วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
เฟอร์เรตตีนดำ
เฟอเรท
นับเป็นสัตว์ต่างถิ่นที่มีแหล่งกำเนิดทั้งในทวีปเอเชียและทวีปยุโรป
ในอดีตเมืองไทยพบเห็นได้เพียงตามสวนสัตว์ แต่ระยะหลังราว 6-7 ปี ที่ผ่านมา
มีการนำเข้าจากต่างประเทศที่มีการพัฒนาสายพันธุ์เป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านแล้ว อาทิ
สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น มาจำหน่ายยังตลาดสัตว์เลี้ยงในราคาหลายพันบาท
แต่ในช่วงนั้น
เฟอเรทไม่ได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้นิยมเลี้ยงสัตว์ต่างถิ่นเท่าที่ควร
เนื่องจากเฟอเรทเป็นสัตว์ในตระกูล Pole Cat
หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีกลิ่นเฉพาะเช่นเดียวกับ มิงค์ ชะมด นาก
ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีต่อมกลิ่นสำหรับการสื่อสาร ป้องกันตัว หรือแสดงอาณาเขต
กลิ่นสาบของเฟอเรทจึงเป็นเรื่องขัดใจของหลายๆ คน
ที่ถึงแม้จะสนใจรูปร่างหน้าตาของมันแค่ไหนก็ตาม
เฟอเรท มีข้อเสียเรื่องกลิ่น แต่เป็นกลิ่นตัว
กลิ่นเฉพาะของมันที่จะปล่อยในช่วงตกใจ ตื่นเต้น หรือผสมพันธุ์
เรื่องกลิ่นนี้ผู้เลี้ยงต้องยอมรับ แต่ในเวลาปกติก็ไม่ส่งกลิ่นมาก
ถ้าหมั่นเช็ดตัวก็จะช่วยบรรเทากลิ่นไปได้
ใช้น้ำยาช่วยลดกลิ่นสำหรับเฟอเรทก็ได้หรือจะใช้ผ้าเช็ดตัวสำหรับแมวหรือ สุนัข
การทำหมันก็เป็นการลดกลิ่นได้อีกวิธีหนึ่ง
จึงอาจมีส่วนทำให้เฟอเรทไม่เป็นที่นิยมและไม่ค่อยมีการแพร่พันธุ์ แต่มีข้อดีคือ
มันสามารถปรับตัวได้ดีในสภาพอากาศบ้านเรา"
เฟอเรท สามารถผสมพันธุ์ข้ามคู่ ข้ามสี ได้
โดยมีช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมจะเป็นช่วงฤดูผสมพันธุ์ หลังจากผสมแล้วไข่จะตกภายใน
30-40 ชั่วโมง ถ้าอยากให้ได้ผลที่แน่นอน ควรให้เวลาอยู่รวมกันอย่างน้อย 10 วัน
จากนั้นให้แยกตัวผู้หรือตัวเมีย ไม่เช่นนั้นอาจจะหลุด เพราะเล่นกันเอง หลังจากนั้น
ถ้าตัวเมียท้องจะเห็นความแตกต่างราว 2-3 สัปดาห์ต่อมา คือท้องใหญ่ขึ้น
เห็นราวนมชัดขึ้น เฟอเรทตั้งท้อง 40-50 วัน มีลูกปีละ 1-2 ครั้ง
แต่ส่วนใหญ่ในไทยจะเกิดลูกเพียงปีละครั้ง ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับอากาศร้อน
ถ้าเป็นเมืองนอกอากาศเย็นจะผสมพันธุ์ได้ดีกว่า จำนวนลูก 1-12 ตัว โดยเฉลี่ย 6-7 ตัว
ต่อครอก
ในช่วง 30 วัน หลังคลอด
แม่เฟอเรทจะดูแลลูกเองทุกอย่างและหวงลูกมาก หลังจากนั้น
ฟันลูกเฟอเรทจะเริ่มขึ้นและสามารถหากินตามแม่เฟอเรทได้
จำนวนที่เหลืออยู่ 600 ตัว
หน้าตาคล้ายๆ ชะมดหรือหมาไม้
พวกมันอาศัยอยู่ตามที่ราบกว้างใหญ่ในอเมริกเหนือ ซึ่งก็คือตัวแพรี่ด็อกลดจำนวนลง
แพรี่ด็อกคือสัตว์คล้ายหนูตัวเล็กๆ ที่อาศัยอยู่ใต้ดิน
เมื่อพวกมันถูกเกษตรกรปราบจนลดจำนวนไปมาก ผลจากโซ่อาหารก็เริ่มทำงาน
เฟอร์เรตตีนดำจึงไม่มีอาหารกินไปด้วย
แนวทางอนุรักษ์
ครั้งหนึ่งมันเกือบสูญพันธุ์ไปแล้ว
แต่โชคดีที่นักวิจัยสามารถเพาะพันธุ์เฟอร์เร็ตตีนดำและปล่อยคืนสู่ธรรมชาติได้
และตอนนี้ทาง WWF มีแนวทางการอนุรักษ์พวกมันรวมถึงแพร์รี่ด็อก อาหารของมันด้วย