ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
นักเขียนไทย
ชี วิ ต แ ล ะ ง า น
ป.
อินทปาลิต
ผู้ สั น โ ด ษ แ ล ะ ถ่ อ ม ต น
ยาขอบ
ขุ น พ ล นั ก ป ร ะ พั น ธ์
ศรีบูรพา
สุ ภ า พ บุรุ ษ นั ก เ ขี ย น
สด กูรมะโรหิต
นั ก เ ขี ย น " ตุ๊ ก ต า ท อ ง "
หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง
เ จ้ า ช า ย นั ก ป ร ะ พั น ธ์
ยาขอบ
"ยาขอบ" นามจริงว่า โชติ แพร่พันธ์ เกิดที่ใดไม่ทราบแน่ชัด
ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2499 เป็นบุตรเจ้าอินแปง
(โอรสเจ้าหลวงเมืองแพร่) กับแม่จ้อย ต้นห้องหม่อมเฉื่อย ในสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ
ฯ กรมพระยาดำรงค์ราชานุภาพประทานให้
ต่อมา มารดาของ ยาขอบ
ได้นำยาขอบมาฝากให้อยู่ในความอุปการะของเจ้าคุณบริหารนครินทร์ ตั้งแต่เล็กๆ
และได้ศึกษาที่โรงเรียนวัดเทพศรินทร์ทราวาส
ระหว่างที่อาศัยอยู่กับเจ้าคุณบริหารนครินทร์ ยาขอบ
มีหน้าที่อ่านหนังสือให้เจ้าคุณฟัง
ทั้งนี้เพราะท่านเป็นคนรักหนังสือและต้องการให้เด็กในปกครองมีความรู้แตกฉานด้วย
เรื่องที่ ยาขอบ ได้รับมอบหมายให้อ่านได้แก่ เรื่องขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี
อิเหนา ราชาธิราช และเกร็ดพงศาวดารจีนต่างๆ เช่น สามก๊ก เลียดก๊ก เป็นต้น
การได้การหนังสือทำให้มีความรู้ความชำนาญ ในการเขียนในทางอ้อม
และเป็นพื้นฐานที่ส่งเสริมให้ ยาขอบ เป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงในเวลาต่อมา
ขณะเมื่อเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ 4 ยาขอบ
หนีโรงเรียนและออกจากบ้านในเวลาเดียวกัน เขาไปใช้ชีวิตผจญภัยอยู่พักหนึ่ง เช่น
ฝึกหัดขี่ม้าจนได้เป็นจ๊อกกี้ ต่อมาครูถนิม เลาหะวิไลย
ที่เคยสอนหนังสือมาพบเข้าจึงชักนำให้ไปทำงานเกี่ยวกับหนังสือพิมพ์เป็นครังแรก
"ยาขอบ" ได้รับความช่วยเหลือฝากให้ทำงานที่หนังสือพิมพ์สยามรีวิว
โดยเป็นพนักงานพิสูจน์อักษรอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาย้ายมาที่หนังสือพิมพ์ธงไชย
มีหน้าที่ส่งหนังสือและเก็บหนังสือที่เหลือจากร้าน
ต่อมาลาออกและเข้าทำงานแผนกโฆษณาห้างขายยาเพ็ญภาค
ระหว่างนี้ถ้ามีเวลาก็จะไปพบปะเพื่อนๆ ที่อยู่ในวงการเขียน เล่นบิลเลียดกันบ้าง
เล่นการพนันบ้าง โดยที่ไม่มีความคิดที่จะเป็นนักเขียนแต่อย่างไร
ในกลุ่มนักเขียนที่ ยาขอบ ไปคลุกคลีด้วยนั้น มีกุหลาบ สายประดิษฐ์
รวมอยู่ด้วยขณะนั้น กุหลาบ สายประดิษฐ์
กำลังออกหนังสือพิมพ์สุภาพบุรุษอยู่ จึงได้ชักชวนให้ยาขอบเขียนเรื่องมาลง
ยาขอบจึงได้เขียนเรื่องในรูปแบบจดหมาย เรื่อง "จดหมายเจ้าแก้ว"
ไปลงพิมพ์เป็นเรื่องตลกขบขัน ใช้นามปากกาที่ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ตั้งให้ว่า
"ยาขอบ" โดยเลียนมาจากคำว่า W.W. Jacob นักเขียนเรื่องตลกในหนังสือพิมพ์ Strand
ของอังกฤษ และเขาใช้นามปากกานี้มาตลอด
เรื่องของยาขอบได้ลงพิมพ์เพียงสองสามฉบับก็ต้องเลิก เพราะกุหลาบ สายประดิษฐ์
เลิกกิจการ ไปก่อตั้งหนังสือพิมพ์ ไทยใหม่ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ได้ชักชวน ยาขอบ
ให้เขียนเรื่องอีกโดยขอให้เป็นเรื่องเกร็ดพงศาวดารลงเป็นตอนๆรายวัน
เขาจึงเขียนเรื่อง "ยอดขุนพล" ส่งไปลงพิมพ์
แต่เรื่องยอดขุนพลก็ต้องพบกับอุปสรรคอีกเพราะ กุหลาบ สายประดิษฐ์
ลาออกจากไทยใหม่ ไปออกหนังสือพิมพ์ "ประชาชาติ"
ยาขอบจึงต้องย้ายไปเขียนที่ประชาชาติ และเขียนเรื่องยอดขุนพลต่อ
แต่เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ผู้ชนะสิบทิศ" นับตั้งแต่นั้นมา ยาขอบ
ก็มีชื่อเสียงรุ่งเรืองอยู่ในวงการเขียนตลอดมา
งานเขียนหนังสือของ ยาขอบ อาจจำแนกได้เป็น นวนิยายธรรมดา นวนิยายอิงพงศาวดาร
เล่าเรื่องพงศาวดาร เช่น สามก๊กฉบับวนิพก และเรื่องเบ็ดเตล็ด
ผลงานที่ลงพิมพ์ตามนิตยสารต่างๆเช่น ประชาชาติ ประชามิตร สุภาพบุรุษ สยามสมัย
ได้แก่เรื่อง สินในหมึก ,ผู้ชนะสิบทิศ ,คดีจอมพลเนย์ ,เนย์จอมพลประจัญบาน
,เธอต้องการมีดอกไม้สีม่วงในมือ ,ผู้ร่ายโศลกเพื่อเอาชีวิตรอด
,ผู้คอขาดเพราะขนไก่ ,เตียนอุยผู้ถือศพเป็นอาวุธ ,แม่ม่ายที่ไม่เคยมีผัว
,ม้าเฉียวทายาทแห่งเสเหลียง เป็นต้น
บั้นปลายชีวิตนักเขียนของ ยาขอบ งานเขียนของเขาตกระดับจากเดิมไปมาก
ทั้งนี้เพราะอาการป่วยด้วยโรคพิษสุราเรื้อรัง
ต้องเข้าโรงพยาบาลรักษาตัวอยู่หลายครั้งก็ไม่หาย
ดังนั้นแม้ยาขอบปรารถนาอย่างยิ่งที่จะเขียนหนังสือให้ได้ดังเดิม
แต่เขาก็ไม่สามารถทำได้เสียแล้ว ผลงานอมตะเรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ
ซึ่งยาขอบพยายามที่จะเขียนให้จบด้วยตนเองก็ต้องหยุดลง
เพราะยาขอบสิ้นชีวิตไปเสียก่อน โดยเรื่องผู้ชนะสิบทิศนี้มีความยาว 8 เล่ม
เป็นนวนิยายอิงพงศาวดารที่ยาขอบเขียนจากข้อความ ในพงศาวดารเพียง 7 บรรทัด
เป็นเรื่องของบุเรงนองกษัตริย์นักรบของพม่า ยาขอบ
แต่งแปลงเป็นนวนิยายรักด้วยถ้อยคำสำนวน อันมีลักษณะเฉพาะตัว
ได้รับความนิยมและยกย่องกว้างขวาง นับตั้งแต่พิมพ์ในประชาชาติ พ.ศ.2475
จนต่อมาได้มีผู้ตีพิมพ์เผยแพร่อีก 11 ครั้ง ครั้งหลังสุด พ.ศ. 2520
นอกจากนั้นยังได้มีผู้นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ และละครวิทยุ
ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็ยังมีผู้อ่านและนิยมอย่างไม่เสื่อมคลาย.