สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
การจูงใจ
(Motivation)
การจูงใจ คือ
การที่มีสิ่งกระตุ้นมาทำให้เรามีความพยายามในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่เราได้วางไว้
การจูงใจเป็นสิ่งที่ทำให้คนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์
องค์ประกอบของกระบวนการจูงใจ
สิ่งจูงใจ เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่เป็นการจูงใจให้คนทำงานมากขึ้น ปัจจัยในการที่ทำให้บุคคลในองค์กรเกิดความพึงพอใจมีอยู่ 5 ประเภท
1. ความมีอำนาจ (power)
2. ความสำเร็จ (achievement)
3. การมีส่วนร่วม (participation/affiliation)
4. ความมั่นคง (security)
5. สถานภาพ (status)
ทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้น
ทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้น ซึ่งรู่จักกันในชื่อว่าทฤษฎีความต้องการของ Maslow เป็นทฤษฎีที่แบ่งความต้องการของมนุษย์เป็น 2 ระดับ คือความต้องการในระดับต่ำ และความต้องการในระดับสูง โดยที่มนุษย์มีความต้องการในระดับหนึ่งแล้วความต้องการนั้นได้รับการตอบสนองแล้ว มนุษย์ก็จะมีความต้องการในระดับสูงขึ้นต่อไปจนถึงความต้องการในระดับที่สูงที่สุด
ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์ มี 5 ลำดับขั้น
1. ความต้องการทางด้านร่างกาย (physical need) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานที่แต่ละบุคคลมีอยู่ในตัวเอง เช่น อาหาร น้ำ ที่อยู่อาศัย การพักผ่อน เป็นต้น
2. ความต้องการความปลอดภัย (safety need) เป็นความต้องการที่แต่ละบุคคลต้องการที่จะปราศจากอันตรายทางกายและความกลัวที่จะสูญเสียงาน
3. ความต้องการทางสังคม (social need) คือการมีเพื่อนร่วมงานที่มีความเป็นมิตร มีความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน
4. ความต้องการการยกย่อง (esteem need) คือการมีความรับผิดชอบงานที่มีความสำคัญสูง ได้รับคภชมเชย และการยอมรับจากหัวหน้างาน และได้เลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงานท่มีสถานภาพสูงขึ้น
5. ความต้องการความสำเร็จในชีวิต (self-actualization need) ได้แก่ลักษณะการทำงาจนที่มีความยืดหยุดและมีอิสระสูง การให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และงานมีความริเริ่มสร้างสรรค์
หลักและเทคนิกของการจูงใจ
การศึกษาทฤษฎีการจูงใจจะทำให้ทราบว่า เทคนิคการจูงใจอะไรบ้างที่ผู้บริหารสามารถนำไปใช้ได้ ในขณะที่การจูงใจมีความสลับซับซ้อนและไม่มีคำตอบที่ดีที่สุดเพียงคำตอบเดียว เทคนิกการจูงใจที่สำคัญประกอบด้วย
1. เงิน (money)
2. การมีส่วนร่วม (participation)
3. คุณภาพชีวิตในการทำงาน (quality of working life)
รูปแบบของทฤษฎีการเสริมแรง
เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์ที่เปลี่ยนไปเนื่องมาจากแรงจูงใจ การเสริมแรงจูงใจเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากผลของการกระทำซึ่งแบ่งออกเป็น 4 อย่าง คือ
1. การเสริมแรงจูงใจในทางบวก (positive reinforcement) เป็นการเสริมแรงจูงใจเพื่อเพิ่มพฤติกรรมที่ต้องการ โดยการให้รางวัล หรือผลตอบแทนในสิ่งที่บุคคลเหล่านั้นต้องการ เช่น การกล่าวคำขอบคุณ การให้คำชื่นชม เป็นต้น
2. การเสริมแรงจูงใจในทางลบ (negative reinforcement) บางครั้งเรียกว่า การหลีกเลี่ยงเป็นการเรียนรู้ถึงวิธีปฎิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงเป็นการเรียนรู้ถึงวิธีการปฎิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงผลลัพธ์ที่ไม่น่าพึงพอใจ เช่น ทำงานให้เสร็จก่อนกำหนดเพื่อหลีกเลี่ยงการตำหนิจากหัวหน้างาน
3. การเพิกเฉย (extinction) เป็นการเสริมแรงจูงใจเพื่อลดพฤติกรรมที่ทำบ่อยๆ หรือทำให้พฤติกรรมนั้นหมดไป โดยการไม่ให้รางวัลหรือผลตอบแทน เช่น เมื่อเห็นว่าคนๆหนึ่งมีพฤติกรรมไม่ถูกต้องแต่ยังได้รับการยอมรับจากกลุ่มทำงาน ต้องปรึกษากับกลุ่มเพื่อให้หยุดการยอมรับต่อพนักงานคนนั้น
4. การลงโทษ (punishment) เป็นการลดพฤติกรรมเนื่องจากได้ผลลัพธ์ที่ไม่พึงพอใจ เช่น การลดตำแหน่ง การลดอำนาจที่ดี การลดเงินเดือนเป็นต้น
การจูงใจกับค่าตอบแทน
การจูงใจโดยให้ผลตอบแทนแก่พนักงานจะทำให้พนักงานมีแรงจูงใจในการทำงาน พนักงานจะไม่ทำงานหากไม่ได้รับผลตอบแทนจากการทำงาน ถ้าพนักงานได้รับผลตอบแทนต่ำพนักงานก็จะทำงานให้เราไม่เต็มที่ พนักงานจะขยันและทุ่มเทให้กับงานหากระบบค่าตอบแทนดี
รางวัลตอบแทน มี 2 อย่างคือ
1. รางวัลตอบแทนภายนอก (Extrinsic Reward)
เป็นค่าตอบแทนที่ได้จากบุคคลอื่นโดยทั่วไปก็คือจากผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารระดับสูง เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง ใบประกาศเกียรติคุณ คำชมเชย เป็นต้น
2. รางวัลตอบแทนภายใน (Intrinsic Reward)
เป็นผลตอบแทนที่เกิดขึ้นภายในตัวเอง เช่น ตัวเองมีความสามารถสูงขึ้น ตัวเองเก่งขึ้น มีความรู้มากขึ้น ภาคภูมิใจกับการทำงานที่ตนเองทำขึ้น เป็นต้น
ที่มา : Nart Chantawong, Knowledge Management Increasing Learning Ability: A View of Knowledge Management