สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>

โรคที่พบในวัยรุ่น

โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า พบได้ในทุกช่วงระยะเวลาของชีวิต ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า คิดฆ่าตัวตาย และครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่ฆ่าตัวตาย เป็นโรคซึมเศร้า

อาการ

และการแสดงออกของโรคซึมเศร้าในเด็ก และวัยรุ่น มีได้หลายรูปแบบต่างๆ ดังนี้

  1. มีอารมณ์ซึมเศร้า ท้อแท้ เบื่อหน่าย เก็บตัว โดยอารมณ์เศร้าอาจจะเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุ

  2. มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป ที่พบบ่อย คือ อารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย ขาดสมาธิ ผลการเรียนตก เกเร บางรายอาจจะ ใช้สารเสพติด หรือหนีจากบ้าน

  3. มีอาการทางกาย โดยตรวจไม่พบพยาธิสภาพทางร่างกาย เช่น ปวดหัว นอนไม่หลับ ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ไม่อยากกินอาหาร บางรายอาจจะมีอาการง่วงนอนตลอดเวลา

ผู้เป็นโรคซึมเศร้า ทั้งเด็ก และวัยรุ่น อาจจะมี โรคทางจิตเวชอื่นๆ ร่วมด้วย เช่นโรคเครียด โรควิตกกังวล

กลุ่มเสี่ยง

  1. พันธุกรรม ถ้าพ่อ หรือแม่เป็นโรคซึมเศร้า ลูกหนึ่งในสี่มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้า ถ้าทั้งพ่อ และแม่ เป็นโรคซึมเศร้า ลูกสามในสี่มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้า

  2. มีปัญหาด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม ทำให้ชีวิตวัยเด็กมีความไม่สบายใจเรื้อรัง เช่น ขาดความอบอุ่น ถูกทารุณ ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถูกกระทบกระเทือนทางจิตใจ ถูกว่า ถูกดุบ่อยๆ การเจ็บป่วยเรื้อรัง และพ่อแม่หย่าร้าง

สาเหตุ

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ พบว่า มีการ ลดลงของสารสื่อประสาท ประเภท “สารสุข” โดยเฉพาะ Serotonin ที่จุดเชื่อมปลายประสาท ในสมองส่วนลิมบิก (Limbic) ทำให้ขาดสมดุล ของสารสื่อประสาท สารสื่อประสาททำงานผิดปกติไป เกิดพยาธิสภาพของโรคซึมเศร้า

การรักษา

  1. ประเมินความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะครอบครัวที่มีประวัติฆ่าตัวตายมาก่อน ถ้ามีความเสี่ยงสูง ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลทุกราย

  2. จิดบำบัด ให้ความรู้ แก่ผู้ป่วย และครอบครัว

  3. ปรับปัจจัยในการดำรงชีวิต ให้สมดุล เช่น ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอต่อเนื่อง วันละ 30 นาที 3 ครั้ง / อาทิตย์ เป็นอย่างน้อย ทำงานอดิเรกที่ชอบ วาดภาพ เล่นดนตรี ท่องเที่ยว ปรับทัศนคติในการมองปัญหา การดำรงชีวิตให้เป็นบวก และมีความสุข

  4. ใช้ยาต้านเศร้า (Antidepressant) ต่อเนื่อง ในขนาดที่เหมาะสม พบว่า จะได้ผลดีรักษาหายได้ โดยยาจะออกฤทธิ์ค่อยๆ ปรับ “สารสุข” ในสมอง ให้สมดุล ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นใน 2 อาทิตย์ ของการรักษาต้องคงปริมาณไว้ถ้าเป็นอาการป่วยครั้งแรก ใช้เวลารักษา 6 เดือน ถึง 1 ปี ก็จะหายขาด ถ้าป่วยครั้งที่ 2 หรือครั้งที่ 3 ต้องกินยาตลอดชีวิต เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ

  5. การช็อตด้วยไฟฟ้า (Ect = Electro Convulsive Therapy) ใช้ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา และรายที่อาการรุนแรง มีความคิดฆ่าตัวตายสูง พบว่า 90 % ตอบสนองได้ดี
    โรคทางร่างกายที่พบบ่อยในวัยรุ่น

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคซึมเศร้า
โรคอ้วน
โรคภูมิแพ้
โรคผิวหนัง
โรคกระเพาะ
สมาธิสั้นในวัยหนุ่มสาว-ผู้ใหญ่

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย