วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>

ปรัชญาศาสตร์

บทที่ 9 :: เพศกับความคิด

จากแบบทดสอบ 9 ข้อในชั้นเรียน ผลของคำตอบจะปรากฏว่านักศึกษาได้ค่า C และ J ออกมา โดยที่หากได้ J มากกว่า C แสดงว่าจริยธรรมส่วนบุคคลวางอยู่บนพื้นฐานของการ “ความยุติธรรม” (justice) ซึ่งบางคนเรียกกว่าเป็นจริยธรรม “แบบบุรุษ” (masculine) ในทางกลับกัน หากได้ C มากกว่า J แสดงว่าจริยธรรมส่วนบุคคลวางอยู่บนพื้นฐานของการ “ใส่ใจ,ระมัดระวัง” (care) ที่บางคนเรียกกว่าเป็นจริยธรรม “แบบสตรี” (feminine)

แม้ว่าจะยังไม่ชัดเจนในการตัดสินว่าจริยธรรมแบบได้จะต้องเป็นของเพศใดเพศหนึ่งเท่านั้น เพราะไม่ว่าหญิงหรือชายก็สามารถมีการตัดสินใจได้ทั้งสองแบบ (บางคนอาจจะมี J และ C เท่ากัน) แต่ส่วนมากผู้ชายมักจะ J มากกว่า C และผู้หญิงก็มีจะมี C มากกว่า J

การวิจัยทางจิตวิทยามีสมมติฐานเกี่ยวความแตกต่างที่สำคัญของวิธีการคิดเกี่ยวกับความรู้และจริยธรรมที่น่าจะสัมพันธ์กับเพศ(gender) แต่ในความเป็นจริงสังคมส่วนมากเป็นสังคมที่ให้ความสำคัญกับเพศชาย ซึ่งนำไปสู่การลดทอนความสำคัญของการคิดและการกระทำแบบ “ผู้หญิง” ว่าเป็นรองวิธีการคิดแบบแรก (ผู้ชาย)

อย่างไรก็ตาม การวิจัยของนักจิตวิทยาบางคนก็เสนอว่า สิ่งที่ตรงกันข้ามกับต้นแบบที่ตรงไปตรงมา คือ การนำเอาสัญชาตญาณและอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการคิดด้วย

นอกจากนี้ยังมีผู้เสนอว่า สิ่งที่อยู่เหนือการตัดสินที่ยึดความยุติธรรมนั้นน่าจะเป็นแนวคิดที่เน้นความใส่ใจและความระมัดระวังในการตัดสินใจเป็นพื้นฐาน

ข้อเสนอทางจิตวิทยาที่ให้ความสำคัญกับอารมณ์ ความรู้สึกสัญชาตญาณ (intuition) และอัตวิสัย(subjective) นั้นมีความสำคัญในเชิงปรัชญาด้วย อย่างไรก็ตาม การคิดว่าเหตุผลจะต้องเป็นสิ่งที่ “บริสุทธิ์” (pure) เป็นการวางกรอบความคิดที่มาจากการกระทำและค่านิยมแบบบุรุษเพศ นั่นเอง


ความหมาย และวัตถุประสงค์ ของการศึกษาปรัชญา
เครื่องมือของ ปรัชญาและ เหตุผล
มนุษยภาวะ
การตัดสินถูกและผิด
ความหมายและ ความจำเป็นของคุณธรรม
สังคมอุดมคติ 
ความรู้ของมนุษย์
ปัญหาเรื่องความจริง และสิ่งที่เป็นจริง
เพศกับความคิด
มาร์กซ์ กับ พระพุทธเจ้า
 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย