ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

ประวัติพระศาสนจักรในประเทศไทย

การเข้ามาของพวกโปรตุเกสกับคริสตศาสนา
ความปรารถนาของนักบุญฟรังซิส เซเวียร์
ธรรมทูตคณะโดมินิกันในสยาม
มรณสักขีองค์แรกในแผ่นดินสยาม
สิทธิอุปถัมภ์ศาสนา (Padroado)
ระบบ “ปาโดรอาโด” ของโปรตุเกส
การเข้ามาของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส

ความปรารถนาของนักบุญฟรังซิส เซเวียร์

       เหตุการณ์ที่น่าสนใจเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งน่าจะถือว่ามีความสำคัญทั้งต่อประวัติศาสตร์พระศาสนจักรในสยามและต่อประวัติศาสตร์ชาติไทยด้วย คือ นักบุญฟรังซิส เซเวียร์ นักแพร่ธรรมผู้ยิ่งใหญ่ แสดงความตั้งใจที่จะเข้ามาในสยาม ทั้งนี้เพื่อเดินทางต่อไปยังประเทศจีนอันเป็นความปรารถนาสูงสุดของท่าน ฟรังซิส เซเวียร์ เป็นพระสงฆ์สเปนและเป็นเพื่อนรุ่นแรกของนักบุญอิกญาซีโอ ผู้ก่อตั้งคณะเยสุอิต ฟรังซิสเดินทางไปจนถึงเมืองกัว (Goa) ประเทศอินเดียในปี ค.ศ. 1542 (พ.ศ. 2085) ต่อมาได้เดินทางไปที่มะละกาและเกาะโมลูลัส ที่มะละกานี้เองท่านพบกับชาวญี่ปุ่นซึ่งทำให้ท่านมีแรงบันดาลใจที่จะไปญี่ปุ่น ที่สุดท่านได้เดินทางมาถึงเมืองคาโกชิมาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1549 (พ.ศ. 2092) การแพร่ธรรมของท่านที่ญี่ปุ่นบังเกิดผลดีมาก ต่อมาท่านทราบว่าวัฒนธรรมญี่ปุ่นมีความคล้ายคลึงกับจีน ท่านจึงมีความปรารถนาที่จะเดินทางไปแพร่ธรรมในประเทศจีน

ความปรารถนาของท่านที่จะเดินทางเข้ามาในสยามนั้น เพราะต้องการเดินทางจากสยามไปประเทศจีนโดยอาศัยการติดต่อการค้าระหว่างสยามกับจีนในเวลานั้น เนื่องจากหนทางอื่นที่จะเข้าประเทศจีนนั้นมีอุปสรรค อย่างไรก็ตาม นักบุญฟรังซิส เซเวียร์ ไม่สามารถเข้าไปทั้งจีนและสยาม เพราะมรณภาพก่อนเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 1552 (พ.ศ. 2095) ที่เมืองซานเซียน และในวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1553 (พ.ศ. 2096) ศพที่ไม่เน่าเปื่อยของท่านที่ถูกส่งมาถึงมะละกา และถูกส่งไปที่เมืองกัวในอินเดีย เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1553 (พ.ศ. 2096) บางส่วนของร่างกายได้ถูกนำไปเป็นพระธาตุตามวิหารต่างๆ ในยุโรปด้วย



แม้ว่าท่านจะมิได้เดินทางมาสยามอย่างที่ตั้งใจ เพียงแต่เอ่ยชื่อสยามในจดหมายของท่านก็นับว่าเป็นเกียรติต่อพระศาสนจักรของเราแล้ว เพราะอย่างน้อยที่สุดในใจของท่านก็มีเราชาวสยามอยู่บ้าง นอกจากนี้ท่านยังได้ช่วยคลี่คลายข้อข้องใจส่วนหนึ่งเกี่ยวกับชื่อประเทศ “สยาม” ของเรา ข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ ชื่อสยามอาจไม่ได้เป็นที่รู้จักของชาวสยาม แต่เป็นคำที่ชาวต่างชาติเป็นผู้ใช้เรียกชื่อประเทศของเรา เนื่องจากชาวไทยมิได้เรียกประเทศของตนว่า “สยาม” แต่เรียกว่า “เมืองไทย”

ยิ่งกว่านั้นชาวไทยยังนิยมเรียกประเทศของตนตามชื่อเมืองหลวงเวลานั้นอีกด้วย ตัวอย่างเช่น อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรอยุธยา ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนแรกเรียกกันว่า เมืองไทย หรือกรุงไทย คำว่า สยาม กลายมาเป็นชื่อทางการของประเทศในสมัยรัชกาลที่ 4 นี่เอง เมื่อสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีปลายปี ค.ศ. 1938 (พ.ศ. 2481) ได้เริ่มต้นโครงการฟื้นฟูชาติขึ้นใหม่ เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามมาเป็นประเทศไทย ด้วยเหตุผลที่ว่า ชื่อใหม่นี้สอดคล้องกับต้นกำเนิดของชาวไทยและการปฏิบัติของประชาชน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

🍁 "บ้าน" มรดกทางวัฒนธรรม
"บ้าน" คือการบอกเล่าความเป็นมา คือการบอกล่าวถึงพัฒนาการในการดำรงชีพของมนุษย์ "บ้าน" ที่อยู่อาศัยหนึ่งในปัจจัยสี่ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ และบ่งบอกถึงความั่นคง

🍁 ภูมิปัญญากีฬาไทย
กีฬาไทยที่บรรพชนไทยค้นคิด และถ่ายทอดมาสู่ลูกหลาน บางชนิดกลายเป็นตำนานและความทรงจำ และบางชนิดยังคงมีการเล่นกันอยู่

🍁 สะพานสู่ฟ้าใหม่
สะพานข้ามน้ำเป็นสัญลักษณ์การข้ามอุปสรรคขวางกั้นไปสู่จุดหมาย และการเชื่อมโยงสิ่งตรงข้ามมา เพื่อสร้างเอกภาพอันกลมกลืนมั่นคง

🍁 ทิวธงมงคลชัย
สิ่งสะท้อนความคิด และสืบทอดคติความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ของชนรุ่นแล้วรุ่นเล่า จากยุคสมัยหนึ่งสู่อีกยุคสมัยหนึ่ง ดุจตัวแทนที่น้อมนำสู่มงคลแห่งชีวิต

🍁 พระราชลัญจกรประจำรัชกาล
ตราประจำพระมหากษัตริย์ แต่ละรัชกาล ซึ่งจะทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเริ่มต้นรัชกาล เพื่อประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในเอกสารสำคัญต่างๆของชาติ ที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน

🍁 สามล้อไทย
วิถีหนึ่งของสายทาง ซึ่งแม้เวลาจะหมุนเวียนเปลี่ยนไป หากสายทางของสามล้อยังคงผูกพัน เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย

🍁 กีฬาสัตว์
ด้วยนิสัยช่างสังเกตของคนไทย จึงเป็นที่มาของกีฬาซึ่งใช้สัตว์เป็นผู้แข่งขัน จนกลายเป็นกิจกรรมบันเทิงพื้นบ้าน ยามว่างนับแต่อดีต

🍁 ตาลปัตร พัดรอง
พัดที่ทำจากใบตาลมีหลายรูปแบบ สำหรับใช้โบกให้ความเย็น และใช้เป็นการบ่งบอกถึงฐานะ บรรดาศักดิ์ของผู้ใช้

🍁 ลัทธิของค้านท์
ลัทธิที่ยึดมั่นในคุณธรรมหรือเหตุผลอย่างเคร่งครัด หรือ Moral Purism แปลว่า บริสุทธิ์นิยมทางศีลธรรม หรือบางทีก็เรียกว่า หน้าที่นิยม เพราะเน้นที่หน้าที่เป็นหลัก

🍁 ประชุมพงศาวดาร
การศึกษาหาความรู้พงศาวดาร และตำนานเก่าย่อมถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งใน การศึกษาทั่วทุกประเทศ

🍁 อปริหานิยธรรม 7
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม 7 ประการ ผู้ปฏิบัติ ธรรมนี้จะเป็นไปเพื่อความเจริญทั้งฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายสงฆ์

🍁 จริยธรรม
จริยธรรมไม่แยกเด็ดขาดจากศีลธรรม แต่มีความหมายกว้างกว่าศีลธรรม

🍁 พุทธศาสนสุภาษิต

🍁 ภาษิต คติพจน์ ของอังกฤษ

🍁 คมคำบาดใจ

🍁 ปรัชญาชาวบ้าน

🍁 ปรัชญาจากพระคัมภีร์ไบเบิล

🍁 บทเพลงสากลจากอดีต (แปลไทย)

🍁 สุภาษิตจีน

🍁 สุภาษิตสอนหญิง

🍁 ภาษิตจีนโบราณ

🍁 ปราชญ์สอนว่า (ขงจื้อ)

🐍 โปรดระวังงูฉก

มนุษย์ก็เหมือนสสารชนิดหนึ่ง
ที่รอวันร่วงโรยแตกดับ

อยู่ไปนานวันเข้าก็เริ่มสูญเสียความสมดุล
ระบบการทำงานของร่ายกายก็ช้าลงไปเรื่อยๆ

หลีกหนีไม่พ้นความตายในที่สุด

ร่างกายเน่าเปื่อยผุผัง
ไม่เที่ยงแท้แน่นอน
ไม่มั่นคงยั่งยืน
กลับคืนสภาพเดิมได้ยาก

จากธรรมชาติสู่ธรรมชาติ
ทั้งในสถานะของแข็งของเหลวและก๊าซ

มันเป็นอนิจจัง

รู้แล้วเหยียบไว้
อย่าได้ทำเป็นตื่นตูม.

🐍 งูเขียว หางบอบช้ำ : เขียน

เชิญแวะอ่านสักนิดสักหน่อยก็ยังดี...

🌿 ฉายเดี่ยว (รวมงานเขียน)
อย่ารอให้ผีปู่ผีย่าต้องลุกขึ้นมาเอากระโถนน้ำหมากเขกกบาล สยามของท่านให้เราอยู่กิน ไม่ได้ให้มางี่เง่ากันเยี่ยงนี้

🌿 ตำนานบันลือโลก
เรื่องสั้น : เกรียงไกร รักมิตร : เขียน
ตาเฒ่านักเล่านิทานจากไปอย่างไร้ร่องรอย คงทิ้งไว้เพียงเรื่องราว ของกระต่ายกับเต่า กับความเพ้อฝันของนักเผชิญโชค ในโลกแห่งความจริง

🌿 บันทึกทรราชย์
เรื่องสั้น : เกรียงไกร รักมิตร : เขียน
โลกยังคงหมุนตัวเองรอบดวงอาทิตย์กับบาดแผลร้าวรานที่เกิดจากการกระทำอันเป็นปิตุฆาตของมวลมนุษย์

🌿 ผมเกือบได้เป็นนักแต่งเพลงชื่อดังเสียแล้ว
เรื่องสั้น : ภูเกรียงไกร หน่อรักมิตร : เขียน
ไปไม่ถึงตึกแกรมมี่ แบบไม่มีสิ่งใดให้ต้องกังวล ที่เหลือคือความทรงจำที่ลางเลือนเต็มที ผมเกือบได้เป็นนักแต่งเพลงชื่อดังเสียแล้ว

ยังมีอีก »


ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
ภูจอมยุทธ | Podcast

ชีวิตในแบบฉบับของตัวเอง หิวก็กินง่วงก็นอน อยากทำอะไรก็ทำ เบียดเบียนสภาพแวดล้อมแต่พองาม ประสบการณ์แบ่งปันผู้คน มากบ้างน้อยบ้าง วัดกับร้านเหล้าถือเป็นสถานอโคจร ที่ต้องรักษาระยะห่าง คลิกดู👆