ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
-
เครื่องดีด
เครื่องสี
เครื่องตี
เครื่องเป่า
เครื่องตี
เครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ
ฆ้อง
ตัวฆ้องทำด้วยโลหะแผ่นรูปวงกลมตรงกลางทำเป็นปุ่มนูน เพื่อใช้รองรับการตีให้เกิดเสียงเรียกว่า ปุ่มฆ้อง ต่อจากปุ่มเป็นฐานแผ่ออกไป แล้วงองุ้มลงมาโดยรอบเรียกว่า "ฉัตร" ส่วนที่เป็นพื้นราบรอบปุ่มเรียกว่า "หลังฉัตร" หรือ " ชานฉัตร" ส่วนที่งอเป็นขอบเรียกว่า "ใบฉัตร" ที่ใบฉัตรนี้จะมีรูเจาะสำหรับร้อยเชือกหรือหนังเพื่อแขวนฆ้อง ถ้าแขวนตีทางตั้งจะเจาะสองรู ถ้าแขวนตีทางนอนจะเจาะสี่รู
ฆ้องใช้ในการบรรเลงได้สองลักษณะคือ ใช้ตีกำกับจังหวะ และใช้ตีดำเนินทำนอง ฆ้องที่ใช้ตีกำกับจังหวะได้แก่ ฆ้องหุ่ย หรือฆ้องชัย ฆ้องโหม่ง ฆ้องเหม่ง ฆ้องระเบ็ง และฆ้องคู่
ฆ้องที่ใช้ตีดำเนินทำนอง ได้แก่ ฆ้องราง ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องมโหรี ฆ้องมอญ ฆ้องกะแตและฆ้องหุ่ย หรือฆ้องชัย
ฆ้องกะแต ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ ลูกฆ้องมีขนาดเล็ก จำนวน 11 ลูก
ฆ้องคู่ ใช้ตีกำกับจังหวะ ชุดหนึ่งมีสองสูก ลูกใหญ่ให้เสียงต่ำ
ลูกเล็กให้เสียงสูง ไม้ตีทำด้วย แผ่นหนังวัว หรือหนังควายตัดเป็นวงกลม
เจาะรูตรงกลางใส่ก้านไม้
ฆ้องมโหรี เป็นฆ้องวงที่ใช้บรรเลงในวงมโหรีโดยเฉพาะ มีอยู่สองขนาด
คือฆ้องวงใหญ่มโหรีและฆ้องวงเล็กมโหรี ฆ้องวงใหญ่มโหรีเดิมมีลูกฆ้อง 17 ลูก
ต่อมานิยมใช้ 18 ลูก
ฆ้องวงใหญ่มโหรี
ฆ้องวงเล็กมโหรี
ฆ้องมอญ
เป็นฆ้องวงที่ตั้งโค้งขึ้นไปทั้งสองข้าง ไม่วางราบเหมือนฆ้องไทย มีลูกฆ้อง 15 ลูก
ใช้บรรเลงใน วงปีพาทย์มอญ ตัวรางประดิษฐ์ตกแต่งงดงาม
ฆ้องมอญวงใหญ่
ฆ้องมอญวงเล็ก
ฆ้องระเบ็ง ใช้ตีประกอบการและแสดงระเบ็ง ชุดหนึ่งมีสามลูก มีขนาดและให้เสียงสูง-ต่ำ ต่างกัน มีชื่ออีกอย่างหนึ่งตามลักษณะว่า "ฆ้องราว"
ฆ้องราง ใช้ตีดำเนินทำนอง ชุดหนึ่งมี 7-8 ลูก เสียงลูกที่ 1 กับลูกที่ 8
เป็นเสียงเดียวกัน แต่ต่างระดับเสียง ปัจจุบันไม่มีการใช้ในวงดนตรีไทย
ฆ้องวง ใช้ตีดำเนินทำนอง เสียงต่ำอยู่ทางซ้าย เสียงสูงอยู่ทางขวาของผู้ตี
ฆ้องวงใหญ่ มีลูกฆ้อง 16 ลูก ลูกเสียงต่ำสุดเรียกว่า ลูกทวน
ลูกเสียงสูงสุดเรียกว่า ลูกยอด ไม้ที่ใช้ตีมีสองอัน ผู้ตีถึงไม้ตีมือละอัน
ฆ้องวงเล็ก มีลูกฆ้อง 18 ลูก
สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ใช้บรรเลงร่วมในวงปีพาทย์
มีหน้าที่เก็บ สอด แทรก ฯลฯ
ฆ้องหุ่ย ใช้ตีกำกับจังหวะ เป็นฆ้องที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในวงดนตรีไทย
มีอีกชื่อว่า ฆ้องชัย อาจเป็นเพราะสมัยโบราณ ใช้ฆ้องชนิดนี้ตีเป็นสัญญาณในกองทัพ
ปัจจุบันใช้ตีใน งานพิธี งานมงคลต่าง ๆ
ฆ้องเหม่ง ใช้ตีกำกับจังหวะ ขนาดเล็กกว่า ฆ้องโหม่ง
ได้ชื่อนี้ตามเสียงที่เกิดจากการตี
ฆ้องโหม่ง ใช้ตีกำกับจังหวะ มีขนาดใหญ่ รองลงมาจากฆ้องหุ่ย
ได้ชื่อนี้ตามเสียงที่เกิดจากการตี
ฉาบ
เป็นเครื่องตีกำกับจังหวะ ทำด้วยโลหะ รูปร่างคล้ายฉิ่ง แต่มีขนาดใหญ่กว่าและหล่อบางกว่า มีสองขนาด ขนาดใหญ่กว่าเรียกว่า ฉาบใหญ่ ขนาดเล็กกว่า เรียกว่า ฉาบเล็ก การตีจะตีแบบประกบ และตีแบบเปิดให้เสียงต่างกัน
ฉาบใหญ่
ฉาบเล็ก
ฉิ่ง
เป็นเครื่องตีกำกับจังหวะ ทำด้วยโลหะ หล่อหนา รูปร่างกลม เว้ากลาง ปากผาย
คล้ายฝาขนมครกไม่มีจุก สำรับหนึ่งมีสองฝาเจาะรูตรงกลางที่เว้า
สำหรับร้อยเชือกโยงฝาทั้งสอง เพื่อสะดวกในการถือตี ฉิ่งมีสองขนาด
ขนาดใหญ่ใช้ประกอบวงปีพาทย์ ขนาดเล็กใช้กับวงเครื่องสายและมโหรี
กังสดาล
เป็นระฆังวงเดือน หล่อจากสัมฤทธิ์ หรือทองเหลือง ด้านบนเจาะรูไว้แขวน
ใช้เป็นเครื่องตีบอกสัญญาณ ของพระสงฆ์ในสมัยโบราณ และใช้ประกอบ
การบรรเลงดนตรีในบางโอกาส
มโหระทึก
เป็นกลองหน้าเดียว หล่อด้วยโลหะทั้งลูก มโหระทึกมีมาตั้งแต่ยุคโลหะตอนปลาย ซึ่งตกประมาณ 2000ปีมาแล้ว มีพบในหลายประเทศในสุวรรณภูมิ ตัวกลองมีหน้ากลองแบนกว้าง บริเวณตรงกลางหน้ากลองนิยมทำเป็นรูปดาวและมีลวดลายอื่น ๆ ประกอบ ด้านข้างตัวกลางมักจะหลักลวดลายต่าง ๆ ฐานกลองเป็นทรงกระบอกกลวง
ในการตีจะวางมโหระทึก ตั้งเอาหน้ากลองขึ้น ใช้ไม้ตีสองอัน ทำด้วยไม้รวกหรือไม้เนื้อแข็งเหลากลม ปลายที่ใช้ตี พันด้วยผ้าให้แน่นแล้วผูกเคี่ยนหรือถักด้วยเส้นด้าย
ชาวไทยใช้มโหระทึกมาแต่โบราณ มีกล่าวถึงในสมัยสุโขทัย ใช้ตีในเทศกาล งานรื่นเริง สมัยอยุธยามีกำหนดให้ตีมโหระทึก ในงานพระราชพิธี สมัยรัตนโกสินทร์ ใช้ประโคมร่วมกับแตร สำหรับพระราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ ในการเสด็จออก ขุนนางในงานพระราชพิธีและรัฐพิธี ใช้บรรเลงร่วมกับกลองชนะใน งานเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวน พยุหยาตราทางชลมารค และในกระบวนอื่น ๆ นอกจากนั้นยังโปรดเกล้าฯ เป็นการพิเศษแก่วัดสามวัด ให้มีการประโคมมโหระทึกของ พระภิกษุสงฆ์ทำวัตรสวดมนต์ คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดบวรนิเวศวิหาร และวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
เครื่องตีที่ทำด้วยไม้
เครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ
เครื่องตีที่ทำด้วยหนัง