สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

เศรษฐศาสตร์สุขภาพ

การผลิต เป็นกระบวนการแปรรูปปัจจัยการผลิตให้เป็นสินค้าและบริการ
การนำวิชาเศรษฐศาสตร์มาใช้ประโยชน์ในด้านสุขภาพ
ความหมายของสุขภาพ (Health)

ความหมายของสุขภาพ (Health)

สุขภาพเป็นภาวะความเป็นอยู่ที่มีความสมบูรณ์ทางด้านกาย จิตใจ และ สังคม มิใช่พียงปราศจากโรคหรือความพิการเท่านั้น ( WHO) สุขภาพเป็นสิ่งที่โอนให้ผู้อื่นไม่ได้ ทุกคนต้องมีสถานะทางสุขภาพอย่างใดอย่างหนึ่งแม้จะจน ที่สุดก็ตาม

ความหมายและลักษณะของบริการสุขภาพ (Health Care)

บริการสุขภาพ เป็นปัจจัยการผลิตอย่างหนึ่งสำหรับสุขภาพ (สินค้าและบริการต่างๆที่สามารถรักษาบำรุงและฟื้นฟูสุขภาพของบุคคล) การผลิตและการบริโภคบริการสุขภาพต้องเกิดขึ้นพร้อมกันและ แยกจากกันไม่ได้ บริการสุขภาพไม่สามารถผลิตเผื่อหรือสำรองไว้ได้

ลักษณะพิเศษของบริการสุขภาพ

1.ความไม่แน่นอน

• ความไม่แน่นอนของสุขภาพ อาจเกิดจากความเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุที่ไม่อาจทราบล่วงหน้า
• ความไม่แน่นอนของผลการรักษา ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

2.ความไม่สมมาตรของความรู้และข้อมูล

• แพทย์และผู้ป่วยมีความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพไม่เท่ากัน ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจด้วยตัวเองว่าบริการสุขภาพใดเหมาะสมกับตัวเอง

3.ผลกระทบภายนอก เช่น

• การฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อ
• การปราบยุงในชุมชน

4. มีการแทรกแซงโดยรัฐบาลมากกว่าภาคเศรษฐกิจอื่นๆ (เนื่องจากมีความล้มเหลวของตลาด)

• กฎข้อบังคับ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ การเปิดโรงพยาบาล การจำหน่ายยา
• การให้เงินอุดหนุน
• การควบคุมคุณภาพบริการ
• การคุ้มครองผู้บริโภค

นักเศรษฐศาสตร์ศึกษาเรื่องอะไรบ้างเกี่ยวกับบริการสุขภาพ

• นักเศรษฐศาสตร์ให้ความสำคัญกับ “ราคา” ซึ่งใช้เป็นตัวชี้วัดมูลค่า และต้นทุนการผลิต สนใจว่าเป็นราคาที่ถูกต้องที่จะนำไปสู่ประสิทธิภาพ และความเสมอภาคหรือไม่
• ศึกษาเรื่องทรัพยากร การใช้ทรัพยากรว่ามีต้นทุน และ มีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร สุขภาพที่ดีขึ้นนั้นคุ้มกับ ต้นทุน ทรัพยากรที่ใช้ไปหรือไม่
• ศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ ( demand) และ ผู้ให้บริการ ( supply) ในการบรรลุวัตถุประสงค์ของแต่ละฝ่าย และสนใจศึกษาระบบสิ่งจูงใจที่มีผลต่อพฤติกรรมต่างๆ

ราคา วิธีการจ่ายเงิน กฎข้อบังคับ ฯลฯ

• ศึกษาว่าความไม่สมบูรณ์และไม่สมมาตรของข้อมูล จะมีผลกระทบต่อพฤติกรรมในตลาดบริการสุขภาพอย่างไร
• ศึกษาเรื่องความเป็นธรรม

  • ทางด้านการใช้จ่ายสำหรับบริการสุขภาพ
  • การกระจายงบประมาณ
  • ความจำเป็นทางสุขภาพ
  • ความสามารถในการหารายได้

• ศึกษาเกี่ยวกับแหล่งรายได้สำหรับบริการสุขภาพ
• ศึกษาว่า ปัจจัยกำหนดสุขภาพ มีอะไรบ้างนอกเหนือจากปัจจัยด้านการแพทย์ ด้านพื้นฐานของบุคคล ด้านเศรษฐกิจและสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านพฤติกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพนอกเหนือจากปัจจัยทางการแพทย์ การวัดและการประเมินค่าของสุขภาพอุปสงค์ต่อบริการสุขภาพ อุปทานของบริการสุขภาพ การวางแผนการจัดทำงบประมาณและการกำกับติดตามตลาด บริการสุขภาพการประเมินโครงการทางเศรษฐศาสตร์ การประเมินระบบบริการสุขภาพโดยรวม

 

หลักการของระบบบริการสุขภาพมี 3 ประเภทหลัก

1. หลักการอรรถประโยชน์นิยม
จัดสรรสวัสดิการ, ทรัพยากร, ฯลฯ เพื่อให้เกิดมูลค่ามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (เท่ากับเป็นการเน้นเรื่องประสิทธิภาพ)โดยไม่คำนึงถึงการกระจาย (สวัสดิการ,ทรัพยากร, ฯลฯ) ระหว่างบุคคลในสังคม

2. หลักการความเท่าเทียมกัน
กระจาย (สวัสดิการ,ทรัพยากร,ฯลฯ) ให้กับสมาชิกในสังคมได้รับอย่างเท่าเทียมกัน (เน้นเรื่องความเสมอภาค)โดยไม่คำนึงว่าผลของการกระจายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่(บางทีเรียกว่า welfare state)

3. หลักการลอเซียนส์
กระจายสวัสดิการ,ทรัพยากร,ฯลฯ โดยยึดหลัก ผู้ด้อยโอกาสที่สุดในสังคมได้รับสวัสดิการ, ทรัพยากร,ฯลฯ ที่มีปริมาณและคุณภาพไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่สังคมพึงให้ได้(เน้นมาตรฐานขั้นต่ำ)

การจัดกลุ่มระบบบริการสุขภาพตาม ideology

นิยมเปรียบเทียบการครอบครอง (หรือการกระจาย) ทรัพยากรของคนในสังคมกับสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากระบบบริการสุขภาพ

• หลักการอรรถประโยชน์นิยมยอมให้การครอบครอง (หรือการกระจาย) ทรัพยากรมีมากกว่าสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากระบบบริการสุขภาพ
• หลักการความเท่าเทียมกันทำให้การครอบครอง (หรือการกระจาย) ทรัพยากรใกล้เคียงกับสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากระบบบริการสุขภาพ
• หลักการลอเซียนส์ต้องการให้สิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากระบบบริการสุขภาพสูงกว่าการครอบครอง (หรือการกระจาย) ทรัพยากรสำหรับผู้ด้อยโอกาส

ที่มา :
สรุปเนื้อหาบางส่วนที่ได้จากการอบรม และ เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรเศรษฐศาสตร์สุขภาพ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย