วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
โครงสร้างในแนวดิ่ง
ไม่มีขอบเขตของรอยต่อระหว่างบรรยากาศและอวกาศที่แน่ชัด ยิ่งสูงขึ้นไปอากาศยิ่งบาง
แม้ว่าชั้นบรรยากาศที่เราศึกษาจะมีความสูงไม่เกิน 100 กิโลเมตร แต่ทว่าที่ระยะสูง
400 กิโลเมตร
ก็ยังมีอนุภาคของอากาศอยู่มากพอที่จะสร้างแรงเสียดทานให้ดาวเทียมและยานอวกาศเคลื่อนที่ช้าลง
โมเลกุลของอากาศถูกแรงโน้มถ่วงของโลกดึงดูดไว้ให้กองทับถมกัน
ดังนั้นยิ่งใกล้พื้นผิวโลก ก็ยิ่งมีการกดทับของอากาศมาก
เราเรียกน้ำหนักของอากาศที่กดทับลงมานี้ว่า ความกดอากาศ (Air pressure)
ความกดอากาศมีค่าแปรผันตรงกับ ความหนาแน่นของอากาศ (Air density)
ยิ่งความดันอากาศสูง ความหนาแน่นของอากาศก็ยิ่งมาก
ภาพ กราฟความกดอากาศ (ซ้าย) และความหนาแน่นของอากาศ (คอลัมน์ขวา)
- ที่ระดับน้ำทะเลปานกลางมีความกดอากาศ 1013 กรัม/ตารางเซนติเมตร หรือ 1013 มิลลิบาร์
- ที่ระยะสูง 5.6 กิโลเมตร ความกดอากาศจะลดลง 50%
- ที่ระยะสูง 16 กิโลเมตร ความกดอากาศจะลดลงเหลือ 10%
- ที่ระยะสูง 100 กิโลเมตร ความกดอากาศจะลดลงเหลือเพียง 0.00003% แต่สัดส่วนองค์ประกอบของก๊าซแต่ละชนิดก็ยังคงเดิม ณ ความสูงระดับนี้แม้ว่าจะมีอากาศอยู่ แต่ก็มีความหนาแน่นน้อยกว่าสภาวะ สูญญากาศที่มนุษย์สร้างขึ้น
หมายเหตุ:
อุปกรณ์วัดความกดอากาศเรียกว่า บารอมิเตอร์ (Barometer)
มีหน่วยวัดเป็น มิลลิบาร์
มิลลิบาร์ เป็นหน่วยมาตรฐานในการวัดความกดอากาศ
1 มิลลิบาร์ = แรงกด 100 นิวตัน/พื้นที่ 1 ตารางเมตร
นิวตัน
เป็นหน่วยวัดของแรง
1 นิวตัน = แรงที่ใช้ในการเคลื่อนมวล 1 กิโลกรัม ให้เกิดความเร่ง 1
เมตร/วินาที2
กลไกคุ้มครองสิ่งมีชีวิต
กำเนิดของบรรยากาศ
องค์ประกอบของบรรยากาศ
องค์ประกอบผันแปร
โครงสร้างในแนวดิ่ง
ชั้นบรรยากาศ