เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
ถั่วแดงหลวง
ถั่วแดงหลวง (Red kidney bean) เป็นพืชตระกูลถั่วที่จัดอยู่ในตระกูล Phasecolus vulgaris L. ซึ่งมักจะนำไปใช้บริโภคใน ลักษณะที่แตกต่างกัน ถั่วแดงหลวงใช้บริโภคเมล็ดแก่ ซึ่งมีรูปร่างคล้ายไต ซึ่งเรียกว่า "Kidney bean" และถ้ามีเมล็ดสีแดงด้วยก็เรียกว่า red kidney bean ถั่วแดงหลวงถูกนำเข้ามาปลูกในประเทศเป็นครั้งแรกโดยโครงการหลวงปี 2516 เพื่อจุดประสงค์ให้ข้าวไทยภูเขาปลูกเป็นพืชทดแทน ฝิ่นและช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินบนที่สูง ปัจจุบันถั่วแดงหลวงได้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของชาวไทยภูเขาและเป็นที่สนใจของเกษตรกรในพื้นที่ราบทั่วไปในเขตภาคเหนือ สำหรับปัญหาการผลิตถั่วแดงหลวงในอดีต คือ
- ปัญหาเรื่องพันธุ์ที่เหมาะสม
- ปัญหาเรื่องการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์
- ปัญหาเรื่องวิธีการเพาะปลูก
- ปัญหาเรื่องโรคและแมลง
ในอดีตพันธุ์ถั่วแดงหลวงที่ใช้ปลูกกันอยู่มีหลายพันธุ์ปะปนกัน
และไม่ทราบประวัติความเป็นมาของพันธุ์ที่แน่นอน โครงการวิจัยได้
ร่วมกับโครงการพัฒนาการผลิตพืชตระกูลถั่วบนที่สูงได้ทำการรวบรวมพันธุ์ถั่วแดงหลวงจากแหล่งต่าง
ๆ เช่น โครงการหลวงหมอกจ๋าม สถานี ขุนวาง สถาบันพืชไร่เชียงใหม่
และจากที่วางจำหน่ายตามท้องตลาด ผลจากการศึกษาพบว่าเมล็ดพันธุ์ที่ได้จากแหล่งต่าง ๆ
นั้นเป็นพันธุ์ เดียวกัน
แต่อย่างไรก็ตาม แหล่งของเมล็ดพันธุ์ที่ในปริมาณที่มากในระยะแรกคือ
เมล็ดพันธุ์จากโครงการหลวงหมอกจ๋ามจากผลการทดสอบพันธุ์ เบื้องต้นพบว่า
ถั่วแดงหลวงพันธุ์หมอกจ๋ามมีศักยภาพในการให้ผลผลิตในสภาพแปลงผลิตสูงถึง 300
กิโลกรัมต่อไร่
จากการพิจารณาลักษณะประจำพันธุ์ที่สำคัญของถั่วแดงหลวง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบลักษณะต่าง ๆ ประกอบแล้วจะเห็นว่าถั่วแดงหลวงพันธุ์ หมอกจ๋าม มีลักษณะที่เหมาะสมหลายประการ เมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์อื่น ๆ ได้แก่ อายุเก็บเกี่ยวสั้นกว่าคือประมาณ 75 วัน เมล็ดมีสีแดงและ รูปร่างเมล็ดเป็นรูปไดต สีไม่ตกเมื่อผ่านขบวนการอุตสาหกรรมกระป๋องถึงแม้ว่าผลผลิตต่ำกว่าพันธุ์อื่น ๆ เล็กน้อย ทางโครงการจึงได้ใช้ เป็นพันธุ์มาตรฐานในการศึกษาเปรียบเทียบพันธุ์ และโครงการหลวงได้ตั้งชื่อพันธุ์ใหม่ว่า "พันธุ์ดอยคำ" ในระยะเวลาต่อมา
ถั่วแดงหลวงพันธุ์ดอยคำ เป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาจากประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อในอดีตน่าจะเป็นพันธุ์ที่เหมาะสม ในปัจจุบันการที่
จะส่งเสริมให้เกษตกรปลูกบนที่สูงภาคเหนือของประเทศไทย สำหรับถั่วแดงหลวงพันธุ์อื่น
ๆ ที่ดีเด่นเข้ามาจากต่างประเทศ ถึงแม้ว่าจะ
ศักยภาพในการให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ดอยคำ
แต่ก็ยังมีข้อเสียซึ่งจะต้องได้รับการปรับปรุงก่อนจึงจะใช้ทดแทนพันธุ์ดอยคำได้
สำหรับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับวิธีการผลิตถั่วแดงหลวงบนที่สูงหลายประการ
ที่จะต้องได้รับการแก้ไขและพัฒนาให้เหมาะสม ได้แก่
จำนวนประชากรที่ใช้ปลูกซึ่งเกี่ยวข้องกับระยะปลูกและจำนวนเมล็ดที่ใช้ปลูกต่อหลุม
ชนิดและอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตช่วง
ระยะเวลาปลูกที่เหมาะสมพื้นที่สูงภาคเหนือและปัญหาโรคแมลง
โครงการวิจัยได้ทำการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ซึ่งในการทดลองใช้ถั่วแดงพันธุ์ดอยคำเป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อจะได้นำข้อมูลไปใช้ใน การส่งเสริมการผลิตถั่วแดงหลวงพันธุ์ดอยคำ และจากการศึกษาจึงสรุปได้ว่า
- ปุ๋ยและอัตราที่เหมาะสม
พบว่าปุ๋ยไนโตรเจนมีบทบาทที่สำคัญในการเพิ่มผลผลิตถั่วแดงหลวง
อัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่เหมาะสม คือ 10 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับปุ๋ย P และ K
มีบทบาทต่อการเพิ่มผลผลิตไม่มากนัก
แต่จะมีบทบาทต่อการติดเมล็ดและคุณภาพของเมล็ดการใช้ ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ
16-20-0 อัตรา 75 กิโลกรัมต่อไร่ จะให้ผลผลิตสูงที่สุด
แต่อัตราที่แนะนำให้เกษตรกรใช้คือ 50 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้เพื่อ
เป็นการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง
- วิธีการเพาะปลูกที่เหมาะสม จากการทดลองที่ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พบว่าระยะระหว่างแถว 50 เซนติเมตร เป็นระยะที่เหมาะสมที่สุดสำหรับในฤดูฝน แต่ถ้าปลูกในฤดูแล้งควรใช้ระยะระหว่างแถว 50 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้นที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 10-20 เซนติเมตร จำนวนเมล็ดที่ใช้ปลูกควรเป็น 2 เมล็ดต่อหลุมเพื่อลดอัตราการเสี่ยงเรื่องความงอก ของเมล็ด
วิธีการเพาะปลูกสามารถปลูกได้ทั้งแบบยกร่อง ไม่ยกร่องหรือแบบยอร่องโดยวิธีพูนโคนหลังงอก ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพของแต่ละพื้นที่ แต่การพูนโคนหรือการปลูกแบบยกร่องจะช่วยป้องกันการหักล้มได้ การเก็บเกี่ยวสามารถเก็บได้ตั้งแต่ถั่วแดงหลวงอายุ 70 วันหลังงอก แต่จะให้ดีควรเป็นระหว่าง 75-80 วัน
จัดทำโดย : ดาราวรรณ ทวีศักดิ์บวรกุล