ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป  >>

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฏ์

จากหนังสือ เนติบัณฑิตยสภาในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิมพ์เนื่องในงานพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฏ์ ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 75 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และสมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทร์มาตา ประสูติ เมื่อเดือนยี่ ขึ้น 5 ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช 1227 ตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม 2408 ร.ศ. 84 หรือ ค.ศ. 1865ทรงได้รับการเฉลิมพระนามจากพระราชบิดาว่า“สวัสดิโสภณ”มีฐานันดรเป็นพระองค์เจ้า ทรงเป็นต้น ราชสกุล “สวัสดิวัตน์”

สมเด็จกรมพระสวัสดิ์ฯ ทรงมีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีร่วมพระมารดาเดียวกันนี้
1) พระองค์เจ้าชายอุณากรรณอนันตนรไชย
2) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการฯ (พระองค์เจ้าชายเทวัญอุไทยวงศ์) ทรงเป็นต้นราชสกุล “เทวกุล”
3) สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ (พระองค์เจ้าหญิงสุนันทากุมารีรัตน์)
4) สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (พระองค์เจ้าหญิงสว่างวัฒนา)
5) สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพระพันปีหลวง (พระองค์เจ้าหญิงเสาวภาผ่องศรี)
6) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฏ์ฯ (พระองค์เจ้าชายสวัสดิโสภณ) ทรงเป็นต้นราชสกุล “สวัสดิวัตน์”

ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นในพระบรมมหาราชวัง ในวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ รวมทั้ง วิชาคำนวณ และวิชาประกอบอื่นๆ เหมือนอย่างเจ้านายทุกพระองค์ในสมัยนั้น ต่อมาหลังจากที่ได้ทรงลาสิขาจากสามเณรแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 5 ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ ทรงเข้าศึกษาวิชากฎหมายที่สำนักเบลเลียลแห่งมหาวิทยาลัย อ๊อกซฟอร์ด ทรงศึกษามีความรู้ประมาณชั้นกลางก็ทรงมีพระบรมราชโองการฯ ให้เรียกกลับหลังจากที่เสด็จกลับถึงประเทศสยามแล้ว ซึ่งขณะนั้นมีพระชันษาย่างเข้า 21ปี พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศึกษาระเบียบธรรมเนียมประเพณีทางราชการ และกฎหมายไทย พระองค์ท่านได้พากเพียรพยายามศึกษาด้วยพระองค์เองด้วยความสนพระทัยยิ่ง แล้วนำมาเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศโดยเฉพาะของอังกฤษ เป็นเหตุให้เปลี่ยนแนวโน้มทางความคิดเห็นและทัศนคติมาเป็นแบบไทยมากขึ้นเมื่อทรงศึกษาค้นคว้ากฎหมายไทยไปได้ระยะหนึ่งแล้วปรากฏว่าทรงมีความรู้กฎหมายไทยดีขึ้นเป็นลำดับพระองค์ท่านมักจะวางพระองค์และมีความคิดเห็นอย่างนักนิติศาสตร์ที่แท้จริงอยู่เสมอ มักจะทรงพยายามฝึกสอนอบรมให้ ผู้ที่ใกล้ชิดพระองค์กรท่านเป็นนักกฎหมายหรือมีความคิดอย่างนักกฎหมาย และชอบศึกษากฎหมายไปด้วย


ระหว่างที่ยังประทับศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษทรงมีชื่อเสียงเลื่องลือว่าเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม ทรงมีความรู้ภาษาอังกฤษดีมาก มีผู้กล่าวว่าตรัสได้ชัดเจนเหมือนฝรั่งทรงเป็นผู้ขยันหมั่นเพียร กว้างขวาง ในทางสังคม ทรงมีความรู้เฉียบแหลมในทางวิชาการทรงสันทัดภาษาอังกฤษและกฎหมายมากเป็นพิเศษ ในวงสนทนาต่างๆ มักมีผู้ได้ยินพระองค์ท่านรับสั่งอ้างอิงหลักกฎหมายอยู่เป็นเนืองนิจ ด้วยพระปรีชาสามารถและความปราชญ์เปรื่องเป็นเหตุให้ได้ทรงร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานสำคัญของชาติมากมาย มีอาทิเช่น ทรงร่วมกับเจ้านายและข้าราชการสำคัญในสถานทูตไทยที่ประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส กราบบังคมทูลเสนอแนะให้แก้ไขราชการแผ่นดิน เมื่อ ร.ศ. 130 (2427) เนื้อหาในข้อเสนอแนะมีความยืดยาวละเอียดพิสดารหลายสิบหน้า เต็มไปด้วยเหตุผลและความเป็นมา ข้อพึงปฏิบัติและพึงแก้ไข ได้กล่าวสรุปเสนอว่า ความปฏิรูปการปกครองของสยามประเทศเป็นคอนสติติวชันตามบันทึกของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ซึ่งทรงกล่าวว่า ได้ปรึกษาเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่หลายท่าน ก็ได้ทรงรับรองว่าเป็นความเห็นของสมเด็จ กรมพระสวัสดิ์ฯ มากข้อ เมื่อรวบรวมเรียบเรียงคำกราบบังคมทูลแล้ว สมเด็จกรมพระสวัสดิ์ฯ ยังได้ทรงร่วม แก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมด้วย หากศึกษาเนื้อความในหนังสือกราบบังคมทูลโดยละเอียดแล้ว จะพบ ข้อคิดเห็นเรื่อง ผลบังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ การยกเลิก แก้ไข ตั้งขึ้นใหม่ ในเรื่องบทบังคับกฎหมายในสยามประเทศ การเปลี่ยนแปลงแบบธรรมเนียมการปกครองเป็นคอนสติติวชันด้วย ซึ่งในบรรดา ผู้ลงพระนามและนามในหนังสือกราบบังคมทูลทั้งหมดคงมีผู้ศึกษาวิชานิติศาสตร์โดยตรงก็แต่เพียงสมเด็จ กรมพระสวัสดิ์ฯ พระองค์เดียวเท่านั้น

เมื่อเสด็จกลับถึงสยามในปี ร.ศ. 105 (พ.ศ. 2429) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จกรมพระสวัสดิ์ฯ ทรงผนวชเป็นนาคหลวงจำพรรษาอยู่วัดราชาธิวาส ระหว่างที่ ทรงผนวช ทรงขยันหมั่นเพียรศึกษาพระปริยัติธรรมและเคร่งครัดในพระวินัยอย่างยิ่ง ทรงสามารถท่องจำและแปลปาติโมกข์ได้อย่างแคล่วคล่องเมื่อครบพรรษาแล้วก็ทรงลาผนวช และทรงเข้ารับราชการต่อมา

ทรงเริ่มรับราชการครั้งแรกราวปีจุลศักราช 1248 ซึ่งตรงกับ ร.ศ. 105 หรือ พ.ศ. 2429 มีพระบรม ราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น กอมมิตตี กรมพระนครบาลมีอำนาจอย่างเสนาบดี งานของกรมพระนครบาลก็คืองานปกครองท้องที่ในเขตนครหลวงทรงเป็นตุลาการศาลกรมพระนครบาลด้วย เนื่องจากได้ทรงศึกษาวิชากฎหมายมีความรอบรู้มาอย่างดีแล้วปรากฏว่าตลอดระยะเวลาที่ทรงเป็นกอมมิตตีนั้น ได้ทรงพิจารณาพิพากษาคดีเป็นที่พอใจแก่คู่ความเป็นอันมาก ทำให้ชื่อเสียงเกียรติคุณด้านรักษาความยุติธรรมของพระองค์ท่านเป็นที่ประจักษ์แก่คนทั่วไป ในการพิจารณาพิพากษาคดีความทรงชั่งน้ำหนักคำ พยานหลักฐานอย่างละเอียดรอบคอบเป็นอันมาก จนเป็นที่แน่พระทัยจริงๆ แล้วจึงทรงตัดสินชี้ขาดหรือแสดงความคิดเห็นออกไป ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุให้ข้อวินิจฉัยในคำพิพากษาหรือคำตัดสินของพระองค์ท่านได้รับความเคารพและนับถือกันทั่วไปในวงการนักนิติศาสตร์ โดยเฉพาะคดีอาญาแล้วทรงยึดถือสุภาษิตลาติน ซึ่งทรงท่องจำไว้ได้จนขึ้นพระทัยเสมอว่า “In criminalibus probationes debent esse luce clariores.” ซึ่งแปลว่า “ในคดีอาญาข้อพิสูจน์ควรแจ่มใสยิ่งกว่าแสงสว่าง” ด้วยสุภาษิตบทนี้เองในการพิจารณาการกระทำความผิดของจำเลย หากมีข้อที่ยังเคลือบแคลงสงสัยไม่แน่ชัด ต้องทรงยกประโยชน์ให้จำเลยปล่อยตัวให้พ้นข้อหาไป และได้ทรงนำมากล่าวเป็นโวหารใหม่ในคำพิพากษาศาลกรมพระนครบาลว่า “ปล่อยผู้ผิดเสียสักสิบคน ก็ยังจะดีกว่าจะลงโทษ คนที่หาผิดมิได้คนหนึ่ง”วาทะอันนี้พระองค์ท่านเป็นคำคมในวงการนักนิติศาสตร์ อันสำคัญยิ่ง มีผู้หยิบยกกล่าวอ้างในสมัยหลังเรื่อยมา จนมีผู้เข้าใจว่าเป็นสุภาษิตกฎหมายที่แปลมาจากภาษาลาตินหรืออังกฤษ แต่ในหนังสือสุภาษิตกฎหมายหลายเล่มก็ไม่ปรากฏว่ามีสุภาษิตบทนี้เลย นับได้ว่าพระองค์ท่านได้สร้างคำคมจนเป็นสุภาษิตของกฎหมายไทยน่าที่จะเป็นสิ่งหนึ่งที่นักกฎหมายไม่ควรจะลืม

ในระหว่างที่ทรงรับราชการได้ทรงบำเพ็ญคุณประโยชน์แก่วงการกฎหมายไทยนานัปประการ อาทิ ทรงเป็นผู้ริเริ่มจัดวางระเบียบการบริหารงานกระทรวงยุติธรรม ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมพระองค์แรก ทรงเป็นอธิบดีศาลฎีกาพระองค์ที่หนึ่ง ตามแผนงานการปรับปรุงการศาลยุติธรรมใหม่ ประทานกำเนิดการเรียกตำแหน่งประมุขตุลาการ ประทานกำเนิดการเรียกขานผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมายว่า “เนติบัณฑิต” ประทานกำเนิดชื่อหนังสือ “บทบัณฑิต” ของเนติบัณฑิตยสภา ทรงริเริ่มและเป็นกำลังสำคัญในการก่อตั้ง เนติบัณฑิตยสภาทรงริเริ่มกรมอัยการ ทรงดำรงฐานะสมาชิกกิตติมศักดิ์แห่งเนติบัณฑิตยสภาเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2457 ทรงเป็นอาจารย์สอนกฎหมาย ทรงเป็นเจ้าของทัศนคติในการวินิจฉัยคดีจนกลายเป็นแบบอย่างของสุภาษิตกฎหมายที่ใช้มาจนปัจจุบันนี้ ทรงปรับปรุงวางระเบียบให้ระบุชื่อผู้แต่ง ผู้เขียนคำคู่ความ คำร้องต่างๆ ที่ใช้ในการพิจารณาคดี

สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับงานที่ทรงริเริ่มการจัดวางระเบียบการบริหารงานกระทรวงยุติธรรมนั้น สืบเนื่องจากในระหว่างที่ทรงเป็นกอมมิตตีกรมพระนครบาลอยู่ได้ทรงแสดงพระปรีชาสามารถอย่างประจักษ์ เป็นที่ พอพระราชหฤทัยและทรงเชื่อมั่นว่า สมเด็จกรมพระสวัสดิ์ฯ ทรงเป็นผู้สมควรกับการที่จะเป็นผู้จัดการ ราชการศาลยุติธรรมแผนใหม่ได้ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณกำหนดไว้ในเบื้องต้นว่าจะให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมเป็นกระทรวงที่จัดตั้งขึ้นใหม่ เพื่อรวมศาลยุติธรรมไว้ในที่แห่งเดียวกัน แต่ด้วยเหตุที่กระทรวงยุติธรรม เป็นกระทรวงที่จะต้องจัดตั้งขึ้นใหม่ทั้งหมด ไม่เคยมีงานในรูปกรมมาก่อนแล้วขยายเป็นกระทรวง เพื่อจะได้เห็นแนวแผนงานในเดือนกรกฎาคม ร.ศ.109 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จกรมพระสวัสดิ์ฯ ร่างแผนงานจัดตั้งกระทรวงยุติธรรมมาสู่ที่ประชุมของคณะเสนาบดีซึ่งขณะนั้นยังครองตำแหน่งในรูปกรมใหญ่ๆ เพื่อพิจารณาดูก่อน

เมื่อได้รับพระบรมราชโองการฯ สมเด็จกรมพระสวัสดิ์ฯ ก็ได้ทรงร่างหนังสือรายงานกราบบังคมทูลเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ร.ศ. 109 ตามหนังสือรายงานนี้ได้ทรงแสดงแนวความคิดอย่างกว้างขวาง มีแนวเสนอให้จัดตั้งหน่วยในกระทรวงกลาง ซึ่งมีปลัดทูลฉลองเป็นหัวหน้า แบ่งเป็น 3 กอง คือ กองร่าง กองรับส่งหนังสือ กองรายงาน แล้วมีกรมเก็บรักษาหนังสือ แบ่งเป็น 2 กอง มีกรมคลังประกอบด้วยกองบัญชีเงิน กองจ่าย กองเก็บรักษาเงิน มีกรมรับฟ้อง ซึ่งให้มีอธิบดีบังคับบัญชา แบ่งงานเป็น 3 กอง มีกรมออกหมายและเก็บรายงานมีเจ้ากรมเป็นหัวหน้า ได้ทรงเสนอแนะให้ตั้งกรมอัยการและเนติบัณฑิตยสภาด้วย นอกนั้นเป็นข้อเสนอเรื่องตั้งศาลยุติธรรมต่างๆ พร้อมกับแนบบัญชีตำแหน่งเงินเดือนข้าราชการตั้งแต่ปลัดทูลฉลอง เจ้ากรม ปลัดกรม อธิบดี ผู้พิพากษา เสมียน พนักงานอีกด้วย ข้อเสนอแนะตามหนังสือกราบบังคมทูลนี้ได้นำเข้าสู่ที่ประชุมคณะเสนาบดี เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ร.ศ. 109 ที่ประชุมยังไม่อนุมัติหรือยังไม่เป็นที่ตกลง สมเด็จกรมพระสวัสดิ์ฯ ได้ทรงพยายามแก้ไขข้อบกพร่องในแผนงานครั้งแรกทั้งได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ

ผลที่สุดได้ทรงทำหนังสือกราบบังคับทูลอีกครั้ง เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ร.ศ.110 ก่อนหน้าวันออกประกาศจัดตั้งกระทรวงยุติธรรม 1 วัน ตามหนังสือกราบบังคมทูลได้ทรงแสดงทัศนะการจัดการบริหารกระทรวงยุติธรรม และศาลยุติธรรมตามวิธีการใหม่ซึ่งจะจัดทำทันก่อน ส่วนการตั้งกรมอัยการและเนติบัณฑิตยสภานั้นทรงงดไว้ดำเนินการในภายหลัง คำกราบบังคมทูลฉบับนี้ดูเหมือนจะทำขึ้นพร้อมกับประกาศจัดตั้งกระทรวงยุติธรรม เพราะมีแนวทางและลักษณะคล้ายคลึงกัน ซึ่งประกาศจัดตั้งกระทรวงยุติธรรมก็ได้ประกาศในวันต่อมานั้นเอง นอกจากนี้ยังได้ทรงแนบบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการตำแหน่งต่างๆ ตั้งแต่เสนาบดีจนถึงนักการภารโรง พร้อมกันนี้ก็ได้เสนอแนะกำหนดตัวบุคคลแนบมาด้วยหนังสือกราบบังคมทูลฉบับนี้จึงเป็นที่มาแห่งการจัดตั้งกระทรวงยุติธรรม เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ทรงรับหนังสือกราบบังคับทูลแล้ว ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มีพระราชหัตถเลขา สั่งการด้วยดินสอ ตามความที่ได้นำเสนอตอนที่แล้ว

อนึ่ง ภายหลังจากที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี พ.ศ. 2475 แล้ว สมเด็จกรมพระสวัสดิ์ฯ ได้เสด็จไปประทับที่เกาะปีนังจนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 ทรงมีพระชันษาได้ 70 ปี ในโอกาสต่อไปจะได้นำเสนอ โวหารในการพิพากษาคดีของพระองค์ท่าน ในหลายๆคำพิพากษาที่ละเอียดรอบคอบและเป็นแบบอย่างของคำที่ใช้ในภาษากฎหมายหรือที่ใช้เขียนในคำพิพากษามาจนปัจจุบันนี้

***ผอ.สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

🍁 สงครามมหาเอเซียบูรพา
ญี่ปุ่นได้ประจักษ์แน่ชัดว่า สงครามโลกครั้งที่สอง จะต้องเกิดขึ้นอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง เป็นโอกาสที่ญี่ปุ่น จะบุกเข้าทางดินแดนในอาณานิคมของชาติผิวขาว ในทวีปเอเซีย จึงได้ให้กองทัพญี่ปุ่นยับยั้งการรบในประเทศจีน

🍁 สงครามเกาหลี
กองทัพเกาหลีเหนือประกอบด้วย กำลังทหารราบในแนวหน้า 7 กองพล กองหนุน 3 กองพล มีกำลังประมาณ 60,000 คน ได้เคลื่อนกำลังผ่านเส้นขนานที่ 38 ลงมายังสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) อย่างจู่โจมโดยที่เกาหลีใต้ไม่ทันรู้ตัว

🍁 โหราศาสตร์ไทย
วิชาที่ใช้ทายกาลล่วงหน้าหรือดูการล่วงหน้า ใช้สำหรับพยากรณ์ผลกรรมของมนุษย์โดยอาศัยดวงดาวเป็นเครื่องพยากรณ์

🍁 การเมืองการปกครอง
ถ้าไม่อยู่ในฐานะผู้ปกครองก็จะอยู่ในฐานะผู้ถูกปกครอง เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีความจำเป็นที่มนุษย์จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการเมืองการปกครองตามอัตภาพของตน

🍁 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาประชาธิปไตย
กลไกหลักของสังคมไทยที่จะผลักดันให้เกิดความเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

🍁 โสฬสปัญหา
ธรรมชั้นสูงในพระพุทธศาสนา มีความลึกซึ้งทั้งในด้านอรรถะ คือ ความหมายทั้งในด้านพยัญชนะคือ ถ้อยคำสำนวน

🍁 คำคมจากขงเบ้ง
อำนาจที่ปราศจากเหตุผล คือ อำนาจของคนพาล อำนาจที่ปราศจากความเมตตา คือ อำนาจที่นำมาซึ่งความปราชัย

🍁 การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบสังคมเป็นกระบวนการที่สมาชิกได้พัฒนาการกระทำระหว่างกันทางสังคมอย่างมีระเบียบ โดยสมาชิกส่วนรวมของสังคมได้ยอมรับเป็นแนวความประพฤติร่วมกัน

🍁 การควบคุมทางสังคม
วิธีการและกระบวนการทั้งหมด ซึ่งกลุ่มหรือสังคมใช้ในการให้สมาชิกของสังคมปฏิบัติตามที่สังคมคาดหวัง

🍁 ปัญญาประดิษฐ์
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ เอไอ (AI) หมายถึง ความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิตเป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลัก

🍁 มัทนะพาธา
บทละครเรื่องมัทนะพาธาได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรประกาศยกย่องให้เป็นหนังสือที่แต่งดีใช้คำฉันท์เป็นบทละครพูด ที่มีตัวละครและฉากสอดคล้องกับวัฒนธรรมภารตะโบราณ

🍁 คู่มือพระสังฆาธิการ
ส่วนหนึ่งของหลักสูตรถวายความรู้ แด่พระสังฆาธิการ หมวดวิชาพื้นฐานทั่วไป ซึ่งพระสังฆาธิการจำเป็นจะต้องรับทราบ และถือปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทาง ในการบริหารการปกครองวัด

🍁 หุ่นยนต์
หุ่นยนต์มีความแตกต่างจากเครื่องจักรกลแบบอื่น ๆ ตรงที่มันสามารถเคลื่อนไหวโครงสร้างได้ หุ่นยนต์แตกต่างจากคอมพิวเตอร์ตรงที่มันสามารถนำผลที่ได้จากการประมวลมา ปฏิบัติให้เกิดงานในทางกายภาพได้ขณะที่คอมพิวเตอร์ไม่มี

🍁 ข้อคิดจากนิทานไทย
นิทานเป็นเรื่องเล่าที่สืบทอดมาแต่โบราณ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการพาเด็กและเยาวชนไปสู่โลกกว้างของการเรียนรู้ชีวิตจริง

🐍 โปรดระวังงูฉก

ชีวิตคือการเดินทาง

ส่วนหนึ่งของการเดินทางเริ่มต้น
เมื่อตอนที่เราลืมตาขึ้นมาดูโลก
ตั้งแต่ตอนที่เราเกิด...

จากอดีตข้ามมาถึงปัจจุบัน
และกำลังจะไปสู่อนาคต
เพื่อที่จะเปลี่ยนมันให้กลายเป็นอดีต

วนเวียนเป็นวัฏจักรแห่งกาลเวลา
ที่ไม่สามารถย้อนกลับคืนไปได้
และเป็นอยู่อย่างนั้น

จนกว่าจะสิ้นสุดการเดินทาง
ที่ไหนสักแห่งบนโลกนี้
ที่ซึ่งเรามา

จากความว่างเปล่าสู่ความว่างเปล่า.

🐍 งูเขียว หางบอบช้ำ : เขียน

เชิญแวะอ่านสักนิดสักหน่อยก็ยังดี...

🌿 เสียมเรียบ นครวัด นครธม
นครวัด สิ่งมหัศจรรย์ของโลก อนุสาวรีย์แห่งความยิ่งใหญ่เยี่ยงมดตัวน้อยตัวนิด วงกลมเล็กๆ ที่ชื่อว่าความเชื่อ ในวงกลมใหญ่ที่เรียกว่าความศรัทธา ยืนยันคำพ่อแม่สั่งสอน ความเพียรพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จย่อมอยู่ที่นั่น สักครั้งหนึ่งในชีวิตได้มีโอกาสมองเห็นนครวัด ที่ไหนสักแห่งบนโลกนี้ ย่อมตายตาหลับแล้ว เหล่ามนุษยชาติ

🌿 มาเก๊ามรดกโลก
ดินแดนแห่งการพนันและคาสิโน มาเก๊ามีความทรงจำแห่งอดีตตรงโน้นนิดตรงนี้หน่อยตกหล่นเกลือนกราดไปทั่ว และยังมีโบราณสถานเก่าแก่อีกมากมาย มีความทันสมัยให้เสพสุข มีโชคให้เผชิญ

🌿 สะพายเป้ แบกกล้อง ล่องใต้
การที่ได้รู้จักตัวตนแท้จริง ในสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย ครั้งหนึ่งในชีวิต ได้มีโอกาสสักครั้งก็นับว่าได้ใช้ชีวิตคุ้มค่า ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ไว้ให้ได้คิดถึงคนึงหา ศรัทธาที่จะดำรงค์อยู่อย่างกล้าหาญและน้อมมอบ

ยังมีอีก »


ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
ภูจอมยุทธ | Podcast

ชีวิตในแบบฉบับของตัวเอง หิวก็กินง่วงก็นอน อยากทำอะไรก็ทำ เบียดเบียนสภาพแวดล้อมแต่พองาม ประสบการณ์แบ่งปันผู้คน มากบ้างน้อยบ้าง วัดกับร้านเหล้าถือเป็นสถานอโคจร ที่ต้องรักษาระยะห่าง คลิกดู👆