สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ความรู้เรื่องกฎหมาย

กฎหมายเกี่ยวกับการจราจรทางบก

พระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 5 พ.ศ. 2538

การจราจร มีบัญญัติอยู่ใน “พระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522” (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 5 พ.ศ. 2538) ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีหลักการและวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการใช้ถนนหรือทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อสงวนไว้ซึ่งชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลที่ต้องเดินทางเป็นกฎหมายที่มีโทษทางอาญา ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะต้องรับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ กฎหมายเกี่ยวกับการจราจรจึงเป็นกฎหมายที่สำคัญยิ่งในปัจจุบันและเป็นกฎหมายใกล้ตัวที่เกี่ยวข้องกับชุมชนที่ทุกคนควรรู้และนำไปปฎิบัติ คำอธิบายนี้จะหยิบยกมาเฉพาะเรื่องที่น่ารู้ และการปลูกจิตสำนึกในการปฏิบัติตามกฎจราจรเป็นสำคัญ

1. สัญญาณจราจรและเครื่องหมายจราจร

(1) สัญญาณ หมายความว่า สัญญาณใด ๆ ไม่ว่าจะแสดงด้วยธงไฟ ไฟฟ้า มือ แขน เสียง นกหวีด หรือด้วยวิธีอื่นใด สำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนจูง ขี่ หรือ ไล่ต้อนสัตว์ ปฏิบัติตามสัญญาณนั้น เช่น สัญญาณไฟเขียว ไฟแดง เป็นต้น

(2) เครื่องหมายจราจร หมายความว่า เครื่องหมายใด ๆ ที่ได้ติดตั้งไว้หรือทำให้ปรากฎในเสียสุขภาพให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง หรือไล่ต้อนสัตว์ปฏิบัติตามเครื่องหมายนั้น เช่น เครื่องหมายห้ามเลี้ยวซ้าย ห้ามเลี้ยวขวา ห้ามกลับรถ หรือห้ามจอด เป็นต้น

2. สภาพรถและแผ่นป้ายทะเบียนรถ

(1) ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง หรืออาจเกิดอันตรายหรืออาจทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ผู้ใช้ คนโดยสาร หรือประชาชนใช้ในทางเดินรถ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

(2) ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่มิได้ติดแผ่นป้ายเลขทะเบียน แผนป้ายเครื่องหมายเลขทะเบียน หรือ ป้ายประจำรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยการขนส่ง กฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน กฎหมายว่าด้วยรถลาก หรือกฎหมายว่าด้วยรถจ้าง มาใช้ในทางเดินรถ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

3. การขับรถ ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

(1) ในการขับรถ ผู้ขับขี่ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้ายและต้องไม่ล้ำกึ่งกลางของทางเดินรถ เว้นแต่กรณีต่อไปนี้ให้เดินทางขวาหรือล่ำกึ่งกลางของทางเดินรถได้

ก. ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวางหรือปิดการจราจร
ข. ทางเดินรถนั้นเจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว
ค. ทางเดินรถนั้นกว้างไม่ถึง 6 เมตร

ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีความผิดต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 200 บาท ถึง 500 บาท

(2) รถที่มีความเร็วช้าหรือต่ำกว่าความเร็วของรถคันอื่นที่ขับในทิศทางเดียวกัน ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ใกล้ขอบทางเดินรถด้านซ้ายเท่าที่จะกระทำได้

รถบรรทุก รถบรรทุกโดยสาร รถจักรยานยนต์ในทางเดินรถซึ่งได้แบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไปหรือได้จัดช่องเดินรถประจำทางด้านซ้ายไว้โดยเฉพาะ ต้องขับรถในช่องเดินรถด้านซ้านสุดหรือใกล้เคียงกับช่องเดินรถประจำทางแล้วแต่กรณี ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีความผิดต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 400 บาท ถึง 1,000 บาท

4. ใบอนุญาตขับรถ

ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตขับรถ และต้องมีใบอนุญาตขับรถและสำเนาภาพถ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถในขณะขับเพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานได้ทันที การขอใบอนุญาตขับรถนั้น ผู้ขอใบอนุญาตต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด โดยยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่

ผู้ใดขับรถโดยไม่ได้รับอนุญาตขับรถต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 1,000 บาท

5. ผู้ขับขี่และคนโดยสารรถจักรยานยนต์ต้องสวม “หมวกนิรภัย”

ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และคนโดยสารรถจักรยายนต์ ต้องสวมหมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตราย ในขณะขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์ในท้องที่ที่กำหนด ดังต่อไปนี้

(1) ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้มีผลบังคับใช้นับตั้งแต่ 15 ธันวาคม 2535 เป็นต้นไป

(2) ในเขตท้องที่จังหวัดของแก่น ชลบุรี เชียงใหม่ นครปฐม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี พิษณุโลก สงขลา สมุทรปราการ สมุทรสาคร สุราษฎร์ธานี อุดรธานี และอุบลราชธานี ให้มีผลใช้บังคับนับตั้งแต่ 15 กันยายน 2536 เป็นต้นไป

(3) ในเขตท้องที่จังหวัดอื่น นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ให้มีผลใช้บังคับ 15 กันยายน 2537 เป็นต้นไป ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

6. ผู้ขับขี่รถยนต์และคนโดยสารรถยนต์ซึ่งนั่งที่นั่งตอนหน้าต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย

ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 กำหนดให้ผู้ขับขี่รถยนต์ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งในขณะขับขี่รถยนต์ และต้องจัดให้คนโดยสารรถยนต์ ซึ่งนั่งตอนหน้าแถวเดียวกับที่นั่งผู้ขับขี่รถยนต์รัดร่างกายไว้กับที่นั่งด้วยเข็มขัดนิรภัยในขณะโดยสารรถยนต์ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

7. ห้ามมิให้เสพยาบ้า (แอมเฟตามีน) ขณะขับรถ

ห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพหรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีน (ยาบ้า) หรือวัตถุออกฤทธิต่อจิตและประสาทอย่างอื่นที่อธิบดีกรมตำรวจหรือผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติในปัจจุบันกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจจัดให้มีการตรวจสอบทั้งประเภทตามที่กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกาาว่าได้เสพหรือรับเข้าร่างกายด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีน หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อประสาทอย่างอื่นที่กำหนดหรือไม่

ผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ แต่ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 40,000 บาท ถึง 80,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและให้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

8. ห้ามมิให้แข่งรถในทางหรือถนน

ห้ามมิให้ผู้ใดแข่งรถในทางหรือจัดสนับสนุน หรือส่งเสริมให้มีการแข่งรถทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานจราจร

ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่า 1 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่



9. กรณีชนแล้วหนี้

กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิดพิเศษเพิ่มขึ้นอีกกระทงหนึ่งต่างหากกล่าวคือ ถ้าผู้ขับรถโดยประมาทชนคนตายแล้วหลบหนี ผู้นั้นจะต้องรับโทษ 2 กระทง คือ จะต้องรับโทษฐานชนแล้วหนีอีกกระทงหนึ่งรวมเป็น 2 กระทง ความผิดฐานชนแล้วหนีมีหลักเกณฑ์ดังนี้

เมื่อขับรถหรือขี่หรือควบคุมสัตว์แล้วไปทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นความผิดของตนหรือไม่ก็ตามต้องปฏิบัติดังนี้

  1. ต้องหยุดรถหรือสัตว์และให้ความช่วยเหลือตามสมควรทันที
  2. แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันที
  3. ต้องแจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของตน และเลขหมายทะเบียนรถแก่ผู้เสียหายด้วย

ถ้าผู้ขับขี่หรือขี่รถควบคุมสัตว์หลบหนีไป กฎหมายให้สันนิฐานว่าเป็นผู้กระทำความผิดและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดรถจนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือได้ตัวผู้ขับขี่และถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครอง ไม่แสดงตัวต่อเจ้าหน้าที่ภายใน 6 เดือน นับแต่วันเกิดเหตุ ให้ถือว่ารถนั้นเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือเกี่ยวกับการกระทำความผิดและให้ตกเป็นของรัฐ

ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถ้าเป็นกรณีที่บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัสถึงตาย ต้องระวางโทษสูงขึ้น คือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

(1) ทางใดที่มีทางเท้าหรือไหล่ทางอยู่ข้างทางเดินรถ ให้คนเดินเท้าเดินบนทางเท้าหรือไหล่ทาง ถ้าทางนั้นไม่มีทางเท้าอยู่ข้างทางเดินรถให้เดินริมทางด้านขวาของตน
(2) ภายในระยะไม่เกิน 100 เมตรนับจากทางข้ามห้ามมิให้คนเดินเท้าข้ามนอกทางข้าม
(3) คนเดินเท้าซึ่งประสงค์จะข้ามทางเดินรถในทางเข้าที่มีไฟสัญญาณจราจรควบคุมคนเดินเท้า ให้ปฏิบัติตามไฟสัญญาณจราจรที่ปรากฎต่อหน้าดังต่อไปนี้

  • เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟแดง ไม่ว่าจะมีรูปหรือข้อความเป็นการห้ามมิให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินรถด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้คนเดินเท้าหยุดรออยู่บนทางเท้า บนเกาะแบ่งทางเดินรถหรือในเขตปลอดภัย เว้นแต่ทางใดที่ไม่มีทางเท้า ให้หยุดบนไหล่ทางหรือขอบทาง
  • เมื่อมีสัญญาจราจรไฟสีเขียว ไม่ว่าจะมีรูปหรือข้อความเป็นการอนุญาตให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินรถด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินได้
  • เมื่อมีสัญญาจราจรไฟสีเขียวกะพริบทางด้านใดของทาง ให้คนเดินเท้าที่ยังไม่ได้ข้ามทางเดินรถหยุดรอบนทางเท้า บนเกาะแบ่งทางเดินรถหรือในเขตปลอดภัย แต่ถ้ากำลังข้ามทางเดินรถ ให้ข้ามทางเดินรถโดยเร็ว

(4) คนเดินเท้าซึ่งประสงค์จะเดินข้ามทางเดินรถในทางข้าม หรือทางร่วมทางแยกที่มีสัญญาณจราจรควบคุมการใช้ทาง ให้ปฏิบัติดังนี้

  • เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีแดง ให้หยุดรถทางด้านใดของทาง ให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินรถตามที่หยุดนั้น และต้องข้ามทางเดินรถภายในทางข้าม
  • เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟเขียว ให้รถผ่านทางด้านใดของทางห้ามมิให้คนเดิมเท้าข้ามทางเดินรถด้านนั้น
  • เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีเหลืองอำพันหรือไฟสีเขียวกะพริบทางด้านใดของทาง ให้คนเดินเท้าที่ยังไม่ได้เข้าทางเดินรถหยุดรอบนทางเดินบนเกาะแบ่งทางเดินรถหรือในเขตปลอดภัย แต่ถ้ากำลังข้ามทางเดินรถอยู่ในทางข้าม ให้ข้ามทางเดินรถโดยเร็ว

(5) ห้ามมิให้ผู้ใดเดินแถว เดินเป็นขบวนแห่หรือเดินเป็นขบวนใด ๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร เว้นแต่

  • เป็นแถวทหารหรือตำรวจ ที่มีผู้ควบคุมตามระเบียบแบบแผน
  • แถวหรือขบวนแห่หรือขบวนใด ๆ ที่เจ้าพนักงานจราจรได้อนุญาตและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด

กฎหมายรัฐธรรมนูญ
กฎหมายอาญา
กฎหมายแพ่ง
กฎหมายเกี่ยวข้องกับชื่อบุคคล
กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว
กฎหมายเกี่ยวกับการจราจรทางบก
กฎหมายเกี่ยวกับการรับราชการทหาร

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย