ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

นักคิด นักเขียน

จิตร ภูมิศักดิ์ 
กุหลาบ สายประดิษฐ์
อัศนี พลจันทร์
ปรีดี พนมยงค์
ป๋วย อึ้งภากรณ์

ปรีดี พนมยงค์

          ปรีดี   พนมยงค์ เกิดเมื่อวันที่ 11   พฤษภาคม  พ.ศ.2443   ถือกำเนิดในเรือนแพหน้าวัดพนมยงค์   อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา    บิดาชื่อนายเสียง เป็นคนเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว   ซึ่งมีบรรพบุรุษข้างปู่สัมพันธ์กับพระเจ้าตากสิน   มารดาชื่อนางจันทน์ สืบเชื้อสายมาจากพระนมแห่งกษัตริย์พระองค์หนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา ชื่อ "ประยงค์"   ซึ่งเป็นผู้สร้างวัดห่างจากกำแพงพระราชวังด้านตะวันตกชื่อ วัดนมยงค์ หรือ "พนมยงค์"    เมื่อครั้งมีการประกาศพระราช บัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ.2456 ครอบครัวนี้จึงได้ใช้นามสกุลว่า "พนมยงค์"

สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ โรงเรียนวัดศาลาปูน อำเภอกรุงเก่า ได้เข้าศึกษาต่อชั้น มัธยมเตรียมที่โรงเรียนสวนกุหลาบ   แล้วก็ออกมา ช่วยบิดาทำนาอีกหนึ่งปี  จากนั้นจึง เข้าศึกษาที่โรงเรียน กฏหมาย กระทรวงยุติธรรม   ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2460 จึง สอบไล่วิชากฏหมาย ชั้นเนติบัณฑิตได้ เมื่ออายุเพียง 19 ปี ต่อมาเมื่ออายุ 20 ได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นสมาชิกเนติ บัณฑิตยสภา  เนื่องจากกระทรวงยุติธรรมพอใจในผล สอบจึงให้ทุนนายปรีดีไปเรียนต่อกฎหมาย ที่ประเทศ ฝรั่งเศส  เข้าเรียนชั้นปริญญาตรีทางกฏหมาย ที่ มหาวิทยาลัยก็อง (Univesite de Caen )

       ในเดือนสิงหาคม   ปี พ.ศ.2463 ปรีดีได้ร่วมกับ นักเรียนไทยในยุโรป   (ยกเว้นอังกฤษ) ก่อตั้งสมาคม "สามัคคยานุเคราะห์สมาคม" โดยปรีดีได้รับเลือกเป็น เลขาธิการสมาคม  ต่อมาได้รับเลือกให้เป็นสภานายก สมาคมในปี พ.ศ.2468 -2469

      ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2496 ปรีดี  พนมยงค์ ได้ร่วมกับเพื่อนอีก 6   คน คือ ร.ท.ประยูร  ภมรมนตรี, ร.ท.แปลก  ขีตตะสังคะ(หลวงพิบูลสงคราม) นักศึกษา วิชาทหารปืนใหญ่, ร.ต. ทัศนัย  มิตรภักดี นักศึกษาวิชา การทหารม้า, นายตั้ว  ลพนุกรม นักศึกษาวิทยาศาสตร์ ระดับปริญญาเอกในสวิตเซอร์แลนด์, หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ  สิงหเสนี) ผู้ช่วยเลขานุการทูตประจำกรุงปารีส และนายแนบ  พหลโยธิน   เนติบัณฑิตอังกฤษ ประชุม ครั้งแรกในการก่อตั้งคณะราษฎร    ที่หอพัก Rue du summerard ในกรุงปารีส เพื่อตกลงที่จะทำการเปลี่ยน แปลงการปกครองจากกษัตริย์เหนือกฏหมาย  มาเป็น การปกครองที่มีกษัตริย์ใต้กฏหมาย โดยใช้วิธีการยึด อำนาจโดยฉับพลันและจับกุมบุคคลสำคัญไว้เป็นตัว ประกัน ซึ่งเป็นยุทธวิธีที่ใช้สำเร็จมาแล้วในการปฏิวัติ ฝรั่งเศสและรัสเซีย อีกทั้งเป็นการป้องกันมิให้ประเทศ มหาอำนาจอังกฤษและฝรั่งเศสถือโอกาสยกกำลังทหาร เข้ามายึดสยามขณะที่เกิดความไม่สงบภายในประเทศ
      ที่ประชุมตกลงกันว่า เมื่อกลับประเทศแล้วหากการ ก่อการครั้งนี้ล้มเหลวหรือพ่ายแพ้ ให้นายแนบ พหลโยธิน ซึ่งมีฐานะดีกว่าเพื่อนเป็นผู้ดูแลครอบครัวของเพื่อนที่ ติดคุกหรือตาย

ในช่วงที่สังคมไทยกำลังเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว ประเทศเพื่อนต่างๆหลายประเทศได้ตกเป็นอาณา นิคมของ ประเทศมหาอำนาจ  สยามประเทศสูญเสีย เอกราชทางการ ค้าจากการถูกบังคับให้เซ็นสัญญาบาวริง ในปี พ.ศ.2398 และเสียดินแดนบางส่วนด้วย  ปรีดีพบว่า ชาวนาต้องขัดสนยากจนด้วยทุนและหนี้สิน  ราคาข้าวตกต่ำเป็นอย่างมาก  

      ในประเทศจีนมีการเปลี่ยน แปลงการปกครองจาก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มา เป็นการปกครองแบบ สาธารณรัฐในปี พ.ศ.2454  โดยมี ดร.ซุนยัดเซ็น เป็น หัวหน้า  ส่วนในประเทศไทยได้เกิดกบฏ ร.ศ.130 แต่คณะ ผู้ก่อการถูกจับกุ่มได้   ในประเทศรัสเซีย ปี พ.ศ. 2491 กลุ่มบอลเชวิกได้ก่อการล้มล้างพระเจ้าซาร์

 

      ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 กรุงปารีสเป็นที่รวมของ แนวคิดทฤษฎีทางการเมืองของค่ายต่างๆ  ทั้งมาร์กซ์ เองเกลส์ และเลนินก็เคยใช้ชีวิตอยู่ที่นี่   นักศึกษาต่าง ชาติที่ต่อมาเป็นนักปฏิวัติคนสำคัญ ต่างก็มาอยู่ที่ฝรั่งเศส เช่น โจวเอินไหล  เติ้งเสี่ยวผิง  โฮจิมมินห์  เป็นต้น  ปรีดี พนมยงค์ก็สำเร็จการศึกษาจากที่นี่

       และในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ถือว่าเป็นยุคแห่ง ขบวนการปฎิวัติ และขบวนการชาตินิยม ซึ่งเติมโตขึ้น ในแทบทุกที่ที่มีการคุกคามของมหาอำนาจ ในภาคพื้น เอเชียตะวันออกเฉลียงใต้ ผู้นำขบวนการชาตินิยม คนสำคัญหลายคนถือกำเนิดขึ้น นำการเคลื่อนไหวเพื่อ ปลดปล่อยประเทศของตนให้เป็นอิสระจากเจ้าอาณา นิคมตะวันตก เช่น ซูการ์โน(2444-2523) แห่ง อินโดนีเชีย , อองซาน (2458-2490) , แห่งพม่า และโฮจิมมินห์ (2433-2510) แห่งเวียดนาม

      สำหรับในด้านยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เริ่มก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ ทั้งด้านศิลปะและวิทยาการ และใน ทางการเมือง รัสเซีย เกิดการปฏิวัติโค่นล้มระบบซาร์ (2460) , เยอรมนี กลายเป็นประเทศสาธารณรัฐ (2461), พร้อมๆกับการเติบโตขึ้นของอุดมการณ์ชาตินิยม, สังคมนิยม, เสรีนิยม และคอมมิวนิสต์

      ปรีดี  พนมยงค์ขณะใช้ชีวิตเป็นนักศึกษาที่ต่าง ประเทศได้เข้าไปอยู่ท่ามกลางการปะทะสังสรรค์ทาง ความคิดใหม่ๆ  บรรยากาศในยุโรปที่ไม่เคยเกิดขึ้นใน สยามมีผลอย่างมากต่อความคิดเปลี่ยนแปลงการ ปกครองของปรีดีในวัยหนุ่ม  ณ  ที่นั่นปรีดีและสหายได้ ก่อตั้งสมาคม สามัคยานุเคราะห์สมาคม ขึ้นในปี 2467 ต่อมาร่วมกับมิตรสหายได้เริ่มก่อตั้ง คณะราษฎร ขึ้นใน ปี 2469  ซึ่งในอีกเจ็ดปีต่อมา คณะราษฎรก็สามารถนำ การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสยามเป็นผลสำเร็จ ในปี พ.ศ.2475  

           ต่อมาได้มีผู้เข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อการเพิ่มขึ้น คือ ร.อ.สินธุ์   กมลนาวิน ร.น.(หลวงสินธุ-สงครามชัย)   นายควง  อภัยวงศ์ นายทวี   บุณยเกตุ  ดร.ประจวบ  บุนนาค   ม.ล.อุดม  สนิทวงศ์ นายบรรจง   ศรีจรูญ และได้ชักชวน พ.อ.พระยา ทรงสุรเดช อดีตนักเรียน เยอรมันซึ่งอยู่ในระหว่างการไปดูงานที่ฝรั่งเศสให้เข้า ร่วมด้วย    ปี พ.ศ.2469 นายปรีดีได้รับ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ทางกฎหมาย(Docteur en Droit) และสอบไล่ได้ประกาศ นียบัตรทางการศึกษา ชั้นสูงใน ทางเศรษฐกิจ (Dipl?me d'  Economie  Politique )   จากมหาวิทยาลัยปารีส เมื่ออายุได้ 26 ปี

            ในปี พ.ศ.2470 นายปรีดีได้เดินทางกลับประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นคนไทยคนแรกที่จบดุษฎีบัณฑิตจากมหา วิทยาลัยปารีส    นายปรีดีได้เข้ารับราชการเป็นผู้พิพากษาประจำกระทรวงยุติธรรม   ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงประดิษฐ์มนูธรรม   และยังได้เป็นผู้สอนในโรงเรียนกฎหมาย   กระทรวงยุติธรรม ในเวลาว่างก็ได้เปิดการอบรม ทบทวนวิชากฎหมายให้แก่นักเรียนกฎหมายที่บ้านถนนสีลมโดยไม่คิดค่าสอน   ทำให้ได้เผยแพร่อุดมการณ์และได้ ลูกศิษย์เช่น นายซิม  วีระไวทยะ   นายสงวน  ตุลารักษ์   นายดิเรก    ชัยนามมาเข้าร่วมเป็นกำลังในคณะราษฎรด้วย ในส่วนของคณะราษฎรแต่ละสายก็ได้แยกย้ายกันหาสมาชิกที่จะเข้าร่วมก่อการปฏิวัติ   ซึ่งภายหลังการปฏิวัติแล้ว ปรากฏว่ามีสมาชิกทั้งสิ้น  115 คน มากกว่าครึ่งมีอายุน้อยกว่า 30 ปี

อ่านต่อ >>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย