ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป  >>

นักเขียนไทย
ชี วิ ต แ ล ะ ง า น

ป. อินทปาลิต
ผู้ สั น โ ด ษ แ ล ะ ถ่ อ ม ต น
ยาขอบ
ขุ น พ ล นั ก ป ร ะ พั น ธ์
ศรีบูรพา
สุ ภ า พ บุรุ ษ นั ก เ ขี ย น
สด กูรมะโรหิต
นั ก เ ขี ย น   " ตุ๊ ก ต า ท อ ง "
หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง
เ จ้ า ช า ย นั ก ป ร ะ พั น ธ์

หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์

                            ม.จ. อากาศดำเกิง รพีพัฒน์ ประสูติเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 ณ ตำบล สามเสน เป็นโอรสองค์ที่ 6 ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ กับหม่อมอ่อน
                   ได้รับการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียนอัสสัมชัญ แล้วย้ายมาศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดเทพศิรินทราวาสในชั้นมัธยม 4 ระหว่าง พ.ศ. 2463-2467 ต่อมาได้ไปศึกษาต่อวิชากฎหมายที่ประเทศอังกฤษ และสหรัฐฯ   แต่ไม่ปรากฎว่าสำเร็จวิชากฎหมายหรือไม่
                  เมื่อเสด็จกลับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2471 ได้เข้ารับราชการการทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย แต่พระนิสัยไม่โปรดงานราชการ จึงลาออก ภายหลังเดินทางไปประทับที่ฮ่องกง จวบจนสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 ด้วยโรคมาเลเรีย
                    ม.จ. อากาศดำเกิง ทรงสนพระทัยในการอ่านและการเขียนหนังสือมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงแปลเรื่อง เอนิวาซองครัวด์ ลงในหนังสือ แถลงการณ์เทพศิรินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2466 ขณะนั้นทรงมีพระชนม์เพียง 18 พรรษา และยังได้เขียนเรื่องสั้นอีก 2-3 เรื่อง ลงพิมพ์ในหนังสือรายเดือน ศัพท์ไทย โดยทรงใช้นามปากกาว่า "วรเศวต"
                       ม.จ. อากาศดำเกิง รพีพัฒน์ เริ่มงานเขียนอย่างจริงจังเมื่อเสด็จกลับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2471 ด้วยเรื่อง "ละครแห่งชีวิต" เป็นเรื่องแรก ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2472 และต่อมาด้วเรื่อง "ผิวเหลืองผิวขาว" พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2473  "วิมานทลาย" พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2474 และเรื่องสั้นที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ต่างๆ อีกจำนวนหนึ่ง
                      งานนิพนธ์นวนิยายของ ม.จ. อากาศดำเกิง รพีพัฒน์ ที่สำคัญมี 4 เล่ม คือ
1.) ละครแห่งชีวิต
2.) ผิวเหลืองผิวขาว
3.) วิมานทลาย
4.) ครอบจักรวาล

 

เรื่องสั้นอื่นๆ ได้แก่ ดาราคู่ชีพ โชคมนุษย์ อำนาจกฎธรรมดา เรื่องชีวิตเรื่องที่ 1 เรื่องชีวิตเรื่องที่2
                  "ศรีบูรพา" ได้กล่าวถึงผลงานเขียนของ ม.จ. อากาศดำเกิง รพีพัฒน์ ไว้ว่า
                   เรื่องทั้งหมดของ ม.จ.อากาศดำเกิง ที่ทรงนิพนธ์ไว้ใน 3 ปีนั้น เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นด้วยหัวคิดของพระองค์เองทั้งสิ้น อย่างบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่ได้แปล หรือแปลงจากเรื่องของฝรั่ง   เป็นเรื่องที่ทำให้ท่านผู้แต่ง รับรองว่าท่านเป็นนักประพันธ์ไทยได้อย่างเต็มปากเต็มคำ
                     เรื่องของ ม.จ. อากาศดำเกิง รพีพัฒน์ ทุกเรื่องเป็นเรื่องเศร้า ที่เป็นรสใหม่ของตลาดหนังสือของเมืองไทยขณะนั้น ศรีบูรพา มีความคิดเห็นว่า การอ่านชีวิตเศร้าของบุคคลต่างๆ จะช่วยให้เราเป็นคนไม่ประมาท และช่วยให้เกิดความเห็นอกเห็นใจ ในคนอื่นอีกด้วย
                     ผลงานเขียนที่สำคัญของ ม.จ. อากาศดำเกิง รพีพัฒน์   ได้แก่เรื่อง "ละครแห่งชีวิต" โดยกระทรวงศึกษาธิการ ได้คัดเลือกเป็นบทเรียนวิชาวรรณคดีไทย สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
                     "ละครแห่งชีวิต" เป็นนิยายยุคแรกของไทย ที่มีลักษณะเด่นของการบุกเบิกวงการเขียนหนังสือ คือ ใช้ฉากในต่างประเทศ ซึ่งนับว่าเป็นของใหม่ในสมัยนั้น นอกจากนี้ผู้นิพนธ์ยังได้ใช้ลีลาการเขียน ทำนองเล่าเรื่องชีวะประวัติ จนผู้อ่านเข้าใจว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องจริง และมีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง เป็นผลให้เกิดงานวิจารณ์หนังสือในครั้งนั้นด้วย คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ได้ทรงวิจารณ์งานเขียนชิ้นนี้เป็นภาษาอังกฤษลงใน "สามัคคีสาร" เล่มที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน 2473 และ Bangkok Daily Mail 1930 กับทรงวิจารณ์เป็นภาษาไทยลงใน ศรีกรุง ฉบับประจำเดือนธันวาคม 2473
                "ละครแห่งชีวิต" ได้ให้ตัวละครต่อสู้ชีวิตในแง่มุมต่างๆ ด้วยความยากลำบากและน่าสงสาร ตั้งแต่วัยเด็กที่ไม่ได้รับความอบอุ่นจากครอบครัว ต้องกลายเป็นเด็กเกเรชอบทางอบายมุขนานาประการ เมื่อโตขึ้นได้ไปศึกษาต่อต่างประเทศ มีโอกาสได้เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อเสียงฉบับหนึ่งของโลก ส่งผลให้ได้ท่องเที่ยวไปในเมืองสำคัญๆหลายแห่ง ได้พบปะผู้คนหลากอาชีพ ได้เห็นภาพชีวิตการทำมาหากิน สภาพภูมิประเทศ ขนบธรรมเนียมประเพณีของชนชาติต่างๆ เป็นการนำผู้อ่านท่องเที่ยวไปในที่นั้นๆ ด้วยข้อสำคัญประการหนึ่งที่ผูนิพนธ์เน้นกล่าวคือ ความแตกต่างระหว่างชนต่างผิวต่างชาติ ชนผิวขาวจะถือว่าชาติตนเจริญกว่าชาติอื่น และยังมีความคิดเหยียดผิวอยู่ไม่น้อย ผู้นิพนธ์ออกจะปักใจเชื่อว่า ระหว่างชนชาติผิวที่ต่างขนบธรรมเนียมและประเพณีกันนั้น หญิงและชายจะไม่มีวัน ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเยี่ยงชนผิวเดียวกันได้อย่างเด็ดขาด ซึ่งท่านก็ได้ยืนยันความคิดนั้นในตอนจบของเรื่อง.

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย