สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
การพัฒนาอาชีพ
การพัฒนาอาชีพ หมายถึง การพัฒนาทักษะอาชีพด้านต่าง ๆ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด การพัฒนาอาชีพมีความสำคัญใน
ด้านเศรษฐกิจ มีการพัฒนาสินค้าให้สามารถให้สามารถเข้าสู่ตลาดการแข่งขัน และเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ
ด้านสังคม ประเทศที่มีเศรษฐกิจดีจะส่งผลให้สภาพของสังคมดีขึ้น ด้านการศึกษา ครอบครัวที่มีเศรษฐกิจดีจะสามารถมุ่งส่งบุตรหลานเข้ารับการศึกษาได้ตามความต้องการการพัฒนาอาชีพจึงมีความจำเป็นในการพัฒนากระบวนการผลิต และ กระบวนการตลาดโดยการนำภูมิปัญญานวัตกรรม / เทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้
กระบวนการผลิต เป็นการบริหารจัดการด้านทุน แรงงาน ที่ดินหรือสถานที่ให้เกิดผลผลิต ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
กระบวนการตลาด เป็นการบริหารจัดการด้านการตลาด เริ่มตั้งแต่การศึกษาความต้องการของลูกค้า การกำหนดเป้าหมาย การทำแผนการตลาด การส่งเสริมการขาย การกำหนดราคาขาย การขาย การส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า เพื่อนำข้อมูลมาใช้พัฒนาอาชีพ
ภูมิปัญญา หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ความชาญฉลาด อันเกิดจากพื้นความรู้ที่ผ่านกระบวนการสืบทอด ปรับปรุง พัฒนา สะสมมาเป็นเวลานานอย่างเหมาะสม
นวัตกรรม หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ หรือเป็นการพัฒนา มาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว
เทคโนโลยี หมายถึง
สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ
ต้องพิจารณาประสิทธิภาพของนวัตกรรม / เทคโนโลยี ดูจากองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ
1. ความสามารถในการทำงาน
2. ประหยัดค่าใช้จ่าย
3. ทำงานได้รวดเร็ว
4. ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
ความพร้อมในการพัฒนาอาชีพ
การพัฒนากระบวนการผลิต กระบวนการตลาด
การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม/เทคโนโลยี
จำเป็นที่ผู้ประกอบการอาชีพต้องศึกษาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้เฉพาะเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการพัฒนาอาชีพ
จำเป็นจะต้องรู้จักเลือกใช้แหล่งที่เอื้อต่อการพัฒนาอาชีพได้แก่ แหล่งเรียนรู้
แหล่งเงินทุน แหล่งวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักร แหล่งงาน
ตลาดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างหลากหลาย
สำหรับการประกอบอาชีพจำเป็นต้องมีการศึกษา วิเคราะห์
ให้เป็นไปตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผู้ประกอบการอาชีพจำเป็นต้องพัฒนาตนเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่หาประสบการณ์ เพื่อความสำเร็จในงานอาชีพ
การฝึกทักษะเพื่อพัฒนาอาชีพ
ก่อนที่จะฝึกทักษะเพื่อพัฒนาอาชีพจะต้องวางแผนการฝึกว่าจะฝึกอย่างไร
ที่ไหน เมื่อไร วิเคราะห์ทักษะที่จำเป็นและต้องฝึกอย่างถี่ถ้วน
ให้ครอบคลุมทักษะที่ต้องการฝึกและมองเป็นภาพรวมของการพัฒนาอาชีพทั้งระบบ และ
สามารถวางแผนในการเลือกสถานที่ฝึกและวิธีการฝึกได้เมื่อได้มีแผนการฝึกทักษะเพื่อพัฒนาอาชีพแล้ว
ต้องดำเนินการฝึกทักษะอาชีพตามแผนที่กำหนดไว้
ควรมีการบันทึกองค์ความรู้เก็บไว้ศึกษาและเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้วต้องได้ความรู้เพิ่มขึ้น
การทำแผนธุรกิจเพื่อการพัฒนาอาชีพ
การทำแผนธุรกิจเป็นการกำหนดแนวทางในการประกอบอาชีพไว้ล่วงหน้า โดยผ่านกระบวนการระดมความคิดจากการวิเคราะห์ชุมชนแล้วนำมากำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ในการดำเนินงาน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายของแผนธุรกิจนั้น การวิเคราะห์ชุมชน เพื่อให้ทราบถึงประเด็นปัญหา และความต้องการที่แท้จริงของชุมชนด้วยการศึกษาและรวบรวมข้อมูลชุมชน โดยวิธีการกลุ่ม ให้สมาชิกทุกคนได้มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เทคนิค SWOT
(SWOT Analysis)
S (Strengths) จุดแข็งหรือจุดเด่นของชุมชน
W (Weaknesses) จุดอ่อนหรือข้อด้อยของชุมชน
O (Opportunities) โอกาสที่จะสามารถดำเนินการได้
T (Threats) อุปสรรคหรือปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงของชุมชนที่ควรหลีกเลี่ยงในการปฏิบัติ
วิสัยทัศน์ เป็นการกำหนดภาพในการประกอบอาชีพในอนาคต มีความเป็นไปได้เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจในที่สุด
พันธกิจ คือ ภาระงานที่ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการให้เกิดผลสำเร็จ การวิเคราะห์พันธกิจ สามารถตรวจสอบว่าพันธกิจใดควรทำก่อนหรือหลัง
เป้าหมายหรือเป้าประสงค์ เป้าหมายในการพัฒนาอาชีพ อาจกำหนดไว้เป็นระยะสั้นหรือระยะยาวก็ได้ เพราะจะส่งผลในการปฏิบัติได้ดียิ่งขึ้นกลยุทธ์ในการวางแผนพัฒนาอาชีพ ให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ว่าไว้ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาอาชีพให้มีประสิทธิภาพและมีความก้าวหน้าได้ในอนาคตการวางแผนปฏิบัติการเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำแผนธุรกิจโดยจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ระยะเวลา และผู้รับผิดชอบ โดยผู้เรียน และผู้นำชุมชน ต้องช่วยกันกำหนด
การจัดการความเสี่ยง
เป็นการวิเคราะห์ศักยภาพและการจัดการเกี่ยวกับผลการดำเนินงานที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมีสิ่งใดบ้างที่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการประกอบอาชีพ จะได้จัดการแก้ไขความเสี่ยงเหล่านั้น เพื่อพัฒนาอาชีพให้มั่นคง ความเสี่ยงหมายถึง เหตุการณ์หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน การลงทุนใดที่ไม่แน่นอนในอัตราผลตอบแทนสูงความเสี่ยงก็จะสูงตาม การจัดการความเสี่ยงเป็น กระบวนการในการวิเคราะห์ ประเมิน ดูแลตรวจสอบและควบคุมความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับกิจกรรมหน้าที่และกระบวนการทำงาน เพื่อให้งานลดความเสียหายมากที่สุด ผลความเสี่ยงอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจที่ขาดทุน ต่อความล้มเหลวของนโยบายหรือโครงการ และ ต่อความเชื่อถือไว้วางใจ ผู้ประกอบการต้องศึกษาว่าปัจจัยอะไรที่มีผลกระทบต่อความเสี่ยงเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการทำให้ได้เห็นภาพรวมของความเสี่ยงทั้งหมด การบริหารจัดการความเสี่ยงที่เป็นระบบจะต้องได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกคน ผู้บริหารจะต้องสร้างความเข้าใจให้ตระหนักถึงภัยวิกฤต ความเสี่ยงต้องทำเป็นประจำอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ มีรูปแบบที่ชัดเจน
การจัดการการผลิตและบริการ
ผู้ประกอบอาชีพต้องมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องการจัดการ การผลิตและการบริการเป็นอย่างดี ดำเนินงานตามขั้นตอนต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องทำให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจบนแนวคิดพื้นฐานว่าเมื่อกระบวนการดีผลลัพธ์ที่ออกมาก็จะดีตาม การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการผลิตเป็นการพัฒนาความสามารถของมนุษย์ ในการแก้ปัญหาและสนองความต้องการอย่างสร้างสรรค์ ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในกิจกรรมต่างๆ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สามารถทำงานได้เร็วขึ้น ได้ปริมาณมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการใช้แรงงานคน ใครนำเทคโนโลยีมาใช้ก่อนคนอื่น ถือว่าเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งที่จะทำให้ประสบความสำเร็จก่อนคู่แข่ง การดำเนินธุรกิจให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ต้องมีระบบควบคุม การจัดการการผลิตและการบริการ ระบบการควบคุมที่นิยมใช้มาก ได้แก่วงจรควบคุม PDCA (Deming Cycle) มีรายละเอียด ดังนี้
P (Planting) การวางแผน
D (Do) การปฏิบัติ
C (Check) การตรวจสอบ
A (Action) การปรับปรุงแก้ไขและตั้งมาตรฐานในการทำงาน
การจัดการการตลาด
การจัดการการตลาดมีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจ จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถเข้าใจในการตลาด สามารถศึกษาวิเคราะห์ตลาด ก่อนตัดสินใจลงทุน เพื่อจะได้ดำเนินธุรกิจไปในทิศทางที่ถูกต้อง การจัดการการตลาดเป็นการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ด้านธุรกิจต้องมีการวางแผนการผลิต การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การวิจัยตลาด การส่งเสริมการขาย การทำข้อมูลฐานลูกค้า การกระจายสินค้า การกำหนดราคา การจัดจำหน่าย เพื่อสนองความต้องการ และบริการให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคพอใจทั้งในเรื่องราคาและบริการ
การขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาธุรกิจ
การขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาธุรกิจมุ่งเน้นการส่งเสริมการแก้ปัญหา การแสวงหาความรู้ การบริหารจัดการทรัพยากร พัฒนาชุมชน และ การจัดทำแผนและ การขับเคลื่อนแผน ด้วยกระบวนการผลิต วิเคราะห์ จนบรรลุความเข้มแข็งยั่งยืนเศรษฐกิจพอเพียงและมีการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่ดีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแผนพัฒนาอาชีพ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นว่าแผนพัฒนาอาชีพมีทิศทางการพัฒนาถูกต้องมีความเป็นไปได้สูง การพัฒนาอาชีพของชุมชน สิ่งสำคัญที่ต้องวิเคราะห์คือความสามารถของชุมชน เกี่ยวกับความรู้ การผสมผสานความชำนาญและเทคโนโลยีการผลิตที่หลากหลายเข้าด้วยกัน การทำแผนธุรกิจ มีขั้นตอนที่สำคัญ 8 ขั้นตอน คือ
1. กำหนดแผนการจัดทำธุรกิจ
2. การพัฒนาวิสัยทัศน์ของชุมชนและรายครัวเรือน
3. การกำหนดค่านิยมของชุมชนและรายครัวเรือน
4. การกำหนดพันธกิจของชุมชนและรายครัวเรือน
5. กำหนดนโยบาย
6. การวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชน
7. การกำหนดกลยุทธ์ของชุมชน
8. การกำหนดแผนปฏิบัติการ
โครงการพัฒนาอาชีพ
โครงการพัฒนาอาชีพเป็นการจัดกิจกรรมเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ เป็นวิธีการบริหารจัดการที่ดี ทำให้เกิดความชัดเจนมีเหตุผล เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน เพื่อพัฒนากิจกรรมให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป ในการเขียนโครงการ ต้องมีการเตรียมข้อมูลให้พร้อมก่อนการเขียนโครงการ การเขียนโครงการพัฒนาอาชีพ มีรายการที่ต้องจัดทำข้อมูลและรายละเอียด คือ
1. ชื่อโครงการ
2. หลักการและเหตุผล
3. วัตถุประสงค์
4. เป้าหมาย
5. วิธีดำเนินการ
6. ระยะเวลาในการดำเนินงาน
7. งบประมาณ
8. เครือข่าย
9. การประเมินผลและรายงานผลโครงการ
10. ผู้รับผิดชอบโครงการ
11. ความสัมพันธ์กับโครงการอื่น
12. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
เมื่อจัดทำโครงการเรียบร้อยแล้ว ควรต้องจัดทำแผนปฏิบัติการโดยนำขั้นตอนที่ระบุไว้ในวิธีการดำเนินการมาจัดทำ การรายงานผลเป็นการสรุปจากผลการประเมินว่าเป็นไปตามโครงการหรือไม่ เพื่อหาแนวทางแก้ไข และส่งเสริมให้การปฏิบัติงานตามโครงการนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การประเมินผลโครงการ ควรทำการประเมินด้านคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งจะมีผลต่อความมั่นคงของอาชีพในระยะยาวด้วย