สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ทฤษฎีเซลล์กระจกเงากับการพัฒนามนุษย์
(Mirror Neuron Theory and Human Development : MN)
จากการประชุมคณะทำงานพัฒนาวิชาการเพื่อสนับสนุนคณะกรรมการประสานนโยบาย
การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ครั้งที่ 5 วันที่ 15 ตุลาคม 2552
นายแพทย์อุดม เพชรสังหาร
จากสถาบันครอบครัวรักลูก ได้นำเสนอ และทบทวนทฤษฎีที่เรารู้จักคร่าวๆ
เพื่อเชื่อมโยงในการอธิบายทฤษฎีเซลล์กระจกเงากับการพัฒนามนุษย์ ดังนี้
ทฤษฎีการพัฒนามนุษย์
คำว่า พัฒนา หมายถึงการพัฒนาทั้งในเรื่องของสติปัญญา อารมณ์ บุคลิกภาพ คุณธรรม
หรือพูดง่ายๆ ว่า เบ็ดเสร็จ ยกเว้น Physical ที่ทำให้แข็งแรงในมิติของ Cognitive,
emotion, social และ behavior จะรวมอยู่ในนี้ทั้งหมด
Psychoanalysis
Psychoanalysis กล่าวถึง ตัวตนของเรา คือ self และ กับ พ่อ แม่
ใช้คำว่า significant ทั้ง 2 ตัวนี้เกี่ยวข้องกัน ใกล้ชิดมีความสัมพันธ์ที่ดี
จะเกิดความรู้สึกที่เรียกว่า empathy คือ ความเข้าใจ เอาใจเขามาใส่ใจเรา
สุดท้ายก็จะเกิดการเลียนแบบ (identification) ซึ่งภาษาทางจิตวิเคราะห์ หมายถึง
บุคลิกภาพของมนุษย์ หล่อหลอมมาจาก significant person คนที่เลี้ยงดูใกล้ชิด
ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Empathy
Theory of mind
Theory of mind มีส่วนคล้ายกัน คือ
เราเห็นคนอื่นแสดงท่าทางอะไรแล้วเราจะรู้สึกตามเข้าถึงอารมณ์ (อิน)เหมือนดูหนัง
ใช้คำว่า imitation จิตแพทย์ท่านหนึ่งพยายามเอาคำ imitation กับ identification
มาอธิบายร่วมกัน น่าจะเหมือนกัน เพราะ imitation ในความหมายทั่วไปหมายถึง copy
แต่จริงๆ แล้วใน theory of mind อธิบาย imitation ว่ามีความหมายลึกกว่าคือ
เข้าใจถึง copy feeling มีความเข้าใจใน status ของคน เช่นเราเห็นใจนางเอก
พระเอกหนัง ที่ถูกนางร้ายตามตอแย เขาเรียกว่า อิน ก็คือพอเรา observe action ของคน
ก็ทำให้เกิดการ understand intention understand mind ของคนๆ นั้น
เข้าใจภาวะจิตใจของเขา แล้วนำเข้ามาสู่ empathy ซึ่งตรงนี้ imitation
จะเป็นเพียงความรู้สึกที่เข้าใจหรือเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกเหมือนคนๆ นั้นเป็น copy
ก็ได้ เพราะฉะนั้น imitation กับ identification กับกลุ่มทฤษฎี 3 ทฤษฎีนี้ คล้ายกัน
Social learning theory
นอกจากนี้ยังมีทฤษฎีของ อัลเบิร์ต
บันดูรา (Albert Bandura) ที่เกิดขึ้นในประมาณยุค 70 เรียกว่า social learning
theory เด็กจะ copy อะไรที่ดี ไม่ดี ทั้งหลายจากผู้ใหญ่ แต่มีปัญหาว่า 3-4
ทฤษฎีนี้ไม่สามารถอธิบายกลไกที่เกิดอยู่ข้างในได้ ว่าเกิดอย่างไร
แต่เป็นปรากฏการณ์ที่เขาเห็นแล้วเขา สังเกตการณ์ (observe) หรือแม้แต่ อัลเบิร์ต
บันดูรา ใช้วิธีทดลองแล้วสามารถจะเกิดการทำซ้ำ (repeat )แบบนั้นได้
Constructivism theory
เปียเจต์ (Piaget) อธิบายว่า เมื่อเด็กมี
การมีปฏิสัมพันธ์, การสื่อสารระหว่างกัน, การทำงานร่วมกัน (interaction)
มีประสบการณ์กับสิ่งแวดล้อมล้อมๆ ตัวเด็กจะเริ่มเรียนรู้ เข้าใจและความเข้าใจ
ส่วนนี้จะพัฒนาสะสมตามพัฒนาการของเด็ก ต่อมา ลูกศิษย์เปียเจต์ ชื่อ ซีมัวร์
พาร์เพิร์ท (Seymour Papert) พบว่า ถ้าเด็กเรียนรู้ มีปฏิสัมพันธ์ (interaction)
กับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นคนหรือสิ่งของ หรือว่าอะไรก็ตาม ถ้าสิ่งแวดล้อมมัน
ไม่ดี (Poor Environment) คือ ไม่มีคน ไม่มีข้อมูลให้เรียนรู้
ไม่มีประสบการณ์อะไรเลย เด็กคนนั้นก็จะไม่สามารถพัฒนาไหวพริบ (Intelligent) หรือ
ที่เรียกว่า พัฒนาตัวตนของตนเองขึ้นมา
ซีมัวร์ พาร์เพิร์ท จึงสร้าง Enriched Environment คือ
สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาที่สมบูรณ์
อธิบายว่าถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ ที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้
เด็กคนนั้นจะเรียนรู้ได้ดี จะมีการพัฒนาการทางด้านสังคม จิตใจ แล้วก็สติปัญญาได้
Constructionism theory
ทฤษฎีนี้ต่อยอดมาจาก Constructivism
theory เพื่ออธิบายคำว่า Enriched Environment โดยสถาปนิกชื่อ นิโคลัส นิโคปองเป้
ทำโครงการ one laptop คือ ถ้าเด็กมี lap top ตัวหนึ่งแล้วนำมา access ข้อมูล
เพื่อการเรียนรู้ ถ้าเด็กอยู่ในบรรยากาศที่เอื้ออำนวยในการเรียนรู้
มีเพื่อนมีกัลยาณมิตรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เขาน่าจะเรียนรู้ได้ดี เป็น movement
ของตรงนี้ แต่มีปัญหาที่ว่าตอนหลัง พวกเราเรียนมา เปียเจต์บอกว่า step development
ของมนุษย์เป็นตามวัย แต่ตอนนี้เปลี่ยน เขาพบว่าผู้ใหญ่กับเด็กมีวิธีคิดเหมือนกัน
อันนี้ consensus
แต่ผู้ใหญ่มีผลของวิธีคิดแตกต่างกันเพราะว่าเด็กกับผู้ใหญ่มีวิธีเก็บข้อมูลแตกต่างกัน
input ที่ใส่เข้าไปในเด็กอาจจะซับซ้อน ก็เลยทำให้ความรู้ที่ออกมาไม่ซับซ้อน
แต่ทั้งหมดใช้ operating system อันเดียวกัน ในตอนหลังมันเป็นพื้นฐานว่า
การเรียนรู้ของมนุษย์มีทั้งเรื่องการที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ใหญ่แล้วก็เลียนแบบ
ในขณะเดียวกัน ก็มี construct ความรู้ขึ้นมา ความรู้ทำให้คนสามารถเป็นตามที่เรา
อันนี้เป็นวาทะของ บีอา บู บีอา
.คือ because of behave learn and remember
เป็นคำพูดของ Eric R. kandel เป็นจิตแพทย์คนที่ 2 ของโลกที่ได้รับรางวัลโนเบล
จากเรื่อง leaning รับรางวัลเมื่อ 2543 ปีนี้ยังมีชีวิตอยู่ Kandel กล่าวว่า All
Mental process are neural, We are who we are because of what
คือ
การทำงานทุกอย่างของจิตใจเป็นเรื่องของเซลล์ นี่คือสิ่งที่ทำให้ Kandel
ได้รับรางวัล โนเบล Theory of learning , New Biology of Psychoanalysis Psychiatry
Kandel สรุปงานทั้งหมด 40 ปี ลงในวารสาร American journal ปี 98
และหลังจากนั้น 2 ปี ได้รับโนเบล เป็นที่ประจักษ์ว่า
การเรียนรู้คือตัวการที่จะทำให้มนุษย์ สามารถเดินเข้าไปสู่ความเป็นตัวตน
เราอยากให้เด็กเป็นแบบไหน
สิ่งที่สำคัญก็คือเราจะสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น
สรุปได้ว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ คือ
- เป็น construct ขึ้นมาเองได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราสร้างสิ่งแวดล้อม construct ความรู้กับเด็กได้อย่างไร
- imitate นำมาสู่เรื่องของการ empathy แล้วนำไปสู่การฟอร์มบุคลิกภาพ แล้วนำไปสู่ความรู้สึกอะไรบางอย่างที่เกิดขึ้น
แต่ทั้งหลายทั้งปวงก็ยังไม่สามารถที่จะอธิบาย ยกเว้น Kandel
อธิบายระดับเซลล์ว่าเป็นแบบนี้ แต่ก็เป็นเพียง Physiology คร่าวๆ ทฤษฎี Theory of
mind ค่อนข้างจะอธิบายได้ชัดขึ้น แต่ไม่ต่างจาก Psychoanalysis
คือเป็นการอธิบายปรากฏการณ์ แต่ไม่รู้ว่า Physiology กลไกข้างในจริงๆ คืออะไร
หรือแม้แต่ เรื่อง copy ของ เบนดูร่า ที่นี้มีการคบพบเซลล์
คือการค้นพบเซลล์บริเวณสมองของลิงกัง ถ้าเทียบกับ กับสมองคนคือ Polar Area
ลิงมองเห็นพฤติกรรม คือ เขาต้องการศึกษา premotor area
เป็นบริเวณที่วางแผนการเคลื่อนไหวของมนุษย์ เห็นปากกาแบบนี้
ทำไมเราไม่กำมือไปหยิบปากกา ทำไมเราถึงจับปากกา นี้ คือ พวก neurophysiologies
ก็พยายามที่จะทำความเข้าใจ เพราะ premotor มันสำคัญต่อความเคลื่อนไหว เบนดูร่า
พยายามเรียนรู้เรื่อง premoter แต่ว่าวันหนึ่งลิงที่เขาทดลองมันต่อสายไฟจากสมอง
จากเซลล์ในสมองของมัน มันก็นั่ง
ก็มีนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งในทีมของเขาเดินเข้าไปหยิบของในห้องทดลอง
ปรากฏว่าลิงนั่งอยู่เฉยๆ ก็เสียบสัญญาณเครื่องดังขึ้น เขาก็พบว่า บริเวณเซลล์
premotor area และ motor area ที่ควบคุมการหยิบปากกาของลิงมันทำงาน
ทั้งที่มันนั่งอยู่เฉยๆ มัน syncing มีสัญญาณ ไฟฟ้าเกิดขึ้นมา
เขาก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร สุดท้าย syncing ที่เกิดขึ้น เขาพบว่า เซลล์พวกนี้จะ copy
ภาพที่เห็น เขาเรียกว่ามัน simulate ให้เป็นเสมือนว่ามันดู มันทำเอง seeing is
doing ยังไม่เข้าใจว่าทำไมมันต้องทำแบบนี้
สุดท้ายเขาก็พยายามพิสูจน์และพบว่ามันใช้ได้
เพราะว่าเราเห็นใครทำอะไรสักอย่างพยายามที่จะอ่านเจตนาของการกระทำนั้นๆ
วิธีการที่ดีที่สุดก็คือเหมือนกับการไปยืนอยู่ในสถาการณ์นั้นด้วยตัวเอง
แล้วก็จะเกิดสภาพที่มีความรู้สึกว่า อ๋อ มันเป็นอย่างนี้เอง เขาบอก put on the
shoes of the other คือสิ่งที่เขาพยายามอธิบาย
เพราะฉะนั้นการทำแบบนี้
ไปใส่รองเท้าของคนอื่นเพื่อที่จะเข้าใจว่าทำไปคนนี้ถึงเดินเขยกๆ
เพราะว่ามีหนามอยู่ในรองเท้า ก็คือกระบวนการ simulation เซลล์ตัวนี้
คือตัวทำให้เกิด simulation ทำให้รู้สึก อ๋อ มันเป็นแบบนี้นี่เอง มันก็นำมาสู่
empathy แต่ระหว่างเส้นทาง simulate และ copy บังเอิญว่า imitation copy action
ด้วย ในขณะเดียวกัน ก็ copy ภาวะจิตใจของคนๆ นั้น เกิดความ ก็เลยเป็น 2 เด้ง เด้ง
หนึ่งเป็น copy ในขณะเดียวกันก็เกิดความเข้าใจว่า คุณรู้สึกอย่างนี้
Seeing action of others ซึ่งตอนหลังได้อธิบายว่าจริงๆ seeing action
คือการมองเห็นแล้วเกิดการเข้าใจ แต่ในขณะเดียวกันก็พบว่า การแลกเปลี่ยนความรู้สึก
sharing ของ inter subject (impiety) ก็เป็นตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดความเข้าใจ MN ก็จะ
simulate action ผ่าน premoter context PFarea ของจะขยับเข้ามาเจอ PFarea เป็นของ
MN system area มันจะยิงสัญญาณผ่าน Insula ตรงกลาง แล้วจะมาที่ระบบ Limbic System
แล้วก็ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า เข้าใจว่าคุณรู้สึกยังไง (Feel the emotion)
สุดท้ายสิ่งนี้ก็คือเราเรียกว่า empathy ในนี้เขาจะไม่แยก empathy กับ sympathy
เพราะเขาบอกว่ามันคือสิ่งเดียวกันแต่ในทางจิตเวท จะแยกระหว่าง empathy กับ sympathy
เพราะว่าไว้ใช้ตอนที่ทำ Psychotherapy อันนี้ก็เป็นการอธิบาย empathy โดย
physiology โดย เซลล์กระจกเงา
เซลล์กระจกเงาทำหน้าที่อย่างไร
- เพื่อทำให้เราเข้าใจคนอื่น
พอเข้าใจคนอื่นก็จะเป็นกลไกที่จะทำให้เกิดการสร้าง Social relationship
แต่ว่าบังเอิญเส้นทางของมันมีการ copy ด้วย พอมีการ copy ก็เลยมีการ copy cat
แบบเด็ก เชื่อว่าอย่างนั้น
ช่วงหลังก็มีคนเอาเรื่องนี้ไปใช้กับการฝึกฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต
พบว่าได้ผล เพราะว่าเซลล์กระจกเงาอยู่ที่ premotor ส่งสัญญาณไปที่ motor area
ทำให้หายจากการเป็นอัมพาตได้ไว้กว่าการฟื้นฟูแบบเดิม มีทำในเมืองไทยแล้ว
เพราะฉะนั้นเส้นทางของ เซลล์กระจกเงา อันดับแรกคือ copy cat
เลียนแบบโดยไม่รู้เรื่อง ถ้าเราจะเอามาใช้ประโยชน์ตรงนี้ก็ตรงกับสุภาษิตว่า
ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น คนโบราณสอนมาตลอด
- ทำให้เข้าใจ intention ของคนๆ นั้น พอเข้าใจ intention สิ่งที่ตามมา
ที่สำคัญที่สุดคือการพัฒนาการเรื่องภาษา และการสื่อสาร ภาษาเกิดจาก symbol
ทำแบบนี้แปลว่ากิน หลังจากนั้น มนุษย์มาใส่คำว่า กิน eat อะไรเข้าไป
ฉะนั้นภาษานี้เกิดมาจากการเห็นท่าทางของคนอื่นแล้วทำให้เกิดความเข้าใจเจตนา
แล้วเกิดการ communicate กันได้ ก็เป็นเรื่องของเซลล์กระจกเงา เพราะฉะนั้น
MNสามารถใช้ในเรื่อง language development แล้วนำไปสู่ literacy ได้ เป็น
communication skill development language อันนี้ก็คือ step ตรง mind
understanding ตัวอย่างเรื่อง seeing is doing และ hearing sound of action คือ
การเคี้ยวแอปเปิ้ล ขยี้กระดาษในการที่เขาทดลองทำ MN
บางส่วนที่ควบคุมการเคี้ยวของเราก็จะทำงาน สมมติว่าเรากำลังเคี้ยวแอปเปิ้ล
ได้ยินเสียงเปราะ กรุ่บๆ MN
ของเราที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมกล้ามเนื้อในการเคี้ยวก็จะทำงาน
หรือว่าขยำกระดาษ เสียงเดิน ปิดประตู ก็ทำกันเยอะ ตอนหลังลูกศิษย์ของ
เอียโคโปนี่ reading word of action ก็คือการผ่านคำที่บอกว่า ผมไปตีหัวคนๆ นี้
MN จะทำงานแบบนั้น แต่ว่าคำนั้นจะต้องแสดง Action
อย่างคำอุปมาอุปมัยที่เรียกว่า metabolic sentence ไม่ work ทดลองทำที่ UCLA
พวกนี้จะให้ MRI ทั้งนั้น เวลาทำบางอันก็ใช้ Psycho test ประกบด้วย
อันนี้คือเรื่องพัฒนาการของภาษา แม้แต่เราสมมติเราเคยเล่นเปียโนเพลงๆ นี้
มันก็มีการทดลองเล่นเปียโน เพลงๆ นี้ได้ เมื่อได้ยินเพลงๆ นี้
เสียงเปียโนเหมือนกัน เขาก็มาscan ดู พบว่าสมองส่วนที่ควบคุมนิ้วของเรามี
carrying แค่ได้ยินเพลงที่เราเล่นได้ แล้วก็ตอนหลังก็มีคนเอาไปใช้
ในการสอนเต้นรำ เต้นรำโดยให้นั่ง active observation เป็นชั่วโมง ไม่ได้เต้นเลย
แล้วเรื่องนี้ผมก็เคยเจอครูที่โรงเรียนเกริกพัฒน์นั่งดูเด็กเล่น สเก็ตบอร์ด
นั่งอยู่ 2 ช.ม. ผมรู้สึกว่าขาผมสั่น ผมก็เลยลองดู ผมก็เลยเล่นเป็น ใจกล้ามาก
มันก็อธิบายว่า MN ส่งผลต่อ corticoid spinal tract
- เป็นวิวัฒนาการ เป็นตัวการที่ทำให้เราแตกต่างจากลิง ก็เพราะว่าสัตว์บางชนิด มีเรื่อง MN copy ได้ แต่ว่าไม่มาถึงขนาดนี้ อย่างนกบางพันธุ์มันสามารถ copy เสียงพูดเราได้ แต่มันไม่เข้าใจว่ามัน คืออะไร มันก็ไปตามเรื่องของมัน ลิงก็มีความเข้าใจระดับหนึ่ง แต่ว่าน่าเป็นวิวัฒนาการที่แตกต่างของมนุษย์ หรือแม้พวกเราเห็นอาจารย์เราทำอะไรบางอย่าง หรือว่าขับรถ พวกเราผ่าตัด เราก็ copy เห็นอาจารย์ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า เดี๋ยวเดียวเราก็ลองทำ แรกๆ อาจจะเขอะเขิน ต่อไปเราก็เป็น หรือว่าการทำกิจกรรมที่เป็น movement ทั้งหลาย เป็น skill ทาง Facial skill ว่าจริงๆ เป็น imitative learning นี้คือที่เขาทดลองทำ ให้คนไข้ที่เป็นอัมพาต สมมติว่าอัมพาตแขนขวา หยิบอะไรไม่ได้เขาก็จะให้ดู VDO ว่าแขนขวากำลังหยิบแอบเปิ้ลขึ้นมากิน ให้ดู VDO แค่นั้น ไม่ต้องทำฟื้นฟูสมรรถภาพ และกายภาพ ปรากฏว่า ทำให้คนไข้หายจากการเป็นอัมพาตของแขนขวาได้ไวกว่าวิธีการปกติ มี report ปี 2007
ดร.ภัครตี นักกายภาพ อาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าคนไข้ที่ Ischemic stroke
เลือกมาจาก รพ.มธ. แล้วก็ใช้ตัวนี้ หายเร็วกว่า
กลุ่มเปรียบเทียบซึ่งใช้วิธีการแบบเดิมทั้งๆ ที่กลุ่มนี้ อุบัติเหตุโดยบังเอิญ
กลุ่มทดลองอายุมากกว่า ก็คือรายงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากสภาวิจัย
ตอนนี้กลุ่มนี้เดินต่อก็คือ จะนำเด็ก CP ที่มีอัมพาตส่วนล่างมาทำ
ตอนนี้อนุมัติโครงการแล้ว แล้วกำลังอยู่ในการพัฒนา VDO ว่า เด็กที่เป็น CP
และอัมพาตทั้ง 2 ขานี่ จะต้องทำ VDO แบบไหน นี่ก็คือโปรเจคที่ 2 มาใช้กับ movement
disorder ซึ่งก็เกิดคำถามว่าเด็กของเรามี movement disorder จำนวนมาก
แม้แต่คนแก่พวก พาซิมสัน ก็เป็น คำถามที่น่าจะนำมาใช้ ส่วนพฤติกรรมทั้งหลาย
เราก็เห็นว่าอันคือ persist นี่คือการทดลองของ อัลเบริ์ต เบนดูร่า social learning
theory ผู้ใหญ่ไปตีตุ๊กตาล้มลุก แล้วให้เด็กแอบดูอยู่ข้างนอก ที่เป็นห้องกระจก
เสร็จแล้วผู้ใหญ่เดินออกมาจากห้อง แล้วแกล้งเปิดประตูให้เด็กเห็น แล้วเด็กที่แอบดู
ก็เข้าไปแล้วก็ฟาดๆ ๆ สุดท้ายเขาก็สรุปเป็น social learning theory
ว่าเด็กเรียนรู้สิ่งที่ดีและไม่ดีจากผู้ใหญ่นี่แหละ
ทฤษฎี MN ได้รับรางวัล glory award เมื่อ 2007 พอปี 2008
ถ้าผู้ใหญ่ทำให้เด็กเห็น เด็กๆ ก็จะเรียนรู้ แปลว่าถ้าเราจะสร้าง model เด็กของเรา
model สำคัญมาก เพื่อให้เด็ก copy สรุปนี้ก็คือ Enriched Environment
ถ้าเราจะพัฒนาเด็กของเรา สิ่งที่ต้องระวังก็คืองานวิจัย MINS เขาพบว่า ปรีคอนทอม
คอนเทค เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเรื่องคุณธรรม ดอร์โซ่ เรคเชรอล ปรี ฟอนทรอม คอนเทค
มันจะเมคทัวร์ที่มี ไมเยอร์รินชีส มาหุ้ม หลังอายุประมาณ 20 แปลว่าก่อนหน้านี้
imitation มันจะไม่สามารถเลือกได้ ว่าจะ imitate อะไรดีหรืออะไรไม่ดี
หรือถ้าผู้ใหญ่เป็นแบบอย่างที่ไม่ดี
ทฤษฎีนี้อธิบายก็คือ
ถ้าพ่อแม่เข้าใจเขาแล้วสามารถที่แสดงท่าทางที่แสดงถึงเจตนาได้ มันสามารถสื่อสารได้
ทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ภาษาได้ เพราะเด็กแรกเกิดก็เรียนรู้แบบนี้
เขาไม่รู้หรอกว่าคนนี้เป็นพ่อแม่ แต่สักพักเขาก็เริ่มเข้าใจ เพราะว่ามันค่อยๆ
imitate เข้าไป แล้วเกิดความวางใจ อย่างเรื่องการเล่านิทาน อ่านหนังสือ MN
จะทำงานในตัวหนังสือที่แสดงถึง action แต่ในขณะเดียวกัน ภาพแบบนี้ (ดูภาพ)
ก็สามารถทำให้เกิด empathy ได้ เพราะว่า feeling ของคนแต่ละคนในภาพเด็กก็มองเห็น
และเหตุการณ์ทั้งหมดเด็กก็มองได้ว่า สองคนนี้กำลังฆ่าเด็กและผู้หญิง 2 คน
กำลังอ้อนวอนขอความช่วยเหลือ ความรู้สึกที่เกิดคือ empathy
แล้วเขาบอกว่าตัวนี้เมื่อไรก็ตามที่เรามีความรู้สึกว่าเราเจ็บปวด
มีอารมณ์ร่วมกับผู้หญิง 2 คนนั้น สงสารผู้หญิง 2 คนนี้
ทฤษฎีใหม่เชื่อว่านี้คือจุดเริ่มต้นของสิ่งที่เรียกว่า คุณธรรม
กลุ่มนี้ไม่เชื่อว่าคุณธรรมเกิดจากการสอนให้เห็นถูกเห็นผิด
ซึ่งถ้าย้อนมาที่ตรงนี้ก็น่าคิด
ในเด็กเล็กๆ Prefrontal contact ยังไม่ทำงานไม่เต็มที่
โอกาสที่จะคิดเรื่องของคุณธรรมที่มันคาบเกี่ยวมากๆ จะขาวก็ไม่ขาว จะดำก็ไม่ดำ grey
zone นี้เรื่องใหญ่ แล้วก็มีคนที่เจอว่าแม้แต่ผู้ใหญ่อย่างเรา
ถ้าเรื่องนั้นเกี่ยวกับตัวเราเมื่อไร เราจะใช้อารมณ์ตัดสิน อันนี้จาก maximum
instead ที่เยอรมัน แต่ถ้าเรื่องไม่เกี่ยวกับพวกเรา กฏเกณฑ์เป๊ะเลย ขาวเป็นขาว
ดำเป็นดำ ถ้าเกี่ยวกับเรา อารมณ์มาก่อน limbic system ทำงานก่อนทันทีเลย
เพราะฉะนั้น reading story telling เรื่องของคุณธรรม การอ่านหนังสือ
ทั้งตัวหนังสือทั้งภาพที่ประกอบ
นี่คือกลุ่มที่พยายามเสนอว่าคุณธรรมไม่ได้เกิดจากการเห็นถูกเห็นผิด
แต่เกิดจาก empathy paper กระแสเรื่องพัฒนาคุณธรรมกลายเป็น 2 กระแส กระแส cognitive
approve ของ โรเลนท์ โคลเบริ์ก โจมตีแรงมาก เขาเชื่อเรื่อง feeling เพราะฉะนั้น
empathy คือตัวการที่ทำให้เกิดคุณธรรม
เพราะฉะนั้นการที่รู้สึกเจ็บปวดกับความรู้สึกของคนอื่น ก็คือหัวใจของคุณธรรม
เราต้องมาคิดต่ออีกทีว่า การทำให้เกิดสิ่งเหล่าขึ้น เป็นของเราได้อย่างไร
งานวิจัยของหัวหน้าทีมที่ทำวิจัย MN
เขาทำการศึกษาโดยการที่ให้คนดูภาพคนถูกฉีกขาห้อยหัวบางคนดูภาพนี้แล้วบอกว่า
มีความรู้สึกเสียว บริเวณขาแปล๊บ ขึ้นมาเลย เกิดเจ็บปวดขึ้นมาเฉยๆ
เพราะฉะนั้นภาพแบบนี้ สามารถทำให้เกิด empathy ได้ มันก็มีหลายภาพ
สามารถทำให้คนที่ดูภาพสามารถย้อนกลับไปถึงความรู้สึกของคนที่เขียนถึงภาพนี้ขึ้นมาได้
มันเหมือนกับ process นี้ เราเป็นคนที่กำลังเขียนภาพอยู่ตรงนั้น feeling
แปรงที่ถูกตวัดภาพที่นำเสนอออกมา พูดง่ายๆ ว่าภาพที่เห็นจะกระตุ้น MN ของเรา
ทำให้เราสามารถที่จะ empathy เข้ากับเจตนาของคนวาดภาพนั้นๆ ได้
เดวิด ฟิดเบริ์ก เป็น professor ทางด้านศิลปะ เป็น นิวโร โลยิส
อยู่ที่อิตาลี ตอนนี้อยู่ที่ ม.โคลัมเบีย นิวยอร์ก ที่เดียวกับ อีริค อาเคนเดล
ที่ได้รับรางวัล Noble นี่คือ paper งานวิจัยของเขานี่นำเสนอมาอย่างน่าสนใจ
เพราะฉะนั้นก็แปลว่า ศิลปะ เข้ามามีส่วนตรงนี้ มันมีอะไรบางอย่าง
หลังจากนั้นก็มีงานวิจัยพวกนี้ออกมาเยอะ นี่คือสิ่งที่ผมบอกว่า MN ส่งมาที INSURA
แล้วก็ที่ limbic system แล้วทำให้เรารู้สึกว่า feel the emotion ของคนๆ นั้น
รู้สึกว่าเขาคิดยังไง อันนี้ก็คือสิ่งที่เราเรียกภาวะ empathy
(พูดถึงหนังสือของเอียโคโปนี่ ตีพิมพ์ 5 ภาษา มีขายในประเทศไทย)
เรื่อง sympathy และ empathy Adam smith (1759)
เป็นคนแรกที่พูดไว้นานแล้วว่า ถ้าคุณไม่เข้าใจความรู้สึกของคนที่ทุกข์ยาก
ไม่มีความรู้สึกว่าเขาทุกข์ยากอย่างไร คุณไม่มีทางที่จะเห็นใจคนเหล่านั้นได้
นี่ก็คือจุดเริ่มต้นของสิ่งที่เรียกว่า empathy ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ Adam smith
ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ เขาเสนอ Theory of moral sentimental
แต่เขามาดังเรื่องทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ อันนี้เป็นทฤษฎีแรก ซึ่งพอกลุ่ม MN มาเห็นตรงนี้
ก็จับมาโยงกัน ทำให้ดูว่าบางทีก็มีคนคิดมาก่อนแล้ว
อีกทฤษฎีที่ MN พยายามทำความเข้าใจกับ Autistic อันนี้เป็นงานของ เอียโคลโปลี กับเมียเขา ซึ่งเป็นนักจิตยาชื่อว่า มิเลน่า ดัมเป็ดโต้ เขาไปศึกษาว่าเด็กที่เป็น Autistic ยิ่งมี ... นี่คือเครื่องมือวัดความสูญเสียทางสังคมของเด็กออร์ทิสติก SDI ADOS ยิ่งคะแนนอันนี้สูงเท่าไร ไฟลิ่งของ MN ยิ่งลดลง เขาถึงสรุปมี evident ที่ชัดเจน จากงานของหลายๆ คนว่า เบรก หมายถึง ความบกพร่องของเซลล์ MN นี่แหละเป็นสาเหตุของ Autistic ถ้าสมมติว่าลูกหลานเราเป็นเด็กออร์ทิสติก ไม่ต้องไปตรวจ เพราะถ้า MN ทำงานได้ดี มันน่าจะแก้ปัญหาอันนี้ได้ ตอนนี้ทางมหิดลได้เครื่อง TMS มา จึงได้ชวนมาศึกษาเรื่องนี้ พวกเรากลุ่มที่สนใจเรื่องนี้มาจากกลุ่มเล็กๆ ว่าด้วยเรื่อง MN เช่น ดร.ขัตติยา รัตนดิลก จากกระทรวงยุติธรรม จบ PH.D psychology แต่ Take course neuron Phychology ... อยู่ นานพอสมควร ก่อนจะกลับมาเมือง เป็นผู้ที่เข้าใจเรื่อง MN แล้วก็คุยเรื่องนี้ได้อย่างดี
MN จากงานของ Jesse Prinz(2005) และ Susan herry ว่า ถ้าเราพัฒนาคุณธรรมโดยเรื่องของสอนถูกสอนผิด มันจะมีจุดอ่อนคือ ในคนที่มีอายุต่ำกว่า 20 มันจะมี measure ในเรื่องของการตัดสินถูกผิด อาจจะยังไม่ดี แล้วโลกทุกวันนี้ ขาวกับดำที่เห็นชัด มันก็แคบลงทุกที มันมี gray zone เข้ามา เป็นไปได้ไหม เราจะพัฒนาเรื่องนี้โดยใช้ feeling เข้ามาช่วย จะมีอยู่ในเอกสารนี้ ที่จริงๆ Johanna อธิบายคำว่า empathy โดยใช้ให้ น.ศ.แพทย์ หรือว่าแพทย์ประจำบ้านอ่านวรรณคดี แล้วก็วิจารณ์ ในขณะที่วิจารณ์ แต่ละคนวิจารณ์ด้วยความรู้สึก ว่าคิดอย่างไร เห็นอย่างไร แล้วอธิบายออกมา ทุกคนก็จะเห็น point of view แต่ละคนที่วิจารณ์ ซึ่งตรงนี้จะทำให้เกิด empathy ของแต่ละคนได้ ซึ่งเขาก็ใช้กับงานศิลปะและวรรณคดี แต่ในเด็กผมมองว่าแทนที่เราจะใช้สอนเด็กเหมือนอย่างที่ศูนย์คุณธรรมมองว่าความดีคืออะไร เห็นถูกเห็นผิดเด็กก็จำได้ แต่ emotion มันไม่มี immoral inside มันไม่มีความรู้สึกว่าถ้าคุณทำถูกทำผิด คนอื่นจะรู้สึกอย่างไร
ความรู้เหล่านี้ทำให้เกิดความชัดเจนว่ามีหลายอย่างที่เดิมเราบรรยายคล้ายๆ กับเป็นปรากฏการณ์ แต่ข้างในคืออะไรไม่รู้ ตอนนี้จึงเริ่มรู้ ผมเสนอก็คือเรื่อง ทำยังไงจึงจะให้เด็กของเราสามารถที่จะสัมผัส feeling ให้ได้ เพราะสุดท้ายเกิด empathy เช่น โรงเรียนวิถีพุทธ หรือโรงเรียนอะไรที่เน้นเรื่องการให้สัมผัสไวต่อความรู้สึกของผู้อื่น Empathy มันเกิด ผมไปสอนวิทยาลัยการสธ. ทั่วประเทศเรื่องการอ่านมา ปีที่ 5 สิ่งที่เราไม่พบเลยในน.ศ.เหล่านี้คือ ให้อ่านวรรณคดี แม้แต่ ชีวัน วิสาสะ ยังตกใจ ว่า ทำไมพวกนี้เขาไม่มี feeling เขาไม่รู้สึกรู้สากับความรู้สึกของผู้อื่นเลย ขนาดที่ ชีวัน สอน อ่านวรรณคดีบางเรื่อง อ่านหนังสือบางเรื่อง อ่านแล้วแบะ น้องรู้สึกอย่างไร ทั้งหมดเต็มไปด้วยเหตุและผล ผมบอกคุณว่าจะเป็นหมอน้อยอยู่ไม่กี่วัน คุณยังไม่มี feeling คุณยังไม่ sense กับความรู้สึกของคน คุณจะไป sense ความรู้สึกของผู้เจ็บป่วยได้อย่างไร เรื่องนี้ผมถึงต้องคุยเรื่องหลักสูตรของกระทรวงฯ หลักสูตรพยายาบาล
ทั้งหมดคือข้อเสนอที่นำทฤษฎี MN มาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
[คุณธรรม...ไม่มีเหตุผลที่จะตอบ....อารมณ์.... ? ถ้าไม่เกิดอารมณ์ เช่นหมอผ่าตัด
เอามีกรีดแล้วไม่รู้สึก ....จะเกิดอะไรขึ้นถ้าไม่มี feeling]
ถ้าเซลล์กระจกเงามีอยู่ แต่ว่ามันไม่ถูกกระตุ้นหรือบกพร่องไป
เซลล์สมองมนุษย์ความยืดหยุ่นมันสูง โดยเฉพาะช่วงวัยต้นๆ ถ้ากระตุ้น
สมมติว่าถ้ากระตุ้นให้ imitate อยู่เรื่อย ๆ จะทำให้เกิดการทำงานเพิ่มมากขึ้น
ที่ถึงขึ้น empathy เพราะว่า artistic หัวใจก็คือ socialization ship
ถ้าเซลล์สามารถ imitate แล้วเลยไปถึงขั้น empathy ได้ ซึ่งที่เรียกว่า
socialization ship อาจจะกลับมา
สจ๊วด บราวด์ ในหนังสือ play กล่าวถึง เวลาที่เด็กเล่นด้วยกัน
สุดท้ายคือการแลกเปลี่ยน point of view interaction ของเด็ก ทำให้ MN ทำงาน
(ผมอธิบายเอง เพราะ สจ๊วดไม่พูดถึง MN) แต่ สจ๊วด review งานในเรื่อง play
ทำให้เห็นมุมมองได้เลยว่านี่คือ คำตอบที่สำคัญ ที่เราจะทิ้งไม่ได้
พอเวลาที่เด็กเล่นด้วยกันก็เหมือนกับที่เราพูดคุยกัน เราแลกเปลี่ยนกัน แต่เป็น
action สำหรับเด็ก สุดท้ายไม่ว่า รีไซท์เลี่ยน ไม่ว่าความสามารถทางคณิตศาสตร์
การแก้ปัญหาระหว่างคนความสัมพันธ์พวกนี้ มันตีกันหมดเลย เพราะฉะนั้น
ทำอย่างไรที่เราจะเข้าใจกิจกรรมเหล่านี้ของคนในสังคมไทย
ซึ่งสจ๊วดเขียนไว้อย่างชัดเจนว่า play is play และ play เท่ากับ Fun ถ้าที่ play
ที่ได้ความรู้อย่างที่ผู้ใหญ่พูดกัน นั้นไม่ใช่ play เพราะ play คือ
เด็กต้องอยากเล่น เล่นแล้วสนุก ไม่มีเวลา กระหายอยู่ตลอดเวลาที่จะได้เล่น
ที่เรียกว่า Free play
ซึ่งเริ่มต้นจาก กรณีเหตุการณ์ นศ.ที่เท็กซัส ยิงคนอื่นตายไป 40 กว่าศพ
และฆ่าตัวตายตาม สจ๊วด บราวด์ เริ่มศึกษาตั้งแต่ พ.ศ. 2509 จนถึงทุกวันนี้
ก็ทำอยู่เรื่องเดียว และพบว่าคดีเหล่านี้ที่เกิดขึ้น co factor มีอยู่ 2 เรื่อง 1.
เด็กพวกนี้เกิดจากครอบครัวมีปัญหา 2.ไม่มีประวัติ free play ซึ่งน่าตกใจมาก
อธิบายได้ว่าการที่เล่นแบบนี้ คนที่เล่นแบบนี้ วันนี้ไม่พอใจ พรุ่งนี้ก็ง้อกัน
เพราะไม่อย่างงั้นไม่มีคนเล่นด้วย นี่แหล่ะคือ ทักษะ โกรธแล้วพร้อมที่จะง้อ
ตีกันคืนดีกัน รู้จักโกรธ รู้จักงอน ง้อ รู้จักปรับตัวเอง แก้ไขสถานการณ์
แต่คนที่ไม่มีประสบการณ์ free play เมื่อโกรธแล้วไม่สามารถปรับตัวได้
จึงแตกหักไปข้างหนึ่งนี่คือสิ่งที่เขาพยายามอธิบาย ดังนั้นเรื่อง play
จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ
จากการประชุม คณะกรรมการประสานนโยบายการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 3/2552
วันที่ 3 ธ.ค. 52 นพ.อุดม เพชรสังหาร ได้นำเสนอประเด็นทางวิชาการ
ทฤษฎีเซลล์กระจกเงา ว่าเป็นเครื่องมือเรียนรู้ของมนุษย์ โดยหลักสำคัญ 3 อย่างคือ
- ทำให้เราเป็นคน
- ทำให้เราเข้าใจความเป็นคน โดยผ่านกระบวนการที่เรียนว่า Imitation ซึ่งน่าจะมีความหมายใกล้เคียงกับ Identification ทางจิตวิเคราะห์ แต่ในที่นี้ Imitation หมายถึงการลอกเลียนแบบเชิงลึกทางอารมณ์ รู้สึกนึกคิดความเข้าใจในสภาพของคนๆ นั้น และยังทำให้มนุษย์มีวิวัฒนาการเหนือกว่าสัตว์คือ 1) ด้านภาษา การเลียนแบบ 2) การถ่ายถอดศิลปะ วิทยาการ วัฒนธรรม ภูมิปัญญา จากรุ่นสู่รุ่น ทำให้เราสามารถสั่งสมความรู้มากขึ้น
- ทำให้เข้าใจผู้อื่น ทำให้เกิดความร่วมมือหรือเข่นฆ่ากันได้ ทำให้สังคมมีความเข้มแข็งหรืออ่อนแอได้ เพราะฉะนั้น กลไกที่ทำให้เกิด Imitation เราก็รู้ว่าลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น เมื่อค้นพบความรู้เหล่านี้ขึ้นมา ก็ทำให้เกิดการศึกษาเรื่องนี้ลึกมากขึ้น และเราควรระวังคือวิธีการทำงานที่เราใช้พัฒนามนุษย์อยู่ตอนนี้ หลายเรื่องที่ทฤษฎีนี้บอกว่าผิด ทำไปก็ไม่ได้ผลอะไร ทำให้เราต้องหันกลับมาทบทวนวิธีการทำงาน ทำให้เราเดินเข้าไปหาคำตอบใหม่ๆ ในปัญหาเดิมๆ ที่เราพบเจออยู่ การเข้าใจเรื่องเหล่านี้ ทำให้เข้าใจคนไข้ทางด้านสมอง จาก Seeing is Learning นำมาสู่การรักษาผู้ป่วยอัมพาต (จากงานวิจัยของสภาวิจัย) คือ ให้ผู้ป่วยดูและสังเกตภาพจากวีดีทัศน์เพื่อฟื้นฟู พบว่า การดูและการสังเกตแบบนี้ ทำให้ผู้ป่วยหายจากอัมพาตได้เร็วกว่าวิธีการฟื้นฟูแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นรายงานชิ้นที่ 3 ของโลก และเป็นชิ้นแรกของประเทศไทย โดย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ได้รบรางวัลดีเด่นจากสภาวิจัย ในขณะนี้กลุ่มนี้ยังทำการศึกษาฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กสมองพิการ (Cerebral Palsy) โดยใช้หลักการทำงานของเซลล์กระจกเงา และกำลังทำต้นแบบเรื่องการเคลื่อนไหวอยู่
การเข้าใจผู้อื่นทำให้เราเข้าใจตัวเอง และนำมาสู่สัมพันธภาพ เช่น
การศึกษาในเด็กพิเศษ ทำให้เข้าใจชัดเจนว่า มีส่วนเกิดจาก เซลล์กระจกเงา
นำความรู้มาใช้พัฒนาพฤติกรรมมนุษย์ได้ เช่นในการพัฒนาการเด็ก
ในโรงเรียนอนุบาล ครูเป็นอย่างไรเด็กเป็นอย่างนั้น เด็กเลียนแบบ
เราสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม พัฒนาการเรื่องภาษา เช่น
เกิดการถ่ายทอดวัฒนธรรม เด็กเห็น เกิดความเข้าใจในเจตนา เกิดการซึมซับ
และปฏิบัติตามเป็นแบบอย่าง อย่างนี้ เป็นต้น
มนุษย์เรียนภาษาจากการเห็นไม่ได้เริ่มต้นจากไวยากรณ์ เกิดความเข้าใจในเจตนา
นำมาสู่การพัฒนาการเด็ก ด้านภาษา ซึ่ง Bookstart นำการเล่านิทาน
การอ่านหนังสือให้เด็กฟัง สามารถอธิบายด้วยทฤษฎีนี้ได้อย่างชัดเจน
เซลล์กระจกเงาจึงเป็นมิติใหม่ ในการพัฒนาการของการเข้าใจมนุษย์ เช่น
วงการโฆษณานำมาใช้ บริษัทไทยประกันชีวิตเป็นตัวอย่างที่ดี
เป็นตัวการให้เกิดความจงรักภักดีต่อสินค้า ในงานวิจัยทางด้านการตลาด
- ศ.นพ.ประเวศ วะสี ให้ความคิดเห็นว่า สิ่งสำคัญคือ การปรับการศึกษาจากท่องจำ
มาเน้นทางการปฏิบัติมากขึ้น วิธีการเรียนรู้ 95% เกิดจาก unconscious
เพราะเห็นการปฏิบัติ ยกตัวอย่าง ลูกนก ทำไมไม่ตกต้นไม้ตาย
เพราะมันเห็นพ่อแม่บิน เน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ง่ายกว่าเยอะ
การเรียนรู้ในฐานวัฒนธรรม ง่ายว่า เรียนรู้ในฐานวิชาการ
- นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เพิ่มเติมว่า แม้ว่าทางด้านการศึกษาจะชัดเจน
เราควรหาโอกาสเรียนรู้ให้มากขึ้นว่ามีใครนำไปใช้ทำอะไรบ้าง เช่น รักษาโรค
อาจจะไม่เกี่ยวกับเราโดยตรง หรือเราอาจจะไปทำกับศูนย์เด็กเล็กก็ได้
เพราะเด็กเน้นเรื่องเรียนที่ต้องการเรียนต่อได้
แต่ไม่ได้สนใจเรื่องการเรียนรู้จากการปฏิบัติ การพัฒนาบุคลิกภาพ พัฒนานิสัย
พัฒนาสังคม
- นพ.อุดม เพชรสังหาร เสนอว่า การนำไปสู่นโยบายการคัดสรรพี่เลี้ยงเด็กอย่างจริงจังมากขึ้น มีทิศทางมากขึ้น เช่น ในช่วง 3 ขวบปีแรกนั้น คุณสมบัติของพี่เลี้ยงควรเป็นอย่างไร ซึ่งสามารถให้ความรู้แทนพ่อแม่ได้ ถ้าความรู้เรื่อง เซลล์กระจกเงาชัด และกรรมการนโยบายเข้าใจ รับลูก ในเชิงนโยบายที่ทำได้ คือ เรื่องของการคัดสรรพี่เลี้ยงเด็ก จะทำด้วยความมั่นใจมากขึ้น ตามสถานการณ์ที่เป็นจริงของสังคมไทย