เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์  >>

ถั่วลิสง
(Peanut)

การจำแนกชนิดของถั่วลิสง
พฤกษศาสตร์ของถั่วลิสง
การปลูกถั่วลิสงในประเทศไทย
สารอะฟลาทอกซินในถั่วลิสง

สารอะฟลาทอกซินในถั่วลิสง

อะฟลาทอกซิน (aflatoxin) เป็นสารพิษที่สร้างขึ้นโดยเชื้อราในสกุล Aspergillus ที่พบมากในถั่วลิสงคือ A. flavus และ A. parasiticus เชื้อที่จะเกิดกับถั่วลิสงในทันทีที่เก็บเกี่ยวจากแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออุณหภูมิและความชื้นเหมาะสม แม้แต่ถั่วลิสงไม่ได้รับการกะเทาะเปลือกก็ตาม เราจะพบเชื้อรา A. flavus ขึ้นตามเมล็ดถั่วลิสง เชื้อรานี้มีเส้นใยสีขาว ที่ปลายมีสีเขียวของ conidia เชื้อรานี้ผลิตอะฟลาทอกซิน 6 ชนิดคือ B1, B1, B3, G2, B2a และ G2a ในจำนวนนี้ B1 เป็นอันตรายที่สุด ซึ่งก่อให้เกิดมะเร็งในตับ ไต และทางเดินอาหาร นอกจากนั้นยังเป็นอันตรายแก่หัวใจ และสมอง เนื่องจากผลของอันตรายนี้ จึงกำหนดปริมาณขั้นสูงของสารนี้ในอาหารไม่เป็น 5 ppb ถึงไม่เกิน 30 ppb (1 ppb เท่ากับ 1 ส่วนในล้านส่วน) สำหรับในประเทศไทยได้กำหนดไว้ว่าในอาหารควรมีไม่เกิน 20 ppb

การป้องกันเชื้อรานี้อาจทำได้หลายวิธี คือ

  1. ไม่ควรปลูกถั่วลิสงในที่เดิมซ้ำ ๆ กัน
  2. ใช้พันธุ์ต้านทาน แต่ขณะนี้ยังไม่มีพันธุ์ต้านทาน
  3. ใช้วิธีการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม คือ เก็บเกี่ยวทันที เมื่อถั่วแก่ อย่าปล่อยไว้ในแปลงที่มีความชื้นทำให้เชื้อราเข้าทำลายได้ เมื่อเก็บแล้วรีบปลิดฝักแล้วตากแดดโดยเร็ว ลดความชื้นให้เหลือประมาณ 8% ก็จะแก้ปัญหาเชื้อราได้

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย