เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พันธุ์รับรอง
กรมวิชาการเกษตร
พันธุ์ : พันธุ์แท้นครสวรรค์ 1
วันที่รับรอง : 02 กุมภาพันธ์ 2543
ประเภทพันธุ์ : ขึ้นทะเบียน
เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ มีชื่อเดิมว่า
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ Nei 9008
ดำเนินการคัดเลือกโดยการผสมตัวเองจากประชากร (DA9-1(S)-7-3xSW1(S)C9)F2
ในสภาพการก่อให้เกิดโรคราน้ำค้าง จนกระทั่งสามารถคัดเลือกข้าวโพดสายพันธุ์
(DA9-1(S)-7-3xSW1(S)C9)-S5-177 ซึ่งมีสมรรถนะการผสมสูง ต้านทานโรคราน้ำค้าง
และทนทานต่อการหักล้ม ต่อมาตั้งชื่อเป็น Nei 9008
ลักษณะดีเด่น :
1. ให้ผลผลิต 610 กิโลกรัมต่อไร่
2. มีความต้านทานโรคราน้ำค้าง
พันธุ์ : พันธุ์แท้นครสวรรค์ 2
วันที่รับรอง : 02 กุมภาพันธ์ 2543
ประเภทพันธุ์ : ขึ้นทะเบียน
เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ มีชื่อเดิมว่า
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ Nei 9202
ดำเนินการคัดเลือกโดยการผสมตัวเองจากประชากร Pop.28(HS)C5 ในสภาพการก่อให้
เกิดโรคราน้ำค้าง จนกระทั่งสามารถคัดเลือกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Pop.28(HS)C5-S5-129
ซึ่งมีสมรรถนะการผสมสูงต้านทานโรคราน้ำค้างและทนทานต่อการหักล้มต่อมาตั้งชื่อเป็น
Nei 9202
ลักษณะดีเด่น :
1. ให้ผลผลิต 343 กิโลกรัมต่อไร่
2. มีความต้านทานโรคราน้ำค้าง
พันธุ์ : ลูกผสมสามทางสุวรรณ 2602 (มก.)
วันที่รับรอง : 29 ธันวาคม 2529
ประเภทพันธุ์ : พันธุ์รับรอง
เป็นข้าวโพดลูกผสมให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 995 กก./ไร่ ( ผลจากการเปรียบเทียบพันธุ์ ในท้องถิ่นต่าง ๆ เป็นเวลา 3 ปี ) มีลักษณะทางเกษตรกรรมที่ดี สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างกว้างขวางในแหล่งปลูกข้าวโพดต่าง ๆ ของประเทศไทย ลักษณะเมล็ดสีส้มเหลือง หัวแข็ง
พันธุ์ : ลูกผสมสามทางสุวรรณ 3101(มก.)
วันที่รับรอง : 01 กุมภาพันธ์ 2534
ประเภทพันธุ์ : พันธุ์รับรอง
ประวัติ : ได้มาจากการผสมพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์แท้เกษตรศาสตร์เบอร์ 27
และ28 เป็นพันธุ์ ที่รวมตัวสูงต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง กับสายพันธุ์แท้เกษตรศาสตร์
เบอร์ 21 มีเชื้อพันธุ์ จากต่างประเทศสูงมาก
และต้านทานต่อโรคราน้ำค้างทำการคัดเลือกตามขั้นตอนการปรับ ปรุงพันธุ์ตั้งแต่ปี 2529
- 2532 พบว่าให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์รับรองที่มีอยู่
ลักษณะทางการเกษตร :
- ผลผลิตเฉลี่ยจาก 95 การทดลองใน 4 ปี ได้ 1,049 กิโลกรัมต่อไร่
- จำนวนวันออกไหม ( 50 )% 51 วัน
- ความสูงของต้น 209 เซนติเมตร
- ความสูงของฝัก 123 เซนติเมตร 5. จำนวนต้นหักล้ม 8.0 เปอร์เซ็นต์
- โรคทางใบ (1-5) 1.8 เปอร์เซ็นต์
- จำนวนต้นเป็นโรคราน้ำค้าง 4.6 เปอร์เซ็นต์
- จำนวนต้นที่เปลือกหุ้มฝักไม่มิดชิด 3.5 เปอร์เซ็นต์
- จำนวนฝักเน่า 8.5 เปอร์เซ็นต์ 10. จำนวนฝักต่อต้น 100.0 เปอร์เซ็นต์
- ความชื้นเมล็ด 27.5 เปอร์เซ็นต์ 12. เปอร์เซ็นต์เปลือกกระเทาะ 78 เปอร์เซ็นต์
- สีและชนิดของเมล็ดสีเหลืองส้มกึ่งหัวแข็ง 14. สีของซังขาว
ลักษณะดีเด่น :
- ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์สุวรรณ 2602 = 16 % พันธุ์สุวรรณ 1 รอบคัดเลือกที่ 11 = 21 % และพันธุ์สุวรรณ 3 รอบคัดเลือกที่ 4 = 13 %
- มีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตและปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
- มีลักษณะทางการเกษตรอื่น ๆ ได้แก่ ความสูงของต้น จำนวนหักล้ม โรคทางใบ เปลือกหุ้มฝักมิดชิด และเปอร์เซ็นต์กระเทาะดีกว่า พันธุ์สุวรรณ 2602 สุวรรณ 1 และสุวรรณ 3
พันธุ์ : สุวรรณ 3 (มก.)
วันที่รับรอง : 09 ธันวาคม 2530
ประเภทพันธุ์ : พันธุ์รับรอง
ประวัติ : ข้าวโพดสุวรรณ 3 (KS4) ได้วิจัยและพัฒนาขึ้นโดยการผสมระหว่าง
สายพันธุ์ S1 จำนวน 30 สายพันธุ์ของพันธุ์สุวรรณ 1 รอบคัดเลือกที่ 8
มาผสมกับสายพันธุ์ S1 จำนวน 20 สายพันธุ์ของสายพันธุ์ เคซี 1แล้วปรับปรุงโดยวิธี S1
recurrent selection ตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ของกรมวิชาการเกษตร
พบว่าพันธุ์นี้ให้ผลผลิตดีกว่าพันธุ์รับรองที่มีอยู่
ลักษณะดีเด่น : ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์สุวรรณ 1 ประมาณ 9 % ( 1,017
กิโลกรัม/ไร่ ) ทนทานต่อ โรคราน้ำค้าง มีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้สูง
และไม่มีข้อจำกัดในแหล่งปลูก ข้าวโพดที่ผ่านการทดสอบ ส่วนในท้องที่ ๆ
ไม่การทดสอบมาก่อนอาจจะมีข้อจำกัดอยู่บ้าง
ลักษณะทางการเกษตร : ลักษณะเมล็ดมีสีส้มเหลือง หัวแข็ง - กิ่งหัวแข็ง
ส่วนลักษณะอื่นๆ ใกล้เคียงกับสุวรรณ 1 เช่น วันออกไหม ความสูงของต้นและฝัก
จำนวนฝักต่อต้น ความชื้นเมล็ดขณะเก็บเกี่ยว เป็นต้น
จัดทำโดย : ดาราวรรณ ทวีศักดิ์บวรกุล