เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

พลังงานกับคุณภาพชีวิต

เครื่องใช้ไฟฟ้า

โทรทัศน์

ในปัจจุบันเป็นองค์ประกอบหนึ่งของชีวิตประจำวันของมนุษย์ โทรทัศน์เป็นสื่อที่มีความสะดวกและคล่องตัวในการใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมาก ปัจจุบันมีผู้ใช้ โทรทัศน์ขาวดำและโทรทัศน์สี เป็นจำนวนมาก ซึ่งรูปแบบของโทรทัศน์ได้พัฒนาให้สนองตอบความต้องการใช้ของมนุษย์ เช่น การผลิตหน้าจอที่มีขนาดใหญ่ขึ้น การผลิตโทรทัศน์จอแบน เป็นต้น

หลักการใช้

  1. ไม่เปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้โดยไม่มีคนดู
  2. ไม่ปรับจอภาพให้สว่างเกินความจำเป็นเพราะหลอดภาพจะมีอายุการใช้งานสั้น และสิ้นเปลืองไฟ
  3. ไม่เปิดโทรทัศน์ล่วงหน้าเพื่อรอดูรายการที่ชื่นชอบเปิดดูรายการเมื่อถึงเวลาที่ออกอากาศ
  4. ไม่ปิดโทรทัศน์ด้วยตัวรีโมทคอนโทรล เพราะเปลืองไฟ ควรปิดสวิตช์ที่ตัวเครื่อง
  5. ไม่เปิดโทรทัศน์โดยต่อสายผ่านเข้าเครื่องวิดีโอ เพราะต้องสิ้นเปลืองไฟฟ้าให้กับวิดีโอโดยไม่จำเป็น

การดูแลรักษา

  1. หมั่นตรวจสอบสายไฟเพื่อป้องกันการรั่วของกระแสไฟฟ้า
  2. ควรสะอาดหน้าจอโทรทัศน์เป็นประจำ

ตู้เย็น

ตู้เย็นมีส่วนประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน คือ อีแวพอเรเตอร์ (Evaporator) เครื่องควบแน่น

(Condenser) ตัวลดความดัน (Pressure reducer) และเครื่องอัดสารทำความเย็น (Compressor) ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นส่วนที่ช่วยชี้ว่าตู้เย็นเครื่องใดมีคุณภาพดีกว่ากัน ตู้เย็นตามมาตรฐานขณะที่ตู้เย็นทำงานต้องไม่เกิดเสียงหรือสั่นสะเทือนมากเกินไป มีความปลอดภัยทางไฟฟ้า มีความสามารถทำน้ำแข็งตามเกณฑ์กำหนด เป็นต้น

หลักการใช้

  1. ไม่นำอาหารที่ร้อนหรือยังอุ่นแช่ในตู้เย็น
  2. ลดการเปิดตู้เย็นโดยไม่จำเป็น เพราะค่าไฟฟ้าจะเพิ่มตามจำนวนครั้งของการเปิดตู้เย็น
  3. ไม่เปิดตู้เย็นค้างไว้เป็นเวลานานๆ
  4. ไม่แช่ของจนแน่นเกินไป เพราะความเย็นจะไหลเวียนไม่สะดวก
  5. อย่าตั้งตู้เย็นใกล้เตาไฟ หรือหม้อหุงข้าว หรือถูกแสงอาทิตย์โดยตรง เพราะจะทำให้ตู้เย็นระบายความร้อนไม่ดี สิ้นเปลืองไฟ

การดูแลรักษา

  1. ควรตั้งอุณหภูมิภายในตู้เย็น 3-6 องศาเซลเซียส และในช่องแช่แข็งระหว่าง ลบ 15-18 องศาเซลเซียส ถ้าตั้งไว้ต่ำกว่า 1 องศาเซลเซียสจะสิ้นเปลืองไฟเพิ่มเป็นร้อยละ 25
  2. หมั่นละลายน้ำแข็งอย่าให้น้ำแข็งเกาะในช่องน้ำแข็งมากเกินไป โดยกดปุ่มละลายน้ำแข็งหรือดึงปลั๊กออกจนน้ำแข็งละลายหมด
  3. ควรตั้งตู้เย็นห่างจากฝาผนังอย่างน้อย 15 เซนติเมตร ประหยัดไฟได้ร้อยละ 39

เครื่องปรับอากาศ

เครื่องปรับอากาศ เป็นเครื่องทำความเย็นซึ่งเราสามารถปรับอุณหภูมิในที่ซึ่งเราอยู่ให้เย็นสบายตามที่เราต้องการได้ ไม่ว่าจะเป็นห้องทำงาน ห้องนอน ห้องพักผ่อนหรือแม้แต่รถประจำทาง เครื่องปรับอากาศมีหลายชนิด เครื่องปรับอากาศชนิดติดผนังห้องและ เครื่องปรับอากาศสำหรับห้องแบบแยกส่วนระบายความร้อนด้วยอากาศ

หลักการใช้

  1. ไม่ตั้งตู้เย็น ไม่รีดผ้า ไม่ต้มน้ำร้อนในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ
  2. ตั้งอุณหภูมิที่ระดับร่างกายรู้สึกสบายโดยไม่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส และทุกอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียส จาก 25 องศาเซลเซียสจะช่วยประหยัดไฟได้ร้อยละ 10 แต่ไม่ควรเกิน 28 องศาเซลเซียส
  3. ถ้าไม่อยู่ในห้องนานเกิน 1 ชั่วโมงควรปิดเครื่องปรับอากาศ
  4. ไม่ปลูกต้นไม้หรือตากผ้าในห้องที่มีการปรับอากาศ

การดูแลรักษา

  1. ทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศสม่ำเสมอ
  2. อย่านำสิ่งของไปขวางทางลมเข้าออกของชุดระบายความร้อนที่อยู่นอกบ้านทำให้เครื่องระบายความร้อนไม่ดี
  3. อย่าติดตั้งชุดระบายความร้อนใกล้ผนัง เพราะเครื่องจะใช้ไฟมากขึ้นร้อยละ 15-20 ควรตั้งห่างอย่างน้อย 15 เซนติเมตร
  4. อย่านำสิ่งของขวางทางเข้า – ออก ของลมเย็นจากเครื่องปรับอากาศ

พัดลม

พัดลมไฟฟ้าเป็นผลิตภัณฑ์อำนวยความสะดวกชนิดหนึ่ง ที่ช่วยบรรเทาความร้อนจากสภาพภูมิอากาศ พัดลมไฟฟ้าในปัจจุบันมีหลายชนิดคือ ชนิด ตั้งโต๊ะ ตั้งพื้น ติดผนัง แขวนเพดาน และส่ายรอบตัว

หลักการใช้

  1. เลิกเปิดทิ้งไว้เมื่อไม่มีใครอยู่
  2. ถ้าใช้พัดลมที่มีระบบรีโมทคอนโทรลต้องถอดปลั๊กทันทีที่เลิกใช้
  3. ยิ่งเปิดลมแรงขึ้น ยิ่งใช้ไฟมากขึ้น

การดูแลรักษา

  1. ทำความสะอาดใบพัด ตะแกรงครอบ และแผงหุ้มมอเตอร์พัดลม อย่าให้มีฝุ่นเกาะ
  2. อย่าให้ใบพัดโค้งงอผิดส่วน ความแรงจะลดลง
  3. ตั้งพัดลมในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก

หลอดไฟฟ้า

หลอดไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้แสงสว่างโดยมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไส้หลอด เมื่อไส้หลอดร้อนจึงเกิดแสงสว่างขึ้นมา หลอดไฟฟ้ามี 2 แบบ คือ แบบขั้วเกลียวและแบบขั้วเขี้ยวแต่ละแบบยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือประเภท ให้ฟลักซ์การส่องสว่างธรรมดาและประเภทให้ฟลักซ์การส่องสว่างสูงแต่ละประเภทยังแบ่งได้อีก 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดสูญญากาศและชนิดบรรจุก๊าซ

หลักการใช้

  1. ปิดหลอดไฟบางบริเวณให้เร็วกว่าที่เคยปฏิบัติ
  2. เลิกเปิดไฟทิ้งไว้เมื่อไม่มีคนอยู่
  3. ลดจำนวนหลอดไฟในบริเวณที่อาศัยแสงธรรมชาติได้
  4. เลิกใช้หลอดไฟที่ไม่ได้มาตรฐาน

การดูแลรักษา

  1. ใช้โคมไฟตั้งโต๊ะสำหรับอ่านหนังสือ หรือแสงสว่างเฉพาะจุด
  2. ทางเดิน เฉลียงหน้าบ้าน ภายในห้องน้ำ และบริเวณที่ต้องเปิดไฟทิ้งไว้นาน ควรใช้หลอดไฟฟ้าที่มีวัตต์ต่ำ
  3. หมั่นทำความสะอาดตัวหลอดไม่ให้มีฝุ่นละอองเกาะ เพราะจะทำให้ความสว่างน้อยลง

เตารีด

เตารีดไฟฟ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทุกครัวเรือน ช่วยให้งานรีดเสื้อผ้าของแม่บ้านเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่บางครั้งผู้ใช้อาจประสบปัญหาการใช้เมื่อเกิดการลัดวงจร หรือใช้งานไม่ดี เนื่องจากคุณภาพที่ไม่เหมาะสม นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีเตารีดไฟฟ้าแบบใหม่ๆ อีกมาก เช่นเตารีดไฟฟ้าแบบมีไอน้ำ เตารีดไฟฟ้าแบบมีน้ำพ่น ซึ่งน้ำหรือไอน้ำอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ได้

หลักการใช้

  1. เลิกพฤติกรรมการรีดผ้าและดูโทรทัศน์พร้อมๆ กัน
  2. เก็บผ้าไว้รีดครั้งละมากๆ และรีดติดต่อกันจนเสร็จ จะไม่เปลืองไฟ
  3. ไม่พรมน้ำผ้าที่จะรีดจนชุ่มเกินไป
  4. จัดผ้าที่จะตากให้ยับน้อยที่สุดเพื่อลดเวลาในการรีด
  5. ไม่รีดผ้าในห้องที่มีการปรับอากาศ
  6. ถอดปลั๊กก่อนเสร็จสิ้นการรีดประมาณ 2-3 นาที เพราะยังมีความร้อนเหลือเพียงพอที่จะรีดเสื้อยืดได้ 1 ตัว

การดูแลรักษา

หมั่นทำความสะอาดแผ่นโลหะหน้าเตารีด ซึ่งจะทำให้รีดผ้าได้เรียบและเร็วขึ้น ช่วยลดเวลาในการรีดผ้าลง ประหยัดค่าไฟได้มาก

หม้อหุงข้าวไฟฟ้า

หม้อหุงข้าวไฟฟ้าเป็นวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีของมนุษย์ที่ใช้ความร้อนจากไฟฟ้าหุงข้าวให้สุกอย่างอัตโนมัติและรักษาอุณหภูมิของข้าวได้ หม้อหุงข้าวได้พัฒนารูปแบบออกไปมากมาย เช่น ระบบเปิด-ปิดอัตโนมัติมีระบบไอน้ำ และมีระบบที่สามารถประกอบอาหารได้หลายๆ อย่างเช่น นึ่ง ตุ๋น ต้ม เป็นต้น ส่วนประกอบที่สำคัญของหม้อหุงข้าวไฟฟ้า คือ ปลั๊ก สายไฟฟ้าสวิตช์ แผ่นความร้อนและฉนวน ซึ่งอุปกรณ์ทุกชิ้นเหล่านี้มีความสำคัญต่อคุณภาพของหม้อหุงข้าว มีผลต่ออายุการใช้งานและมีผลต่อความปลอดภัยของผู้ใช้

หลักการใช้

  1. หุงข้าวให้พอดีกับจำนวนคน
  2. เลิกเปิดฝาหม้อขณะที่ข้าวยังไม่สุก
  3. ถอดปลั๊กออกทันทีที่เลิกใช้งาน

การดูแลรักษา

  1. หากเสียบปลั๊กอยู่ อย่ากดสวิตช์ปิด- เปิด ขณะที่ไม่มีหม้อข้าวชั้นใน
  2. ก่อนวางตัวหม้อชั้นในให้ตรวจดูว่าไม่มีวัสดุอื่น หรือเศษผงที่ด้านในของตัวหม้อชั้นนอกเพราะอาจเกิดไฟฟ้าลัดวงจร และถ่ายเทความร้อนไม่ดี
  3. อย่านำน้ำเย็นไปต้มทันที

เครื่องเล่นแผ่นซีดี

ระยะ15 ปีที่ผ่านมาแผ่นซีดีได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้ฟังเพลงทั่วไป และด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำจึงทำให้เครื่องเล่นซีดีและแผ่นซีดีมีการพัฒนามากตามไปด้วย ซึ่งในปัจจุบันเครื่องเล่นซีดีที่สามารถเปลี่ยนแผ่นได้ 3 - 5 แผ่น เป็นที่นิยมกันมากแต่ในอนาคตเครื่องเล่นซีดีที่เปลี่ยนแผ่นได้ 100 - 300 แผ่นจะเป็นที่นิยมมากกว่าเพราะเครื่องนี้จะเก็บแผ่นได้มากกว่าและมีความสามารถมากกว่าเครื่องเล่นแผ่นซีดีแบบธรรมดา สำหรับเครื่องเล่นแผ่นซีดีแต่ละเครื่องจะให้สัญญาณเสียงที่ต่างกันขึ้นอยู่กับโครงสร้างต่าง ๆ ของตัวเครื่องและระบบการแปลงสัญญาณจากระบบดิจิตอลเป็นระบบอนาล็อก ทั้งนี้ถ้าคุณมีชุดลำโพงและเครื่องขยายเสียงที่มีคุณภาพแล้วคุณก็จะสามารถทำการตรวจสอบคุณภาพเสียงของเครื่องเล่นแต่ละตัวได้ นอกจากนี้ถ้าคุณมีอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีคุณภาพอยู่แล้วคุณควรที่จะให้ความสำคัญกับลักษณะพิเศษของตัวเครื่องเล่นแผ่นซีดีมากกว่า

หลักการใช้

  1. เลิกเปิดพียงเพื่อเป็นเพื่อนโดยไม่ได้สนใจฟัง
  2. เลิกเสียบปลั๊กไว้เพื่อใช้ดูเวลาหากมีนาฬิกาอื่นๆ ใช้ดูเวลาอยู่แล้ว
  3. เลิกปิดเครื่องโดยใช้รีโมทให้ปิดจากสวิตช์ที่เครื่องแทน

การดูแลรักษา

ตั้งให้ห่างจากเตาอบไมโครเวฟเพื่อไม่ให้ระบบการทำงานถูกคลื่นไมโครเวฟรบกวน

เครื่องซักผ้า

เครื่องซักผ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำความสะอาดเสื้อผ้า และเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้นทุกขณะ เพราะนอกจากจะช่วยผ่อนแรงของคุณที่ต้องเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานหนักมาทั้งวันแล้ว ยังสามารถประหยัดเวลาของคุณเพื่อนำไปใช้ทำกิจกรรมอื่นฯ ที่สำคัญหรืองานอดิเรกในวันหยุดพักผ่อนได้อีกด้วย

หลักการใช้

  1. ใช้เครื่องซักผ้าก็ต่อเมื่อมีเสื้อผ้ามากพอเหมาะกับพิกัดและขนาดของเครื่อง
  2. ตั้งโปรแกรมที่ใช้น้ำร้อนก็เมื่อจำเป็นเท่านั้นเพราะใช้ไฟมาก

การดูแลรักษา

  1. ตั้งโปรแกรมซักผ้าที่เหมาะสมกับชนิดของผ้าทุกครั้ง
  2. แช่ผ้าก่อนนำเข้าเครื่อง จะช่วยให้ซักผ้าได้ง่ายขึ้น สามารถเลือกโปรแกรมซักแบบประหยัดได้
  3. ตั้งปริมาณน้ำและใส่ผงซักฟอกให้พอดีกับจำนวนผ้าที่จะซัก

เครื่องทำน้ำอุ่น

เครื่องทำน้ำอุ่นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบที่ทำน้ำอุ่นจุดเดียวและแบบที่ทำน้ำอุ่นหลายจุด

หลักการใช้

  1. ไม่เปิดเครื่องตลอดเวลาขณะฟอกสบู่อาบน้ำหรือขณะสระผมสิ้นเปลืองทั้งน้ำและไฟฟ้า
  2. ใช้แล้วควรปิดเครื่องอย่าเปิดสวิตซ์ทิ้งไว้ จะสิ้นเปลืองไฟ
  3. เลิกตั้งระดับความแรงของน้ำไว้ที่ระดับแรงสุด ควรตั้งไว้ที่ระดับปานกลาง

การดูแลรักษา

  1. ดูแลอย่าให้น้ำรั่วจากฝักบัวจะเปลืองน้ำและเครื่องจะทำงานมากกว่าปกติสิ้นเปลืองไฟ
  2. ตรวจดูระบบท่อน้ำและรอยต่อให้มีสภาพดีอยู่เสมอ อย่าให้มีการรั่วซึม
  3. เลือกใช้เครื่องทำน้ำอุ่นที่มีถังเก็บน้ำภายในตัวเครื่อง และมีฉนวนหุ้มประหยัดการใช้ไฟได้ร้อยละ 10 - 20

เตาไมโครเวฟ

อย่าวางเตาไมโครเวฟใกล้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ เช่น โทรทัศน์ หรือวิทยุ เพราะรบกวนการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้น

การดูแลรักษา

  1. ทำความสะอาดภายในเครื่องไมโครเวฟทุกครั้งหลังใช้งาน เพราะเศษอาหารที่ติดตามผนังจะลดประสิทธิภาพของเตา และอาจเกิดประกายไฟ
  2. ควรตั้งเวลาให้สอดคล้องกับชนิดอาหารและปริมาณอาหาร
  3. ควรใช้ไมโครเวฟเพื่อการอุ่นอาหาร ต้มน้ำเดือดปริมาณน้อย ละลายอาหารแช่แข็ง

เครื่องคอมพิวเตอร์

ควรเลือกใช้คอมพิวเตอร์ที่มีระบบประหยัดพลังงานโดยสังเกตสัญลักษณ์ Energy Star เพราะระบบนี้จะใช้กำลังไฟฟ้าลดลงร้อยละ 55 ในขณะที่รอทำงานควรซื้อจอภาพที่ขนาดไม่ใหญ่เกินไป เช่น จอภาพขนาด 14 นิ้วจะใช้พลังงานน้อยกว่า 17 นิ้ว ถึงร้อยละ 25 คอมพิวเตอร์ชนิดกระเป๋าหิ้วประหยัดพื้นที่และประหยัดไฟได้มากกว่าแบบตั้งโต๊ะ

หลักการใช้

  1. ไม่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้นานๆ เพราะทำให้สิ้นเปลืองไฟฟ้า
  2. ถอดปลั๊กเมื่อเลิกใช้งาน
  3. ปิดจอภาพเมื่อไม่ใช้งานนานเกินกว่า 15 นาที

การดูแลรักษา

  1. ตั้งคอมพิวเตอร์ในบริเวณที่มีการระบายความร้อนได้ดี
  2. ควรตั้งระบบ Screen Saver เพื่อรักษาคุณภาพของหน้าจอ
  3. ตรวจสอบดูว่าระบบพลังงานในเครื่องถูกสั่งให้ทำงานแล้วหรือไม่ต้องสั่งให้ระบบนี้ทำงานเพราะจะช่วยประหยัดไฟ

ความหมายของพลังงาน
ประเภทของพลังงาน
ความสำคัญของพลังงานต่อสิ่งมีชีวิต
พลังงานจากซากดึกดำบรรพ์ (Fossil Fuel)
ปิโตรเลียม (Petroleum)
ก๊าซธรรมชาติ
ถ่านหิน
หินน้ำมัน (Oil Shale)
แก๊สโซฮอล์ (Gasohol)
พลังงานหมุนเวียน
พลังงานน้ำ
พลังงานความร้อนใต้พิภพ
พลังงานแสงอาทิตย์
มวลชีวภาพหรือชีวมวล (Biomass)
พลังงานลม
พลังงานไฟฟ้า
พลังงานนิวเคลียร์
การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน
เครื่องใช้ไฟฟ้า
การประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงจากการใช้จักรยานยนต์
การอนุรักษ์พลังงาน
นโยบายพลังงาน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

🍁 "บ้าน" มรดกทางวัฒนธรรม
"บ้าน" คือการบอกเล่าความเป็นมา คือการบอกล่าวถึงพัฒนาการในการดำรงชีพของมนุษย์ "บ้าน" ที่อยู่อาศัยหนึ่งในปัจจัยสี่ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ และบ่งบอกถึงความั่นคง

🍁 ภูมิปัญญากีฬาไทย
กีฬาไทยที่บรรพชนไทยค้นคิด และถ่ายทอดมาสู่ลูกหลาน บางชนิดกลายเป็นตำนานและความทรงจำ และบางชนิดยังคงมีการเล่นกันอยู่

🍁 สะพานสู่ฟ้าใหม่
สะพานข้ามน้ำเป็นสัญลักษณ์การข้ามอุปสรรคขวางกั้นไปสู่จุดหมาย และการเชื่อมโยงสิ่งตรงข้ามมา เพื่อสร้างเอกภาพอันกลมกลืนมั่นคง

🍁 ทิวธงมงคลชัย
สิ่งสะท้อนความคิด และสืบทอดคติความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ของชนรุ่นแล้วรุ่นเล่า จากยุคสมัยหนึ่งสู่อีกยุคสมัยหนึ่ง ดุจตัวแทนที่น้อมนำสู่มงคลแห่งชีวิต

🍁 พระราชลัญจกรประจำรัชกาล
ตราประจำพระมหากษัตริย์ แต่ละรัชกาล ซึ่งจะทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเริ่มต้นรัชกาล เพื่อประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในเอกสารสำคัญต่างๆของชาติ ที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน

🍁 สามล้อไทย
วิถีหนึ่งของสายทาง ซึ่งแม้เวลาจะหมุนเวียนเปลี่ยนไป หากสายทางของสามล้อยังคงผูกพัน เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย

🍁 กีฬาสัตว์
ด้วยนิสัยช่างสังเกตของคนไทย จึงเป็นที่มาของกีฬาซึ่งใช้สัตว์เป็นผู้แข่งขัน จนกลายเป็นกิจกรรมบันเทิงพื้นบ้าน ยามว่างนับแต่อดีต

🍁 ตาลปัตร พัดรอง
พัดที่ทำจากใบตาลมีหลายรูปแบบ สำหรับใช้โบกให้ความเย็น และใช้เป็นการบ่งบอกถึงฐานะ บรรดาศักดิ์ของผู้ใช้

🍁 ทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา
ผู้เรียนเป็นฝ่ายสร้างความรู้ขึ้นด้วยตนเอง มิใช่ได้มาจากครูและในการสร้างความรู้นั้น ผู้เรียนจะต้องลงมือสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา

🍁 ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน
มิติทางวิชาการหลายมิติที่ซ้อนทับ เคลื่อนไหว และมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน รวมทั้งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจในทุกบริบทที่เกี่ยวข้อง

🍁 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทย
สังคมทุกสังคมย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอ ตราบใดที่สังคมนั้นยังต้องมีการติดต่อและสัมพันธ์กับสังคมอื่น การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างหนึ่ง

🍁 ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ
เมื่อบุคคลปรารถนาที่จะได้รับความพึงพอใจและเมื่อบุคคลได้รับความพึงพอใจในสิ่งหนึ่งแล้วก็จะยังคงเรียกร้องความพึงพอใจสิ่งอื่นๆ ต่อไป ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะของมนุษย์

🍁 กำเนิดโลกและสิ่งมีชีวิต
ทำไมโลกซึ่งแต่เดิมเป็นลูกไฟดวงหนึ่ง ไม่ได้ต่างจากดาวเคราะห์ดวงอื่น จึงเอื้อต่อสิ่งมีชีวิตได้มากมายเช่นนี้

🍁 โรคสัตว์สู่คน

🍁 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม

🍁 โรคอารมณ์สองขั้ว

🍁 คู่มือ อสม.กับการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

🍁 การจัดการกับอารมณ์และความเครียด

🍁 ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจ

🍁 การจูงใจ

🍁 การแกว่งแขน รักษาโรค

🍁 ประวัติขนมไทย

🍁 กัญชา

🐍 โปรดระวังงูฉก

เราไม่ได้ไม่ฆ่ากัน
เพราะผิดกฎหมายหรือผิดต่อศีลธรรมอันดี

แต่เพราะเราฝึกใช้ชีวิตด้วยเหตุและผล
ด้วยความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
ในฐานะเพื่อนมนุษย์
ที่ต้องพึงพาอาศัยกันและกัน

เราไม่ใช่มนุษย์เนื้อ

การฆ่ากันย่อมถือเป็นเรื่องไร้สาระ
เปล่าประโยชน์และเปลืองแรงโดยใช่เหตุ

ตราบเท่าที่เรา
ยังไม่คิดที่จะบริโภคเนื้อพวกเดียวกันเอง
หรือเผลอทำน้ำลายหก
และแอบเลียปากเวลาเดินสวนกัน.

🐍 งูเขียว หางบอบช้ำ : เขียน

เชิญแวะอ่านสักนิดสักหน่อยก็ยังดี...

🌿 ปายฝน ต้นรัก ปางอุ๋ง แม่ละนา 1864 โค้ง
บนทางหลวง 1864 โค้ง หมายเลข 1095 เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ฝันค้างกลางฤดูหนาวหนึ่ง ได้กลายเป็นความจริงตอนปลายฤดูฝน ปายที่เคยได้แต่ฝันถึง ปางอุ๋งที่ไม่มีวันจะเป็นจริง แม่ละนาที่ไกลเกินเอื้อม ด้วยปีกคู่นั้นกับชีวิตเสรีในแบบฉบับของตัวเอง

🌿 ตะลุยเมืองจำลอง
ฝนจะตกแดดจะออกก็ไม่เป็นปัญหา ไม่ต้องเตรียมแผนที่หรือข้อมูลอะไรให้ยุ่งยาก เสื้อยืดตัว ขอใช้ส่วนตัวเท่าที่จำเป็น เป้ใบ กล้อง จองโรงแรมคืนหนึ่งล่วงหน้า 3 วัน ก่อนเดินทางแถวจอมเทียน ขอลงรถหน้าเมืองจำลองได้เลย ก่อนรถเลี้ยวเข้าสถานีตรงพัทยาเหนือ (10.30 น. ถึง) พร้อมลุย

🌿 จากจังหวัดที่เล็กที่สุดถึงเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุด
ถึงอัมพวา แต่ไม่เห็นหิ่งห้อยสักตัว ทั้งที่นอนอยู่ใต้ต้นลำพู ถึงค่ายบางกุ้ง แต่ไม่ถึงวัดบางกุ้งทั้งที่อยู่ห่างกันแค่ข้ามฝั่งถนน

ยังมีอีก »


ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
ภูจอมยุทธ | Podcast

ชีวิตในแบบฉบับของตัวเอง หิวก็กินง่วงก็นอน อยากทำอะไรก็ทำ เบียดเบียนสภาพแวดล้อมแต่พองาม ประสบการณ์แบ่งปันผู้คน มากบ้างน้อยบ้าง วัดกับร้านเหล้าถือเป็นสถานอโคจร ที่ต้องรักษาระยะห่าง คลิกดู👆