบตเช่นเดียวกันแม่น้ำสาละวินโดยแม่น้ำโขง แยกออกไปทาง ด้านทิศตะวัน ออกทำ หน้าที่เป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างไทย – ลาว มีความยาวประมาณ 120 กิโลเมตร

       ภายในรัฐฉานยังมีน้ำตกที่สูงและใหญ่ที่สุด คือ น้ำตกจ๋งอาง (แม่น้ำเต็ง) ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลเจียงตอง อำเภอเมืองนาย รองลง มาคือ น้ำตกอ๋มปู้ (แม่น้ำป๋าง) อยู่ใกล้บริเวณเมืองสู้ และน้ำตกน้ำหยางตั้งอยู่ที่เมืองจ้านซาง เมืองสีป้อ มีความ สูงประมาณ 1,500 –2,000ฟุต และได้ใช้พลังงาน น้ำตกผลิตไฟฟ้าใช้ในเมืองน้ำตู้ทั้งหมด และยังได้ใช้พลังงานไฟฟ้า ในโรงงานถลุงแร่ ป๋างยุงในเขตเมืองน้ำตู้

สภาพภูมิอากาศ
เมืองไตยมีทั้งหมด 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน, ฤดูฝน, ฤดูหนาว

  • ฤดูร้อน
    เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคม – มิถุนายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 70–80F อุณหภูมิสูงสุดจะอยู่ในพื้นที่เขตบ้านจะลอง ใน เมืองหมอกใหม่ในฤดูรอ้นจะมี อุณหภูมิสูงสุดถึง 100 – 104F
  • ฤดูฝน
    เริ่มตั้งแต่เดือน กรกฎาคม – กันยายน ปริมาณน้ำฝนวัดได้ประมาณ 4 – 60 นิ้ว
  • ฤดูหนาว
    เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม – กุมภาพันธ์ อุณหภูมิลดเหลือประมาณ40 – 60 Fอุณหภูมิบน ยอดดอย สูงบางแห่ง –30 F

       แม้ว่าสภาพภูมิประเทศภายในรัฐฉานจะมีความแตกต่างกันมากถึงแม้จะมีอาณาเขตสันเขาและพื้นที่ราบติดกันก็ตาม เช่น เมืองเหม่ เมี้ยง, เมืองกะลอ, เมืองน้ำสั่น, เมืองก้ดขาย, เมืองตองกี, ดอยแหลม, ดอยหมวย (เชียงตุง) เขตเหล่านี้ จะมีสภาพ อากาศหนาว เย็น กว่าที่อื่นๆ ส่วนเมืองสีป้อ,หมอกใหม่, ลางเคอ จะมีอากาศร้อนอบอ้าวกว่าที่อื่น ๆ

ทรัพยากร

  • ทรัพยากรป่าไม้ ในประเทศนี้ยอดดอยสูงเกิน 4,000 ฟุต จะมีสภาพเป็นป่าไม้สนไม้ก๋งทุกชนิดบริเวณที่ต่ำกว่า ระดับยอดดอย จะอุดมไปด้วยป่าไม้สัก, ไม้ตึงและไม้เปา ป่าไม้ที่เป็นสินค้าออกจาก ประเทศที่สำ คัญคือไม้สัก,ไม้สน, ไม้ตึง, ไม้เปา,ไม้แงะ.ไม้ตีต๊อก,ไม้จาน,ไม้หมากผินพู่ (สนานคา)และ ไม้หอม ทุกชนิด พื้นที่ไม้ทั้งหมดมีประมาณ 42,210 ตารางไมล์ ไม้สักมีมากที่สุดที่เมืองมีด, เมืองต่งลาว, เมืองป่างเก่ตุ๊, เมืองสีป้อ,เมืองน้ำลั่น, เมืองกึ๋ง, เมืองหมอกใหม่, เมืองป่าแลว, เมืองเชียงลาบเป็นต้น และยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นรัก, สักเจ, น้ำผึ้ง, ขี้จึง,หวาก,หมอกดำ (กล้วยไม้) และ ไม้หอม เป็นต้น
  • ทรัพยากรในดิน พื้นดินส่วนมากเป็นดินร่วนปนทราย ในชั้นใต้ดินลึก ๆ เป็นหินแข็งมีทรัพยากร ใต้ดินดังนี้ แร่เงิน, แร่ตะกั่ว, แร่ทองคำ, แร่ทองแดง,แร่เหล็ก, แร่วุลแฟรม, แร่ดีบุก, แร่ทังสเตน, แร่แมงกานีส, นิเกิล,ด่านหิน, พลวง, ไมก้า, พลอยทุกชนิด, หินขาว, หินลาย, อลูมิเนียม ยังเหมืองแร่ที่มีในปัจจุ บัน เช่น เหมืองป๋างยุง (น้ำสู้) มีแร่ดีบุก (tin), ตะกั่ว (lead),แร่เงิน, แร่นิเกิล, แร่ทองแดง, พลวง (antimony)

       ประชากรที่รัฐฉานมีประมาณ 8 ล้านคนเศษ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธแบ่งออกเป็น 16 กลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่ ๆ

ชานมาจากไหน
เมืองไตย  (Shan State)
ลำดับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์รัฐฉาน (ค.ศ.1939-ปัจจุบัน)
วันชาติรัฐฉาน (7 กุมภาพันธ์ 2490)
วันปฏิวัติกอบกู้รัฐฉาน
สถาบันหลักอันศักดิ์สิทธิ์ 4 สถาบัน
สัญญาปางหลวง
การต่อต้านและปราบปรามยาเสพติด

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย