สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
สังคมศึกษา
(มัธยมศึกษาตอนปลาย)
สภาพภูมิศาสตร์กายภาพ
ลักษณะปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สำคัญและการป้องกันอันตราย
วิธีใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
ปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยประชาชนชุมชน
องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน
วิธีใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
แผนที่
แผนที่เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์
เพราะครอบคลุมทั้งลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ และทรัพยากรธรรมชาติ
รวมทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นจากฝีมือของมนุษย์บนพื้นผิวโลกด้วยการจัดทำแผนที่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาการขึ้นเป็นลำดับ
มีการนำเอารูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียมมาช่วยในการทำแผนที่ทำให้สามารถสร้างแผนที่ได้รวดเร็ว
มีความถูกต้องและทันสมัยกว่าในอดีต
ความหมายของแผนที่
แผนที่ (Map) หมายถึง การแสดงลักษณะพื้นผิวโลกลงบนแผ่นราบ
โดยการย่อส่วนและการใช้สัญลักษณ์ไม่ว่าเครื่องหมายหรือสี แทนสิ่งต่าง ๆ
บนพื้นผิวโลก แผนที่จึงต่างจากลูกโลกและแผนผัง
เครื่องหมายแผนที่ คือ เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งต่าง ๆ
บนพื้นพิภพ ที่เกิดขึ้นเองและตามธรรมชาติ นอกจากเครื่องหมายแล้ว
เรายังใช้สีเป็นการแสดงลักษณะภูมิประเทศอีกด้วย คือ
1. สีดำ หมายถึง ภูมิประเทศสำคัญทางวัฒนธรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น อาคาร
สุสาน วัด สถานที่ราชการต่าง ๆ เป็นต้น
2. สีน้ำเงิน หมายถึง ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นน้ำ เช่น ทะเล แม่น้ำ หนอง บึง
เป็นต้น
3. สีน้ำตาล หมายถึง ลักษณะภูมิประเทศที่มีความสูงโดยทั่วไป เช่น
เส้นชั้นความสูง
4. สีเขียว หมายถึง พืชพันธุ์ไม้ต่าง ๆ เช่น ป่า สวน ไร่
5. สีแดง หมายถึง ถนนสายหลัก พื้นที่ย่านชุมชนหนาแน่น และลักษณะภูมิประเทศสำคัญ
ความสำคัญของแผนที่
1. ทำให้ทราบลักษณะทางธรรมชาติของพื้นผิวโลก
รวมทั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจบนพื้นผิวโลก
2. ทำให้ทราบข้อมูล สถิติต่าง ๆ เพื่อการเปรียบเทียบ
การพัฒนาการวางแผนในด้านต่าง ๆ รวมทั้งด้านยุทธศาสตร์
ประโยชน์ของแผนที่
1. ประโยชน์ในการศึกษาลักษณะภูมิประเทศ
แผนที่จะทำให้ผู้ศึกษาทราบว่าพื้นที่ใดมีลักษณะภูมิประเทศแบบใดบ้าง
2. ประโยชน์ต่อการศึกษาธรณีวิทยา เพื่อให้ทราบความเป็นมาของแหล่งทรัพยากร ดิน หิน แร่ธาตุ
3. ประโยชน์ด้านสมุทรศาสตร์และการประมง เพื่อให้ทราบสภาพแวดล้อมชายฝั่งทะเล
4. ประโยชน์ด้านทรัพยากรน้ำ รู้ข้อมูลเกี่ยวกับแม่น้ำและการไหล อ่างเก็บน้ำ ระบบการชลประทาน
5. ประโยชน์ด้านป่าไม้ เพื่อให้ทราบคุณลักษณะของป่าไม้และการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่า
6. ประโยชน์ด้านการใช้ที่ดิน เพื่อให้ทราบปัจจัยการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านต่าง ๆ
7. ประโยชน์ด้านการเกษตร การเกษตรมีผลต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อรู้ว่าบริเวณใดควรพัฒนา
8. ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการจัดการทรัพยากรบริเวณต่าง ๆ
9. ประโยชน์ในการวางผังเมือง เพื่อใช้ข้อมูลทางธรรมชาติในการจัดวางผังเมืองให้เหมาะสม
10. ประโยชน์ต่อการศึกษาโบราณคดี เพื่อค้นหาแหล่งชุมชนโบราณและความรู้อื่น ๆ
11. ประโยชน์ด้านอุตุนิยมวิทยา เพื่อประโยชน์ในการเพาะปลูก อุตสาหกรรม ประมง
การป้องกันอุทกภัย
ลักษณะของสิ่งที่แสดงปรากฏบนแผนที่ประกอบด้วย
1. ลักษณะของสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ทะเล มหาสมุทร ทะเลสาบ
แม่น้ำ ภูเขา ที่ราบ ที่ราบสูง เกาะ เป็นต้น
2. ลักษณะของสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น เส้นกั้นอาณาเขต เมือง หมู่บ้าน
สถานที่ราชการ ศาสนสถาน เส้นทางคมนาคม พื้นที่เกษตรกรรม เป็นต้น
ชนิดของแผนที่
1. แบ่งตามขนาดของมาตรส่วน มี 3 ชนิด คือ
- แผนที่มาตราส่วนเล็ก หมายถึง แผนที่ที่มาตราส่วนเล็กกว่า 1 : 1,000,000
- แผนที่มาตราส่วนกลาง หมายถึง แผนที่ที่มีมาตราส่วนระหว่าง 1 : 250,000 ถึง 1 : 1,000,000
- แผนที่มาตราส่วนใหญ่ หมายถึง แผนที่ที่มีมาตราส่วนมากกว่า 1 : 250,000
2. แบ่งตามประเภทการใช้ ได้แก่
- แผนที่กายภาพ หรือแผนที่ลักษณะภูมิประเทศ (Topographic หรือ Landform หรือ Relief Map) เป็นแผนที่แสดงรายละเอียดของสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เช่น ทะเล มหาสมุทร เทือกเขา ที่ราบสูง ที่ราบ ฯลฯ
- แผนที่รัฐกิจ (Political Map) หรือแผนที่ทั่วไป (General Map) เป็นแผนที่แสดงขอบเขตการปกครองของจังหวัด รัฐ ประเทศ
- แผนที่ประวัติศาสตร์ (Histostical Map) เป็นแผนที่แสดงอาณาเขตของอาณาจักรหรือจักรวรรดิต่าง ๆ ในสมัยโบราณ
- แผนที่โครงร่าง (Outline) เป็นแผนที่แสดงโครงร่างของทวีป ประเทศ โดยไม่มีรายละเอียดใด ๆ เพื่อใช้ในการศึกษา เช่น
- แผนที่เดินเรือ (Nautical Map) เป็นแผนที่แสดงเส้นทางการเดินเรือในท้องทะเล มหาสมุทร รวมทั้งใช้สัญลักษณ์สีเพื่อแสดงความตื้นลึกของพื้นน้ำ
- แผนที่เศรษฐกิจ (Economic Map) เป็นแผนที่แสดงเขตกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ รวมทั้งแสดงแหล่งทรัพยากรสำคัญ
องค์ประกอบของแผนที่
องค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
1.
ชื่อแผนที่เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับให้ผู้ใช้ได้ทราบว่าเป็นแผนที่เรื่องอะไร
แสดงรายละเอียดอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ใช้ได้อย่างถูกต้อง และตรงความต้องการ
โดยปกติชื่อแผนที่จะมีคำอธิบายเพิ่มเติมแสดงไว้ด้วย เช่น
แผนที่ประเทศไทยแสดงเนื้อที่ป่าไม้
แผนที่ประเทศไทยแสดงการแบ่งภาคและเขตจังหวัดเป็นต้น
2. ขอบระวาง แผนที่ทุกชนิดจะมีขอบระวาง
ซึ่งเป็นขอบเขตของพื้นที่ในภูมิประเทศที่แสดงบนแผนที่แผ่นนั้นมักจะแสดงด้วยเส้นขนานเพื่อแสดงตำแหน่งละติจูดกับเส้นเมริเดียนเพื่อแสดงตำแหน่งลองจิจูด
และจะแสดงตัวเลขเพื่อบอกค่าพิกัดภูมิศาสตร์ของตำแหน่งต่าง ๆ
3. ทิศทาง มีความสำคัญต่อการค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของสิ่งต่าง ๆ
โดยในสมัยโบราณใช้วิธีดูทิศทางตามการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน
และการดูทิศทางของดาวเหนือในเวลากลางคืน ต่อมามีการประดิษฐ์เข็มทิศ
ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยในการหาทิศขึ้น
เนื่องจากเข็มของเข็มทิศจะชี้ไปทางทิศเหนือตลอดเวลา
การใช้ทิศทางในแผนที่ประกอบกับเข็มทิศหรือการสังเกตดวงอาทิตย์
และดาวเหนือจึงช่วยให้เราสามารถเดินทางไปยังสถานที่ที่เราต้องการได้
ในแผนที่จะต้องมีภาพเข็มทิศหรือลูกศรชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ
ถ้าหากแผนที่ใดไม่ได้กำหนดภาพเข็มทิศหรือลูกศรไว้ก็ให้เข้าใจว่าด้านบนของแผนที่คือทิศเหนือ
4. สัญลักษณ์ เป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนสิ่งต่าง ๆ ในภูมิประเทศจริง
เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถอ่านและแปลความหมายจากแผนที่ได้อย่างถูกต้อง
ทั้งนี้ในแผนที่จะต้องมีคำอธิบายสัญลักษณ์ประกอบไว้ด้วยเสมอ
5. มาตราส่วน
เป็นอัตราส่วนระหว่างระยะทางที่ย่อส่วนมาลงในแผนที่กับระยะทางจริงใน ภูมิประเทศ
มาตราส่วนช่วยให้ผู้ใช้ทราบว่าแผนที่นั้น ๆ ย่อส่วนมาจากสภาพในภูมิประเทศจริง
ในอัตราส่วนเท่าใด มาตราส่วนแผนที่โดยมากจะมี 3 ลักษณะ ได้แก่ มาตราส่วนแบบเศษส่วน
มาตราส่วนคำพูดและมาตราส่วนแบบกราฟิก มาตราส่วนของแผนที่ คือ
อัตราส่วนระหว่างระยะบนแผนที่กับระยะในภูมิประเทศ หรือ
ความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางราบบนแผนที่กับระยะทางราบในภูมิประเทศ
การเขียนมาตราส่วนเขียนได้หลายวิธี เช่น 50,000 หรือ 1/50,000 หรือ 1 : 50,000
การคำนวณระยะทางบนแผนที่
6. เส้นโค้งแผนที่เป็นระบบของเส้นขนานและเส้นเมริเดียน ที่สร้างขึ้นเพื่อกำหนดตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์ให้เป็นมาตรฐานไว้ใช้อ้างอิงร่วมกัน ซึ่งประกอบด้วย
- เส้นขนาน เป็นเส้นสมมติที่ลากจากทิศตะวันออก
สร้างขึ้นจากการวัดมุมเริ่มจากเส้นศูนย์สูตร ซึ่งมีค่ามุม 0 องศา
ไปยังขั้วโลกทั้งสองด้านๆ ละไม่เกิน 90 องศา เส้นขนานที่สำคัญประกอบด้วย
1. เส้นศูนย์สูตรหรือเส้นอิเควเตอร์ มีค่ามุม 0 องศา
2. เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ มีค่ามุม 23 องศา 30 ลิปดาเหนือ
3. เส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์น มีค่ามุม 23 องศา 30 ลิปดาใต้
4. เส้นอาร์กติกเซอร์เคิล มีค่ามุม 66 องศา 30 ลิปดาเหนือ
5. เส้นอาร์กติกเซอร์เคิล มีค่ามุม 66 องศา 30 ลิปดาใต้ 6.2
เส้นเมริเดียน เป็นเส้นสมมติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้ สร้างขึ้นจากการสมมติเส้นเมริเดียนปฐม มีค่ามุม 0 องศา ลากผ่านตำบลกรีนิช กรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักรไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกด้านละ 180 องศา โดยเส้นเมริเดียนที่ 180 องศาตะวันออกและ 180 องศาตะวันตกจะทับกันเป็นเส้นเดียวนี้ให้เป็นเส้นวันที่หรือเส้นแบ่งเขตวันระหว่างชาติ หรือเส้นแบ่งเขตวันสากล เส้นเมริเดียนแรกหรือเส้นเมริเดียนปฐม (Prime Meridian) คือเส้นเมริเดียนที่ลากผ่านหอดูดาวแห่งหนึ่ง ตำบลกรีนิช ใกล้กรุงลอนดอนในประเทศอังกฤษ ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นหลักอ้างอิงในการนับเส้นเมริเดียนอื่น ๆ ต่อไป เส้นเมริเดียนรอบโลกมี 360 เส้น แบ่งเป็นเส้นองศา ตะวันออก 180 เส้น และเส้นองศาตะวันตก 180 เส้น ความสำคัญของเส้นเมริเดียน คือ บอกพิกัดของตำแหน่งที่ตั้งต่าง ๆ บนพื้นผิวโลกโดยใช้ร่วมกัน เส้นขนาน (เส้นละติจูด) และใช้เป็นแนวแบ่งเขตเวลาของโลก แสดงเส้นศูนย์สูตร เส้นขนาน เส้นเมริเดียนและเส้นเมริเดียนเริ่มแรก
7. พิกัดภูมิศาสตร์เป็นระบบที่บอกตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ บนพื้นผิวโลก
โดยอาศัยเส้น
โครงแผนที่ซึ่งเส้นขนานและเส้นขนานและเส้นเมริเดียนตัดกันเป็นจุดสิ่งต่าง ๆ
บนพื้นผิวโลก โดยอ่านค่าพิกัดภูมิศาสตร์เป็นละติจูด (เส้นขนาน) และลองจิจูด
(เส้นเมริเดียน)
ดังนั้น ละติจูด เป็นพิกัดของจุดหนึ่งบนเส้นขนาน
ส่วนลองจิจูดก็เป็นพิกัดของจุดหนึ่งบนเส้นเมริเดียน
ซึ่งทั้งละติจูดและลองจิจูดมีค่าของมุมเป็นองศา โดย 1 องศา มีค่าเท่ากับ 60
ลิปดาและ 1 ลิปดา มีค่าเท่ากับ 60 ฟิลิปดา
พิกัดภูมิศาสตร์เป็นระบบที่บ่งบอกตำแหน่งที่ตั้งอยู่จุดตำแหน่งต่าง ๆ
บนพื้นผิวโลก
โดยอาศัยโครงข่ายของเส้นโครงแผนที่ซึ่งประกอบด้วยเส้นเมริเดียนกับเส้นขนานตัดกันเป็น
จุด
- ละติจูด (Latitude) เป็นค่าของระยะทางเชิงมุม โดยนับ 0 องศา จากเส้นศูนย์สูตรไป ทางเหนือหรือใต้จนถึง 90 องศาที่ขั้วโลกทั้งสอง
- ลองจิจูด (Longitude) เป็นค่าของระยะทางเชิงมุม โดยนับ 0 องศา จากเส้นเมริเดียนไป ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกจนถึง 180 องศา
ปัจจุบันการบ่งบอกจุดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก สามารถทราบได้ง่ายและถูกต้อง โดยใช้
จีพีเอส เครื่องมือกำหนดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก (GPS : Global Positioning System)
เครื่องมือชนิดนี้ มีขนาดเล็กพกพาได้สะดวก
และให้ข้อมูลตำแหน่งบนพื้นผิวโลกได้ตรงกับความเป็นจริง
ดังนั้นจึงมีผู้นำเครื่องมือนี้ไปใช้ได้สะดวกสบายในกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่
การเดินเรือ การเดินทาง ท่องเที่ยวป่า การเดินทางด้วยรถยนต์ เครื่องบิน เป็นต้น
เมื่อกดปุ่มสวิตซ์
เครื่องจะรับสัญญาณจากดาวเทียมแล้วบอกค่าพิกัดภูมิศาสตร์ให้ทราบเครื่องหมายแผนที่
แผนที่
ลูกโลก
เข็มทิศ
รูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม
เครื่องมือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาภูมิศาสตร์
แหล่งข้อมูลสารสนเทศของไทย