วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>

ปรัชญาศาสตร์

บทที่ 6 :: สังคมอุดมคติ 

    หากลองพิจารณาข่าวสารที่เราได้รับจากสื่อต่าง ๆ จะพบว่า ส่วนใหญ่เป็นข่าว “ด้านลบ” แทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น อาชญากรรมต่าง ๆ สงคราม ความยากจน การคดโกง การเอารัดเอาเปรียบ ยาเสพติด การทำทารุณเด็ก ฯลฯ

    บางคนที่ไวต่อการรับข่าวสารเหล่านั้น อาจเกิดความคิดว่า “น่าจะมีหนทางที่ดีกว่านี้” หรือ บางคนอาจจะอยากจัดการทุกอย่างด้วยตนเองตาม “สังคมอุดมคติ” เขาคิดว่าจะทำให้เกิดขึ้นได้

    แม้ว่าเราจะไม่สามารถจัดการทุกอย่างให้เป็นไปได้อย่างที่เราต้องการในเพียงชั่วข้ามคืน แต่ “สังคมอุดมคติ” (Ideal Societies) ก็ยังคงมีความสำคัญ เพราะอย่างน้อยมันก็เป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้จักโลกรอบตัวเราดีขึ้น โดยเฉพาะในแง่ความเป็นไปได้ (possibilities)

    ยิ่งเรารู้จักความเป็นไปได้ของสิ่งต่าง ๆ มากเพียงใด ก็ย่อมเป็นการง่ายสำหรับเราในการประเมิน (evaluate) จุดยืนของเรามากเพียงนั้น

    การคิดคำนึงถึงสังคมอุดมคติ เป็นแนวทางที่ดีในการพัฒนาหนทางในการประเมินสังคมของเราเอง มีนักคิดมากมายที่พูดถึงสังคมอุดมคติ แต่ในบทนี้เราจะพูดถึงความคิดของนักคิดสองคน คือ B.F. Skinner และ Sir Thomas More

    แม้แนวคิดของคนทั้งสองจะแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่โดยพื้นฐานสังคมอุดมคติของทั้งคู่ล้วนสร้างขึ้นมาบนพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับ ธรรมชาติมนุษย์ (human nature) และ ความสุขของมนุษย์ (human happiness)   ดังนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า สังคมอุดมคติ เป็นผลลัพธ์จากทฤษฎีธรรมชาติมนุษย์และความสุขของมนุษย์ของนักคิดคนนั้น ๆ นั่นเอง

    ที่สำคัญ ก็คือ สังคมอุดมคติยังคงเป็น อุดมคติ อยู่เสมอไป เพราะเป็นสังคมที่เปิดโอกาสให้สมาชิกในสังคมนั้น ๆ ทำทุกสิ่งทุกอย่างได้ตามที่นักคิดผู้สร้างสังคมนั้นวางโครงสร้างหรือออกแบบ (design) ตามสิ่งที่ตนคิดว่าประชาชนต้องการเพื่อสร้างความสุขให้เกิดขึ้น

ท้ายที่สุด สังคมในจินตนาการใด ๆ ก็ตาม ล้วนแต่ท้าทายเราให้หันมาสนใจสังคมในปัจจุบันมากขึ้น เราควรต้องหันมาสนใจว่าสังคมของเราเหมือนหรือแตกต่างจากสังคมอุดมคติเพียงใด การศึกษาเรื่องสังคมอุดมคติ จึงเป็นการบอกถึงจุดยืนของเรา รวมถึงแนวทางในการประเมินสังคมของเราอีกด้วย

    แม้ว่าบางคนจะมีแนวโน้มยอมรับโดยไม่เคยตั้งคำถามว่า สังคมเราในปัจจุบัน “ไม่สมบูรณ์แบบ แต่ก็ไม่ถึงกับแย่เกินไป” ทัศนะเช่นนี้ได้รับการสนับสนุนจากผู้นำในทุกสังคมอยู่เสมอ กล่าวคือ ผู้นำเหล่านั้นมักจะบอกแก่ประชาชนของตนว่า พวกเขาโชคดีเพียงใดที่ได้อาศัยอยู่ในสังคมเช่นนั้น

 

   แต่แนวคิดเรื่องสังคมอุดมคติ ดูเหมือนจะเป็น “ก้าง” ชิ้นไม่โตนักที่คอยทิ่มตำความคิดที่ยอมเชื่อโดยไม่คิดไตร่ตรองให้รอบคอบ (unthinking acceptance) ความพึงพอใจ(หรือยอมจำนน)ต่อสภาพชีวิตที่เป็นอยู่ (complacency) และยังเป็นการตรวจสอบความคิดกระแสหลักในปัจจุบันด้วย

    ในหนังสือเรื่อง Walden Two ของ B.F. Skinner ให้ภาพลักษณะทางสังคมและการเมืองที่เกี่ยวพันกับแนวคิดทางจิตวิทยาแบบสำนักพฤติกรรมนิยม(behaviorism)

    Skinner เชื่อว่ามนุษย์มีความต้องการพื้นฐาน 5 ประการเพื่อสร้างความสุข-ความพึงพอใจ ได้แก่ สุขภาพพลานามัย การลดความเหนื่อยยากในการทำงาน โอกาสในการทำสิ่งที่ท้าทายความสามารถ การมีสัมพันธ์ที่ราบรื่นและใกล้ชิด นันทนาการและการพักผ่อน

    ดังนั้น สังคมควรจะเกิดขึ้นบนพื้นฐานของแนวคิดดังกล่าว ทำให้ เสรีภาพ (freedom) เป็นทั้งสิ่งที่ไม่จำเป็นและไม่ต้องพูดถึงกันเลยด้วยซ้ำ ผู้คนในสังคมตามความคิดแบบ Skinner มีชีวิตที่เป็นผลผลิตของ “วิศวพฤติกรรม” (behavioral engineering)

    สังคมแบบชุมชนที่มีความเสมอภาคกันนั้นไม่จำเป็นต้องใช้เงิน คนทุกคนมีหน้าที่ต้องทำงาน และได้รับสิ่งที่ตนต้องการเป็นเครื่องตอบแทน  ดังนั้น Walden Two จึงไม่ใช่แนวคิดแบบประชาธิปไตยแต่เป็นการดำเนินงานโดยนักวางแผน (Planner) และผู้จัดการพิเศษ (specialized Manager) ที่ได้รับการแต่งตั้งแทนที่จะมาจากการเลือกตั้ง

เด็กที่เกิดขึ้นมาเป็นสมบัติของชุมชน จะได้รับการอบรมสั่งสอนโดยชุมชนซึ่งเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของหลักการจิตวิทยาแบบพฤติกรรมนิยม สมาชิกในชุมชนทุกคนต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติ ของวอลเดน (the Walden Code) 

ยูโทเปีย
    ในขณะเดียวกัน เกาะยูโทเปีย (the island of Utopia) ซึ่งเป็นสังคมอุดมคติตามแนวคิดของ Sir Thomas More ก็เป็นชุมชนที่ไม่ต้องใช้เงินและไม่อนุญาตให้มีการสะสมทรัพย์สมบัติส่วนบุคคล ยกเว้นทรัพย์สินจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น ทุกคนต้องทำมาค้าขายอย่างเต็มที่

รัฐบาลในยูโทเปีย ได้มาจากการเลือกตั้งจากบรรดาชนชั้นที่มีความรู้ การบริหารจัดการชุมชนเป็นโครงสร้างที่เข้มแข็งของครอบครัว พร้อมกับสนับสนุนการทำความดี ชาวยูโทเปียทุกคนล้วนมีสำนึกอย่างสูงเกี่ยวกับความพึงพอใจ หรือ ความสุขที่ “แท้จริง”

    อย่างไรก็ตาม แนวคิดสำคัญที่เป็นพื้นฐานของ More คือ อกุศลแห่งความหยิ่งทะนง (sin of pride) ซึ่งเป็นความรู้สึกของความเหนือกว่า และความหยิ่งจองหองอันเนื่องมาจากความมั่งคั่งร่ำรวย (wealth) ความปรารถนาในชื่อเสียงเกียรติยศ (praise) จนทำให้คนอ้างความมีอำนาจเหนือคนอื่น ๆ 

    More เชื่อว่าความหยิ่งทะนงเป็นหลักการสำคัญที่ทำให้เกิดความชั่วร้ายทางสังคม (social evil) ดังนั้นสถาบันต่าง ๆ ในสังคมยูโทเปียจึงได้รับการสร้างขึ้นเพื่อควบคุมความชั่วร้าย (vice) เหล่านั้น

อุดมคติของคุณเป็นอย่างไร
     เราได้ทราบมาแล้วว่า สังคมอุดมคติ มักจะวางอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจเรื่องธรรมชาติมนุษย์และความสุขของมนุษย์ ดังที่ Skinner คิดว่า ธรรมชาติของมนุษย์เป็นสิ่งที่ยืดหยุ่นมาก แต่เขาก็ไม่คิดว่าเสรีภาพเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีอยู่ ดังนั้นเขาจึงสร้างให้ประชาชนและสังคมของเขาทำแต่สิ่งที่ดี    เมื่อเราจะพิจารณาสังคมอุดมคติของเราเองบ้าง สิ่งสำคัญที่เราต้องเข้าใจก็คือสิ่งเดียวกันกับสิ่งที่ Skinner และ More เข้าใจ นั่นก็คือ สังคมที่ดีมีลักษณะอย่างไรบ้าง?

    คำตอบที่ได้จะช่วยให้เราวางโครงร่างความเข้าใจที่ดีขึ้นสำหรับทิศทางที่สังคมมนุษย์ควรจะเป็น รวมถึงสถาบันทางสังคมต่าง ๆ ที่เราเป็นสมาชิก ไม่ว่าจะเป็น มหาวิทยาลัย บริษัท หรือแม้แต่ประเทศชาติ   บางคนอาจสรุปว่า ตลอดเวลานักคิดต่าง ๆ อย่างน้อยก็ Skinner และ More ต่างก็เป็นคนช่างฝัน (dreamer) ถึงความเป็นไปได้ที่อยู่ห่างไกลจากความเป็นจริง

    มนุษย์อาจถูกมองว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่ชอบเอารัดเอาเปรียบ หาประโยชน์ใส่ตัว เล่นพรรคเล่นพวก และก้าวร้าว ขณะเดียวกันกฎหมาย วัฒนธรรมและอารยธรรม ก็ดูเหมือนจะเป็นแผ่นกระดาษบาง ๆ ที่ปกคลุมธรรมชาติอันแท้จริงของมนุษย์เอาไว้เท่านั้น    แม้ว่าความหวังของนักคิดต่อสังคมอุดมคติที่มองความเป็นไปของธรรมชาติมนุษย์จะยังไม่เคยประสบความสำเร็จก็ตาม และแม้ว่าจากพัฒนาการทางเทคโนโลยีจะทำให้นักคิดตะวันตกส่วนใหญ่กล่าวว่าเราอาศัยอยู่ในสังคมที่ “ก้าวหน้า” ในขณะที่เราเคยอยู่สังคมที่เราเรียกกันว่า “ล้าหลัง” มานานแล้วก็ตาม    สิ่งที่เราต้องการก็คือ ความอดทน ความหวัง จินตนาการและแรงกระตุ้นให้เกิดการเปลี่นแปลง รวมถึงความเชื่อที่ว่าเผ่าพันธุ์ของเราจะนำความฝันต่อสังคมอุดมคติให้เป็นจริงขึ้นมาได้

    บางทีเราแค่อาจจะต้องการเวลามากขึ้นกว่าเดิมและต้องการความอ่อนน้อมถ่อมตน (humility) มากขึ้น ซึ่งตรงกันข้ามกับสิ่งที่ More เรียกว่า ความหยิ่งทะนง (pride)  ซึ่งจะช่วยใหเรายอมรับว่า เราคือใครและเราคืออะไร อันเป็นจุดยืนของเราในประวัติความเป็นมาของมนุษยชาติ และกระตุ้นเราให้ทำ(ในสิ่งที่ไม่ว่าจะสำคัญมากน้อยเพียงใดก็ตาม) เพื่อช่วยให้เผ่าพันธุ์ของเราก้าวหน้าขึ้น


ความหมาย และวัตถุประสงค์ ของการศึกษาปรัชญา
เครื่องมือของ ปรัชญาและ เหตุผล
มนุษยภาวะ
การตัดสินถูกและผิด
ความหมายและ ความจำเป็นของคุณธรรม
สังคมอุดมคติ 
ความรู้ของมนุษย์
ปัญหาเรื่องความจริง และสิ่งที่เป็นจริง
เพศกับความคิด
มาร์กซ์ กับ พระพุทธเจ้า
 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

🍁 ชาร์ลส์ ดาร์วิน
ผู้มีบทบาทนำให้เกิดการศึกษาค้นพบทฤษฎีวิวัฒนาการมากที่สุดดาร์วินเสนอควาามคิดเกี่ยวกับการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

🍁 สงครามโลกครั้งที่ 1
เป็นความขัดแย้งระดับโลกที่เกิดระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตร และฝ่ายมหาอำนาจกลาง ซึ่งไม่เคยปรากฏสงครามขนาดใหญ่ที่มีทหารหรือสมรภูมิเกี่ยวข้องมากขนาดนี้มาก่อน

🍁 ประวัติศาสตร์ชนชาติจีน
ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก คือ 1,200 ล้านคน นั่นหมายความว่า ประชากรหนึ่งในห้าของโลกเป็นประชากรจีน

🍁 ยอดมนุษย์
เรื่องราวและชีวิตของพวกเขา บางเรื่องเป็นตำนาน เป็นเรื่องเล่า เป็นความจริง บางคนไร้ตัวตนบางคนล้มเหลว บางคนเป็นต้นแบบ เป็นอาชญากร

🍁 รพินทรนาถฐากูร
หยุดเสียเถิดการสาธยาย การขับขานและการนั่งนับลูกประคำอะไรเหล่านี้ ท่านบูชาผู้ใดกันในมุมสลัวลาง...และเปล่าเปลี่ยวของเทวลัยที่หับบานประตูหน้าต่างมิดชิดรอบด้าน

🍁 สงครามอ่าวเปอร์เซีย (Persian Gulf War)
สงครามระหว่างอิรัก กับ อิหร่าน หรือที่นิยมเรียกว่าสงครามอ่าวเปอร์เซีย (Persian Gulf War) นั้นได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ.1980 โดยมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งอยู่หลายประการ

🍁 แม่ไม้มวยไทย
การเล่นพื้นบ้านที่มีคุณลักษณะของการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยการใช้อวัยวะในส่วนที่สามารถใช้ทำอันตรายคู่ต่อสู้ได้มาใช้งานอย่างชาญฉลาด และมีศิลปอย่างสูง

🍁 ประวัติศาสตร์ศิลป์
วิวัฒนาการของประวัติศาสตร์ศิลป์และการออกแบบศิลปะเครื่องประดับตะวันตกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่ค้นพบในแต่ละช่วงสมัย และส่วนใหญ่มีแรงบันดาลใจมาจากการรู้จักธรรมชาติ

🍁 รอยต่อพัฒนาการ
หนึ่งในมโนทัศน์ของ เลฟ เซเมโนวิช ไวก็อตสกี้ ที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก ซึ่งอธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้และพัฒนาการ และเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีในวงการการศึกษาของเด็กปฐมวัยและพัฒนาการเด็ก

🍁 ทฤษฎีการดูแลของวัตสัน
เป็นทั้งปรัชญาและทฤษฏีทางการพยาบาล ที่มีจุดเน้นที่การดูแล ซึ่งพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ.1979 ภายใต้อิทธิพลทางด้านมานุษยวิทยา รวมทั้งความรู้สึกผูกพันต่อบทบาทการดูแลเพื่อการฟื้นหายของผู้ป่วยที่วัตสันประจักษ์ด้วยตัวเอง

🍁 ลัทธิของค้านท์
ลัทธิที่ยึดมั่นในคุณธรรมหรือเหตุผลอย่างเคร่งครัด หรือ Moral Purism แปลว่า บริสุทธิ์นิยมทางศีลธรรม หรือบางทีก็เรียกว่า หน้าที่นิยม เพราะเน้นที่หน้าที่เป็นหลัก

🍁 ประชุมพงศาวดาร
การศึกษาหาความรู้พงศาวดาร และตำนานเก่าย่อมถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งใน การศึกษาทั่วทุกประเทศ

🍁 อปริหานิยธรรม 7
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม 7 ประการ ผู้ปฏิบัติ ธรรมนี้จะเป็นไปเพื่อความเจริญทั้งฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายสงฆ์

🍁 จริยธรรม
จริยธรรมไม่แยกเด็ดขาดจากศีลธรรม แต่มีความหมายกว้างกว่าศีลธรรม

🍁 พุทธศาสนสุภาษิต

🍁 ภาษิต คติพจน์ ของอังกฤษ

🍁 คมคำบาดใจ

🍁 ปรัชญาชาวบ้าน

🍁 ปรัชญาจากพระคัมภีร์ไบเบิล

🍁 บทเพลงสากลจากอดีต (แปลไทย)

🍁 สุภาษิตจีน

🍁 สุภาษิตสอนหญิง

🍁 ภาษิตจีนโบราณ

🍁 ปราชญ์สอนว่า (ขงจื้อ)

🐍 โปรดระวังงูฉก

มนุษย์ก็เหมือนสสารชนิดหนึ่ง
ที่รอวันร่วงโรยแตกดับ

อยู่ไปนานวันเข้าก็เริ่มสูญเสียความสมดุล
ระบบการทำงานของร่ายกายก็ช้าลงไปเรื่อยๆ

หลีกหนีไม่พ้นความตายในที่สุด

ร่างกายเน่าเปื่อยผุผัง
ไม่เที่ยงแท้แน่นอน
ไม่มั่นคงยั่งยืน
กลับคืนสภาพเดิมได้ยาก

จากธรรมชาติสู่ธรรมชาติ
ทั้งในสถานะของแข็งของเหลวและก๊าซ

มันเป็นอนิจจัง

รู้แล้วเหยียบไว้
อย่าได้ทำเป็นตื่นตูม.

🐍 งูเขียว หางบอบช้ำ : เขียน

เชิญแวะอ่านสักนิดสักหน่อยก็ยังดี...

🌿 ปายฝน ต้นรัก ปางอุ๋ง แม่ละนา 1864 โค้ง
บนทางหลวง 1864 โค้ง หมายเลข 1095 เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ฝันค้างกลางฤดูหนาวหนึ่ง ได้กลายเป็นความจริงตอนปลายฤดูฝน ปายที่เคยได้แต่ฝันถึง ปางอุ๋งที่ไม่มีวันจะเป็นจริง แม่ละนาที่ไกลเกินเอื้อม ด้วยปีกคู่นั้นกับชีวิตเสรีในแบบฉบับของตัวเอง

🌿 ตะลุยเมืองจำลอง
ฝนจะตกแดดจะออกก็ไม่เป็นปัญหา ไม่ต้องเตรียมแผนที่หรือข้อมูลอะไรให้ยุ่งยาก เสื้อยืดตัว ขอใช้ส่วนตัวเท่าที่จำเป็น เป้ใบ กล้อง จองโรงแรมคืนหนึ่งล่วงหน้า 3 วัน ก่อนเดินทางแถวจอมเทียน ขอลงรถหน้าเมืองจำลองได้เลย ก่อนรถเลี้ยวเข้าสถานีตรงพัทยาเหนือ (10.30 น. ถึง) พร้อมลุย

🌿 จากจังหวัดที่เล็กที่สุดถึงเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุด
ถึงอัมพวา แต่ไม่เห็นหิ่งห้อยสักตัว ทั้งที่นอนอยู่ใต้ต้นลำพู ถึงค่ายบางกุ้ง แต่ไม่ถึงวัดบางกุ้งทั้งที่อยู่ห่างกันแค่ข้ามฝั่งถนน

ยังมีอีก »


ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
ภูจอมยุทธ | Podcast

ชีวิตในแบบฉบับของตัวเอง หิวก็กินง่วงก็นอน อยากทำอะไรก็ทำ เบียดเบียนสภาพแวดล้อมแต่พองาม ประสบการณ์แบ่งปันผู้คน มากบ้างน้อยบ้าง วัดกับร้านเหล้าถือเป็นสถานอโคจร ที่ต้องรักษาระยะห่าง คลิกดู👆