วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
แมงมุมแม่ม่ายดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Latrodectus mactans (Fabricius)
(Araneae : Theridiidae)
ข้อเท็จจริง : แมงมุมแม่หม้ายดำ มีลักษณะรูปทรงนาฬิกาทรายสีส้มสีแดง
มีเครื่องหมายบนด้านล่างของช่องท้อง แมงมุมแม่หม้ายดำเป็น predaceous,
กินแมลงขนาดเล็กที่ติดอยู่ในใยของมัน การกัดของมันคือความเจ็บปวดในตอนแรก
แต่อาจจะตามมาในประมาณหนึ่งชั่วโมงโดยมีอาการปวดรุนแรงและบวม พิษทำให้เกิดการปวด,
คลื่นไส้, ขาดการประสานงานและการหายใจลำบากโดยการรบกวนระบบประสาทในการทำงาน
ความตายได้เกิดขึ้นในบุคคลที่มีผิวแพ้ง่ายพิษ
พิษรุนแรง ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท
แมงมุมแม่ม่ายดำ" หรือ Black Widow Spider
เป็นเแมงมุมที่มีพิษร้ายทำให้ถึงตายได้ พบกระจายได้ทั่วโลก และในยุโรป ออสเตรเลีย
แอฟริกา อเมริกาเหนือและใต้
ลำตัวของแมงมุมแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนหัวและอกรวมเป็นชิ้นเดียวกัน
และส่วนท้อง ซึ่งไม่แบ่งเป็นปล้อง ด้านหน้าของส่วนท้อง
ซึ่งเชื่อมต่อกับส่วนหัวและอกมีลักษณะเป็นก้านเล็กๆ มีเขี้ยวพิษ 1 คู่ ขา 4 คู่
มีอวัยวะที่ใช้หายใจ และอวัยวะสร้างใยอยู่ที่ส่วนท้องลักษณะลำตัวเป็นมัน
ตัวเมียขนาด 30-40 มิลลิเมตร ตัวผู้ขนาด 16-20 มิลลิเมตร ลำตัว ท้อง
และขามีสีน้ำตาลดำ หน้าท้องมีลวดลายคล้ายรูปนาฬิกาทรายสีแดงส้มอยู่ด้านใต้ส่วนท้อง
มักอาศัยอยู่ในที่มืด ในกองไม้ ตอไม้ รอยแตกของพื้น หากอาศัยอยู่ในบ้าน
จะอยู่ในที่มืดอับ เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้า หลังจากผสมพันธุ์ กันแล้ว
ตัวผู้อาจถูกตัวเมียกิน หรือจากไปผสมพันธุ์กับตัวเมียตัวอื่น
ตามธรรมชาติแมงมุมแม่ม่ายดำจะกินตัวผู้ซึ่งเป็นคู่ของมันหลังจากผสมพันธุ์เสร็จ
บางครั้งมันจะกินคู่ของมันได้ถึง 20 ตัวต่อวันเลยทีเดียว
พิษแมงมุมแม่ม่ายดำ จะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท โดยเฉพาะระบบประสาทส่วนกลาง
ทำให้ผิวหนังตาย หรือมีเลือดออกตามอวัยวะภายในต่างๆ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง
เช่น บริเวณรักแร้ ขาหนีบ มีการอักเสบกดรู้สึกเจ็บได้ มีเหงื่อออก ขนลุก
ความดันโลหิตสูง รอยกัดเขียวช้ำ มีจุดแดง อ่อนแรง สั่นปวดกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อเกร็ง ท้องแข็ง เป็นอัมพาต ซึม และชักในรายที่แพ้พิษรุนแรง
พิษของมันยังทำลายไต สุดท้ายตายด้วยภาวะไตวายหรือการหายใจล้มเหลว
แมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Latrodectus geometricus
ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 3 ปีก่อน
ภาพแมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาลที่ถ่ายได้ในบ้านเราปรากฏขึ้นครั้งแรกในกระทู้หนึ่งในเว็บไซต์
siamensis.org นี่เอง เป็นภาพที่พี่นณณ์
ถ่ายได้จากตลาดนัดจตุจักรเพื่อขอข้อมูลยืนยันว่าเป็นแมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาลจริงหรือไม่
ประเด็นในขณะนั้นมุ่งเน้นถึงสถานภาพการเป็นสัตว์ต่างถิ่นซึ่งหลุดรอดออกมาจากการนำเข้าเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยงของผู้ค้าบางราย
แต่ดูเหมือนเรื่องจะเงียบไปและมีแนวโน้มว่าสามารถควบคุมได้
นั่นคือจุดเริ่มต้นที่พวกเราออกค้นหาและเก็บตัวอย่างแมงมุมจากตลาดนัดแห่งนั้นมาอย่างต่อเนื่อง
จากการตรวจสอบและปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญแมงมุมกลุ่มนี้
พบว่าแมงมุมต้องสงสัยนั้นเป็นแมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาลจริงๆ
วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551
พวกเราได้รับตัวอย่างแมงมุมตัวนึงจากเพื่อน
ได้ความว่าน้องของเค้าพบมันที่บ้านในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
เมื่อตรวจสอบตัวอย่างดังกล่าวพบว่าเป็นแมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาลเจ้าเก่าเหมือนที่เคยพบในกรุงเทพ
พวกเราจึงตามไปเก็บตัวอย่างเพิ่มเติม จากนั้นจึงโพสต์เพื่อเตือนภัยใน siamensis.org
นี้ เป็นที่มาให้รายการทีวีรายการหนึ่งติดต่อเข้ามาขอถ่ายทำในเรื่องนี้
จากภาพบางภาพและข้อมูลที่ผิดพลาดบางส่วนที่ถูกเผยแพร่ออกไปทำให้แมงมุมชนิดนี้น่ากลัวเกินความเป็นจริง
เป็นการปลุกกระแสแมงมุมให้ตื่นตัวขึ้นและเป็นข่าวออกสื่อมากมาย
แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงเกิดความสับสนเสมอในการระบุตัวแมงมุมว่าใช่หรือไม่ใช่
อันตรายจริงหรือไม่ และพวกมันมาจากไหน
พวกเราได้ออกสำรวจและเก็บตัวอย่างรวมทั้งศึกษาแมงมุมชนิดนี้ในหลายแง่มุมเพื่อมาบอกเล่าให้คลายความสงสัยเกี่ยวกับเจ้าแมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาล
มาทำความรู้จักกับแมงมุมชนิดนี้กันค่ะ
แมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาลหรือ Brown Widow มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Latrodectus
geometricus มีการค้นพบครั้งแรกในประเทศโคลัมเบีย ทวีปอเมริกาใต้
จากนั้นได้มีการกระจายกว้างออกไปยังทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปแอฟริกา ทวีปออสเตรเลีย
โดยส่วนใหญ่ติดไปกับการขนส่งทางเรือและอากาศ
จากนั้นก็มีรายงานพบที่ทวีปเอเชียโดยเริ่มจากประเทศฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่นและอินเดีย
กล่าวได้ว่าในปัจจุบันแมงมุมชนิดนี้สามารถพบได้ในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก
นักสัตววิทยาจึงจัดแมงมุมชนิดนี้เป็นชนิดที่สามารถพบได้ทั่วโลก(cosmopolitan
species)ในประเทศไทยจากการออกเก็บตัวอย่าง
รวมถึงการแจ้งข่าวและการส่งตัวอย่างมาให้ตรวจสอบ
พบว่าแมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาลมีรายงานการพบในหลายจังหวัดของประเทศไทย ได้แก่
กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรสงคราม ราชบุรี เชียงใหม่ พะเยา แพร่ ลำพูน ลำปาง
พิจิตร ชัยนาท ระยอง จันทบุรี นครราชสีมา
และหนองบัวลำภูซึ่งจากการสอบถามชาวบ้านในหลายพื้นที่
ได้ข้อมูลว่าแมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาลถูกพบอยู่ในพื้นที่มานานแล้วก่อนมีการพบที่ตลาดนัดจตุจักรเสียอีก
แต่ชาวบ้านไม่ทราบว่าเป็นแมงมุมชนิดไหน
จากข้อมูลดังกล่าวซึ่งพบแมงมุมชนิดนี้ในเกือบทุกภาคของประเทศ
ประกอบกับบันทึกอย่างไม่เป็นทางการของ Professor Konrad Thaler จากมหาวิทยาลัย
Innsbruck ซึ่งเข้ามาสำรวจแมงมุมในประเทศไทยได้บันทึกการพบแมงมุมที่ระบุว่าเป็น
brown widow ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
แสดงให้เห็นว่าแมงมุมชนิดนี้อาจกระจายเข้ามาในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้วเพียงแต่ยังไม่มีใครพบเห็นหรือสนใจ
จึงแทบไม่มีข้อมูลของแมงมุมชนิดนี้เลยก่อนหน้านี้
แมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาลจัดอยู่ในวงศ์ Theridiidae
เรียกง่ายๆว่ากลุ่มแมงมุมขาหวี (comb-footed spiders)
เนื่องจากแมงมุมในกลุ่มนี้มีขนลักษณะพิเศษคล้ายตะขอเรียงเหมือนซี่หวีอยู่บนขาปล้องสุดท้าย
(tarsus) ของขาคู่ที่ 4 ใช้ในการสาวใยพันเหยื่อก่อนกินเป็นอาหาร
ชื่อสกุลLatrodectus มาจากรากศัพท์ภาษาละติน 2 คำให้ความหมายว่า
หัวขโมยนักกัดเนื่องจากพฤติกรรมการล่าเหยื่อของแมงมุมชนิดนี้จะสร้างใยรูปทรง 3
มิติ
ลักษณะพิเศษโดยมีใยดักเหยื่อเชื่อมจากรังนอนซึ่งมักทำอยู่ใต้วัตถุที่อยู่ไม่สูงจากพื้นแล้วนำมาเชื่อมติดกับพื้น
เป็นเส้นใยเส้นเดียวเรียงราย ที่ปลายใยดักเหยื่อมีหยดกาวเหนียวติดอยู่
เมื่อแมลงหรือสัตว์ขนาดเล็กวิ่งมาชนหยดกาว ใยที่เชื่อมกับพื้นจะขาดออก
ทำให้ตัวเหยื่อถูกดึงขึ้นไปแขวนกลางอากาศ
แรงสั่นสะเทือนจากการดิ้นรนของเหยื่อถูกส่งไปตามใยดักเหยื่อถึงรังนอนด้านบน
เมื่อแมงมุมได้รับสัญญาณจะรีบไต่ลงมาแล้วใช้ขาคู่สุดท้ายสาวใยพันเหยื่อและลากกลับขึ้นไปยังรังนอนอย่างรวดเร็ว
จากนั้นจึงกัดปล่อยพิษเข้าสู่ตัวเหยื่อเพื่อให้เป็นอัมพาต
คล้ายพฤติกรรมของโจรที่ปล้นชิงทรัพย์นั่นเอง
ส่วนที่มาของชื่อแมงมุมแม่หม้ายมาจากพฤติกรรมเช่นเดียวกัน
โดยส่วนใหญ่แมงมุมเพศเมียจะกินแมงมุมเพศผู้หลังการผสมพันธุ์เสร็จสิ้น
ในธรรมชาติเราจึงพบแมงมุมเพศเมียอยู่โดดเดี่ยวไร้คู่เหมือนชีวิตของแม่หม้ายนั่นเอง
ที่มา
http://www.siamensis.org/article/252