ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ซอฟต์แวร์ระบบ
โปรแกรมแปลภาษาคอมพิวเตอร์
การที่มนุษย์จะติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการได้นั้น จำเป็นต้องมีตัวกลางในการสื่อสาร ซึ่งเปรียบเสมือนภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ตัวกลางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาที่คอมพิวเตอร์รู้จักและปฏิบัติงานได้ทันทีเรียกว่า ภาษาเครื่อง ซึ่งเป็นภาษาที่อยู่ในรูปเลขฐานสอง
เนื่องจากภาษาเครื่องเป็นภาษาที่มีความซับซ้อน ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ขึ้นอีกระดับหนึ่ง โดยการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นรหัสแทนการทำงานและใช้การตั้งชื่อตัวแปรแทนตำแหน่งที่ใช้เก็บจำนวนต่างๆ ภาษาประเภทนี้จัดเป็นภาษาระดับต่ำ ซึ่งก็คือภาษาแอสเซมบลี แต่ภาษาระดับต่ำนี้ยังมีความซับซ้อน เนื่องจากยังมีความใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมาก ดังนั้นจึงมีผู้พัฒนาภาษาระดับสูง เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรม ซึ่งลักษณะคำสั่งของภาษาระดับสูงจะประกอบด้วยคำต่างๆ ในภาษาอังกฤษ ที่ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ ผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมายได้
ภาษาระดับสูงและระดับต่ำเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถเข้าใจได้ทันที จึงจำเป็นต้องมีโปรแกรมแปลภาษาให้เป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจได้ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. คอมไพเลอร์ (Compiler) เป็นโปรแกรมแปลภาษาระดับสูง
โดยแปลทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน
แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น เช่น ตัวแปลภาษาซี ตัวแปลภาษาปาสคาล
2. อินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter)
เป็นโปรแกรมแปลภาษาระดับสูงโดยแปลทีละคำสั่งแล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น
เมื่อทำเสร็จแล้วจึงทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป เช่น ตัวแปลภาษาโลโก้
3. แอสเซมเบลอร์ (assembler) เป็นโปรแกรมแปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง
- โปรแกรมแปลภาษาคอมพิวเตอร์
- โปรแกรมอรรถประโยชน์