วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>

ประวัติอนุกรมวิธานพืช

     การจำแนกพืชมีมาแต่สมัยโบราณ เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศจีน แม็กซิโก และอเมริกากลาง ตามลำดับ แต่ไม่ๆได้มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เริ่มมีการบันทึกในสมัยประเทศกรีกเรืองอำนาจ ดังนั้น การจำแนกพืชจึงมีกำเนิดมาจากประเทศกรีก โดยมีการเปลี่ยนแปลงมาตามลำดับดังนี้

ธีโอฟราสตุส (Theophrastus) ก่อนคริสตศักราช 370-287 ปี นักธรรมชาติวิทยาชาวกรีก แบ่งพืชออกเป็นพืชไม่มีดอกกับพืชมีดอก แบ่งพืชเป็นไม้ต้น (Tree) ไม้พุ่ม (Shrub) ไม้กึ่งพุ่ม (Undershrub) และไม้ล้มลุก (Herb) แบ่งตามอายุของพืชของพืชเป็น พืชปีเดียว (Annuat) พืชสองปี (Bienniat) และพืชหลายปี (Perenniat) จำแนกลักษณะของดอกโดยพิจารณาจากตำแหน่งของรังไข่ การเชื่อมติดกันหรือแยกกันของกลีบดอก บรรยายลักษณะของพืชไว้เกือบ 500 ชนิดในหนังสือ Historia plantarum นับว่าเป็นรากฐานของแนวความคิดที่สำคัญ เขาจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งพฤกษศาตร์

  1. Theophrastus บิดาแห่งพฤกษศาสตร์ นักธรรมชาติวิทยาชาวกรีก ศิษย์ของ Aristotle
  2. Dioscorides แพทย์ทหาร ผู้แต่งหนังสือ De Materia Medica ตำราพืชสมุนไพรแถบเมดิเตอร์เรเนียน
  3. Carolous Linnaeus นักธรรมชาติวิทยาและแพทย์ชาวสวีดิช บิดาแห่งอนุกรมวิธาน ผู้กำหนดระบบการตั้งชื่อแบบทวินาม (Binomial nomenclature) ตีพิมพ์ในหนังสือ Species plantarum ค.ศ. 1753
  4. Charles Darwin บิดาแห่งวิวัฒนาการ ผู้เสนอแนวคิด การจำแนกตามวิวัฒนาการชาติพันธุ์ (Phylogenetic classification) “ลำดับของวิวัฒนาการเริ่มจากโครงสร้างง่ายๆ ไปสู่โครงสร้างที่ซับซ้อน” ตีพิมพ์ในหนังสือ The Origin of Species

ไพลนี (Pliny the Elder) ก่อนคริสตศักราช 79-23 ปี นักธรรมชาติวิทยาชาวโรมัน แต่งหนังสือชื่อ Historia naturalis บรรยายเกี่ยวกับการปลูกพืชสวน พืชที่เป็นสมุนไพร พืชที่ให้เนื้อไม้ และโครงสร้างภายในของพืช

ไดออสคอรีด (Dioscorides) ช่วงศตวรรษแรกของคริสต์ศาสนา แพทย์ทหาร แต่งหนังสือชื่อ De Materia medica บรรยายลักษณะของพืชซึ่งส่วนใหญ่เป็นพืชแบบเมดิเตอเรเนียนไว้ประมาณ 600 ชนิดพร้อมภาพประกอบ และวิธีนำไปใช้รักษาโรค นับเป็นแหล่งความรู้ทางพืชสมุนไพรที่ดีที่สุดในเวลานั้น

อัลเบอร์ตุส แม็กนุส (Albertus Magnus) ค.ศ. 1193-1280 แต่งหนังสือชื่อ Devegetablis บรรยายลักษณะของพืชผัก แบ่งพืชออกเป็นพวกใบเลี้ยงเดี่ยว และใบเลี้ยงคู่

อังเดรีย ซีซัลปิโน (Andrea Caesalpino) ค.ศ. 1519-1603 พทย์ชาวอิตาเลียนแต่หนังสือชื่อ De plantis บรรยายลักษณะของพืชไว้ 1,520 ชนิด แบ่งพืชออกเป็น พวกที่มีเนื้อไม้ และไม่มีเนื้อไม้ เห็นถึงความสำคัญของการใช้ลักษณะดอก และผลในการจำแนกมากกว่าลักษณะรูปทรงต้น หรือลักษณะวิสัย แนวความคิดของเขามีอิทธิพลต่อนักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังเป็นอย่างมาก

จอร์น เรย์ (John Ray) ค.ศ. 1628-1705 ช่างตีเหล็กชาวอังกฤษ มีผลงานที่สำคัญมากมาย ทำให้อนุกรมวิธานพืชมีความเจริญตลอดศตวรรษที่ 17 ผลงานตีพิมพ์ที่สำคัญ คือ Methodus planttarum nova (ค.ศ.1682) และ Historia plantarum (ค.ศ.1686-1704) แบ่งพืชออกเป็นไม้ล้มลุก ไม้พุ่ม และไม้ต้น คล้ายกับระบบของธีโอฟราสตุส แบ่งเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ 25ชั้น และใบเลี้ยงเดี่ยว 4 ชั้น บรรยายลักษณะของพืชไว้ ประมาณ 18,000 ชนิด

โยเซฟ ปิตตอง เดอ เทอร์นฟอร์ท (Joseph Pitton de Turnefort) ค.ศ.1656-1708 ศาสตราจารย์ทางพฤกศาสตร์ ชาวฝรั่งเศส เป็นคนแรกที่บรรยายลักษณะสกุล แบ่งลักษณะของดอกออกเป็น พวกที่มีกลีบดอก และไม่มีกลีบดอก กลีบดอกเชื่อมติดกันหรือแยกเป็นอิสระ รูปดอกสมมาตรตามรัศมี (Regular flower) หรือสมมาตรด้านข้าง ผลงานตีพิมพ์ที่สำคัญ คือ Elements de botanique (ค.ศ. 1694) และ Institutiones rei herbariae (ค.ศ. 1700) บรรยายลักษณะพืชไว้ 698 สกุล 10,146 ชนิด บางสกุลยังนำมาใช้ในสมัยของลินเนียส เช่น Abution Acer และ Quercus เป็นต้น

รูดอฟ จาคอบ คาเมราเรียส (Rudolf Jacob Camerarius) ค.ศ. 1665-1721 ศาสตราจารย์ชาวเยอรมันเป็นผู้อธิบายว่าเพราะเหตุใดดอกเพศเมียที่ปราศจากดอกเพศผู้จึงไม่ติดเมล็ดโดยอ้างถึงเกสรเพศผู้ว่าเป็นอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ ก้านเกสรเพศเมีย และรังไข่เป็นอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย ในการเกิดเมล็ดพืชนั้นจำเป็นต้องมีละอองเรณูเข้าไปผสม นับได้ว่าเป็นคนแรกที่ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอก

คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) ค.ศ. 1707-1778 นักธรรมชาติวิทยาและแพทย์ชาวสวีเดน จำแนกพืชโดยอาศัยลักษณะและจำนวนเกสรเพศผู้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา แบ่งพืชออกเป็น 24 ชนิดดังนี้

1. Class Monandria มีเกสรเพศผู้ 1 อัน
2. Class Diandria มีเกสรเพศผู้ 2 อัน
3. Class Triandria มีเกสรเพศผู้ 3อัน
4. Class Tetrandria มีเกสรเพศผู้ 4 อัน
5. Class Pentandria มีเกสรเพศผู้ 5 อัน
6. Class Hexandria มีเกสรเพศผู้ 6 อัน
7. Class Heptandria มีเกสรเพศผู้ 7 อัน
8. Class Octandria มีเกสรเพศผู้ 8 อัน
9. Class Enneandria มีเกสรเพศผู้ 9 อัน
10. Class Decandria มีเกสรเพศผู้ 10 อัน
11. Class Dodecandria มีเกสรเพศผู้ 11 อัน
12. Class มีเพศผู้ 1 อัน
13. Class มีเพศผู้ 1 อัน
14. Class มีเพศผู้ 1 อัน
15. Class มีเพศผู้ 1 อัน
16. Class มีเพศผู้ 1 อัน
17. Class มีเพศผู้ 1 อัน
18. Class มีเพศผู้ 1 อัน
19. Class มีเพศผู้ 1 อัน
20. Class มีเพศผู้ 1 อัน
21. Class มีเพศผู้ 1 อัน
22. Class มีเพศผู้ 1 อัน
23. Class มีเพศผู้ 1 อัน
24. Class มีเพศผู้ 1 อัน

ทฤษฏีของลินเนียสยังมีข้อบกพร่องอยู่มาก เพราะการจำแนกตามวิธีของเขาที่เรียกว่า Sexual system จะทำให้พืชต่างพวกกันมาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ไม่สอดคล้องกับหลักการทางวิวัฒนาการ แต่ผลงานของลินเนียสที่ได้รับความนิยมและเป็นหลักการที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน คือ การตั้งชื่อแบบทวินาม (Binomial nomenclature) ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือ Species plantarum (ค.ศ. 1753) โดยกำหนดให้ชื่อวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย ชื่อสกุล (Generic name) และ คำระบุชนิด (Specific epithet) นับว่าลินเนียส เป็นนักพฤกษศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดทางด้านอนุกรมวิธานพืชจนได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งอนุกรมวิธานพืชและสัตว์

เบอร์นาร์ด เดอ จุสซิเยอร์ (Bernard de Jussieu)
ค.ศ. 1699-1777 นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เห็นว่า Sexual system ของลินเนียส ยังมีข้อบกพร่องจึงพยามยามปรับปรุง โดยใช้ลักษณะร่วมกันของพืชหลาย ๆ ลักษณะมาเป็นเกณฑ์ในการจัดจำแนกพืช แต่ยังไม่ได้เรียบเรียงเป็นหนังสือไว้เป็นหลักฐานเพราะว่ายังไม่สมบูรณ์ ต่อมาหลานชายชื่อ อังตวง แลรองต์ เดอ จุสซิเยอร์ (Antoine Laurent de Jussieu) ค.ศ. 1748-1836 ได้ปรับปรุงและตีพิมพ์ในหนังสือชื่อ Genera plantarum secundum ordines naturals desposita (ค.ศ. 1789) จำแนกพืชออกเป็น 15 ชั้น 100 อันดับ แบ่งพืชออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ไม่มีใบเลี้ยง (Acotyledones) มีใบเลี้ยงใบเดียว (Monocotyledones) และ มีใบเลี้ยงสองใบ (Dicotyledones) ในแต่ละกลุ่มอาศัยตำแหน่งของเกสร เพศผู้ รังไข่ และกลีบดอกเป็นเกณฑ์ในการจำแนกต่อไป นับเป็นการเริ่มต้นของการจำแนกแบบใช้หลายลักษณะ (Natural system)

โอกุสแตง ปิราม (Augustin Pyramus)
ค.ศ.1778-1841 นักพฤกษศาสตร์ ชาวสวิสเชื้อสายฝรั่งเศส นำการจำแนกของ เดอ จุสซิเยอร์มาปรับปรุง บรรยายลักษณะพืชไว้ 35 วงศ์ เป็นพืชเมล็ดเปลือยและพืชใบเลี้ยงคู่ 59,000 ชนิด

อัลฟอนส์ เดอ แคนโดล (Alphonse de Candolle) ค.ศ. 1824-1873 นักพฤกษศาสตร์ ชาวสวิสเชื้อสายฝรั่งเศส จำแนกเฟริ์นไว้พวกเดียวกับพืชใบเลี้ยงเดี่ยว และพืชเมล็ดเปลือยไว้พวกเดียวกับพืชใบเลี้ยงคู่ และจัดแอลจี มอส ลิเวอร์เวิร์ต ฟังใจ และไลเคนส์ เป็นพืชไม่มีท่อลำเลียง

โรเบิร์ต บราวน์ (Robert Brown)
ค.ศ. 1773-1858 นักพฤกษศาสตร์ ชาวสก็อต เป็นคนแรกที่ชี้ให้เห็นว่าพืชเมล็ดเปลือยต่างจากพืชดอกตรงที่ออวุลไม่มีสิ่งห่อหุ้ม ในขณะที่ออวุลของพืชดอกมีรังไข่ห่อหุ้ม

ยอร์ช เบนธัม (George Bentham)
ค.ศ. 1800-1884 และ เซอร์ โยเซพ ดาลตัน ฮุคเกอร์ (Sir Joseph Dalton Hooker) ค.ศ. 1817-1911 ร่วมกันเขียนหนังสือชื่อ Genera plantarum (ค.ศ. 1862-1883) จำแนกพืชโดยอาศัยแนวของ เดอร์ จุสซิเยอร์ และ เดอ แคนโดล โดยแบ่งพืชออกเป็น 3 กลุ่ม คือ พืชใบเลี้ยงคู่ พืชใบเลี้ยงเดี่ยว และพืชเมล็ดเปลือย ในกลุ่มของพืชใบเลี้ยงคู่แบ่งออกเป็น พวกที่มีกลีบดอกแยกกัน (Polypetalae) พวกที่มกลีบดอกเชื่อมติดกัน (Gamopetalae) และพวกที่ไม่มีกลีบดอก (Apetalae) และบรรยายลักษณะพืชไว้ 202 วงศ์

การจำแนกพืชตามระบบของ เบนธัมและฮุคเกอร์ นับว่าเป็นการจำแนกแบบใช้หลายลักษณะที่สมบูรณ์ที่สุด นิยมใช้ในวง การพฤกษศาสตร์ของอังกฤษมาเป็นเวลานาน และเป็นระบบที่นักพฤกษศาสตร์ไทยคุ้นเคย เพราะหนังสือที่ใช้อธิบายถึงลักษณะของพรรณไม้ในประเทศใกล้เคียงต่างก็ใช้ระบบนี้ จึงนับว่า Genera plantarum เป็นการจำแนกแบบใช้หลายลักษณะที่สมบูรณ์ที่สุดและเป็นระบบสุดท้ายก่อนที่ทฤษฏีวิวัฒนาการจะเกิดขึ้น

ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) ค.ศ. 1809-1882 ตีพิมพ์หนังสือชื่อ The Origin of Species ทำให้แนวความคิดทางวิวัฒนาการเป็นที่รู้จัดและยอมรับ ดังนั้นในการจำแนกพืชจึงได้พยายามเอาความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการมาเป็นเกณฑ์ในการจำแนกด้วย และเรียกการจำแนกแบบนี้ว่า การจำแนกตามวิวัฒนาการชาติพันธุ์ (Phylogenetic classification) โดยมีแนวคิดว่าลำดับของวิวัฒนาการจะเริ่มจากโครงสร้างง่าย ๆ ไปสู่โครงสร้างที่ซับซ้อน แต่มีปัญหาว่าลักษณะบางลักษณะดูเหมือนจะเป็นแบบง่าย ๆ แต่ที่จริงแล้วเป็นผลมาจากการลดรูปลง หรือ การเชื่อมติดกันของโครงสร้างที่ซับซ้อนกว่าของบรรพบุรุษ ดังนั้นนักพฤกษศาสตร์จึงต้องใช้ความพยายามอย่างมากที่จะจัดระบบการจำแนกพืชตามวิวัฒนาการชาติพันธุ์ให้ได้ แม้ในปัจจุบันนี้ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เพราะไม่สามารถสืบและค้นหาร่องรอยของสายวิวัฒนาการของพืชได้ทั้งหมด

เอากุสต์ วิลเฮล์ม ไอคเลอร์ (August Wilhelm Eichler) ค.ศ. 1839-1887 ศาสตราจารย์ทางพฤกษศาสตร์ ชาวเยอรมัน แบ่งพืชออกเป็น 2 กลุ่ม คือ พืชไม่มีเมล็ด (Cryptogamae) และพืชมีเมล็ด (Phanerogamae) ในกลุ่มของพืชไม่มีเมล็ดได้แก่ แอลจี ฟังไจ ไบรโอไฟต์ และพืชมีท่อลำเลียงชั้นต่ำ ในกลุ่มของพืชมีเมล็ด ได้แก่ พืชเมล็ดเปลือยและพืชดอก ในส่วนของพืชดอก แบ่งออกเป็น พืชใบเลี้ยงเดี่ยว และพืชใบเลี้ยงคู่ และส่วนของพืชใบเลี้ยงคู่แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลีบดอกแยกกัน (Choripetalae) และกลีบดอกเชื่อมติดกัน (Sympetalae) ซึ่งในระบบของไอคเลอร์นี้จะเป็นรากฐานของอดอล์ฟ เองเกลอร์ แต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับนัก ระบบของเบนธัมและฮุกเกอร์ยังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกาตอนเหนือและอังกฤษ

อดอล์ฟ เองเกลอร์ (Adolf Engler) ค.ศ. 1844-1930 และ คาร์ล พรันทล์ (Karl Prantl) ค.ศ. 1849-1893 ศาสตราจารย์ทางพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันได้ปรับปรุงผลงานของไอคเลอร์และตีพิมพ์ในหนังสือชื่อ Die Naturlichen Pflanzenfamilien มีรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการระบุชื่อสกุลของพืขตั้งแต่ แอลจีถึงพืชดอก พร้อมภาพประกอบ รูปวิธาน และข้อมูลทางสัณฐานวิทยา กายวิภาคศาสตร์ ภูมิศาสตร์และคำบรรยายลักษณะพืช แต่ระบบนี้ยังมีข้อผิดพลาดทางหลักการวิวัฒนาการของพืช เนื่องจากจัดกลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมาก่อนพืชใบเลี้ยงคู่ และในกลุ่มของพืชใบเลี้ยงคู่ จัดพวกไม่มีกลีบดอกมาก่อนพวกที่มีกลีบดอก และพวกที่มีช่อดอกแบบหางกระรอก (Catkin) มาก่อนพวกมีช่อดอกแบบอื่น ๆ นั่นคือ พิจารณาว่าพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเก่ากว่า (Primitive) พืชใบเลี้ยงคู่ พืชไม่มีกลีบดอกเก่ากว่าพวกที่มีกลีบดอก และพวกมีช่อดอกแบบหางกระรอกเก่ากว่าพวกมีช่อดอกแบบอื่น

 

ชาล์ส เอ็ดวิน เบสซีย์ (Charles Edwin Bessey) ค.ศ. 1845-1915 ศาสตราจารย์ทางพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกา เป็นคนแรกที่ได้เสนอความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการและการจำแนกพืช นับเป็นการจำแนกตามวิวัฒนาการชาติพันธุ์ที่แท้จริงระบบแรก เขาไม่เห็นด้วยกับระบบของไอค์เลอร์และแองเกลอร์ เขานำระบบของเบนธัมและฮุคเกอร์มาปรับปรุงใหม่ให้เป็นไปตามแนวทางของวิวัฒนาการ และตีพิมพ์ในหนังสือชื่อ The Phylogenrtic Taxonomy of flowering Plants ในระบบนี้การจำแนกพืชได้พิจารณายึดถือเอาลักษณะที่พบในพืชสมัยโบราณและลักษณะที่มีวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษแล้ว โดยจัดจำแนกความคิดลักษณะที่โบราณ หรือ เกิดมาก่อนและลักษณะที่พัฒนาแล้วหรือเกิดมาภายหลังไว้ 28 ข้อ ซึ่งเรียกว่า Bessey’s dicta ในที่นี้จะขอยกบางข้อที่สำคัญมาแสดงไว้ ดังนี้

  1. พืชที่มีเนื้อไม้ (Woody stem) เก่ากว่าพวกที่มีลำต้นอ่อนนุ่ม (Herbaceous stem)
  2. ใบเดี่ยวเก่ากว่าใบประกอบ
  3. ใบที่มีการเรียงเส้นใบแบบตาข่ายเก่ากว่าใบที่มีการเรียงเส้นใบแบบขนาน
  4. พวกที่มีกลีบดอกเก่ากว่าพวกที่ไม่มีกลีบดอก
  5. พวกที่มีรังไข่เหนือวงกลีบเก่ากว่าพวกที่มีรังไข่ใต้วงกลีบ
  6. ดอกสมบูรณ์เพศเก่ากว่าดอกเพศเดียว
  7. ดอกที่มีเกสรเพศผู้จำนวนมากเก่ากว่าดอกที่มีเกสรเพศผู้จำนวนน้อย
  8. ดอกที่มีเกสรเพศผู้แยกกันเก่ากว่าดอกที่มีเกสรเพศผู้เชื่อมติดกัน

จอห์น ฮัทชินสัน (John Hutchinson) ค.ศ. 1884-1972 นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ เรียบเรียงหนังสือชื่อ Families of flowering Plants มี 2 Volume โดย Volume I เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ และ Volume II เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เขามีแนวคิดว่า พืชใบเลี้ยงคู่มีบรรพบุรุษแยกกันเป็น 2 สาย กล่าวคือ พวกที่ลำต้นมีเนื้อไม้จะมีวิวัฒนาการมาจากพวก Magnoliales ส่วนพวกที่มีลำต้นอ่อนนุ่มจะพัฒนามาจากพวก Ranales และพวกพืชใบเลี้ยงเดี่ยวก็มีวิวัฒนาการมาจาก Ranales เช่นเดียวกัน

ระบบของฮัทชินสัน ยังไม่เป็นที่ยอมรับของนักพฤกษศาสตร์ส่วนใหญ่ แม้ว่าเขาจะจำแนกพืชออกเป็นหลายวงศ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีผู้วิจารณ์กันมากก็คือ การจำแนกพืชที่มีลำต้นอ่อนนุ่มออกจากพวกที่ลำต้นมีเนื้อไม้ ทำพืชที่มีลักษณะเหมือนกันแต่ต่างกันตรงที่มีลำต้นอ่อนนุ่มกับลำต้นมีเนื้อไม้ต้องแยกกันอยู่คนละวงศ์ อย่างไรก็ตามระบบของฮัทชินสันนับว่าเป็นระบบล่าสุดในยุคของการเริ่มนำเอาหลักวิวัฒนาการเข้ามาใช้ในการจำแนกพืชดอก

ออสวาลด์ ทิปโป (Oswald Tippo) ค.ศ. 1911-1998 นักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกันในปี ค.ศ. 1942 เสนอระบบการจำแนกพืชทั้งอาณาจักร แบ่งพืชออกเป็นหลายอาณาจักรย่อยและหลายหมวด จัดอันดับ Magnoliales เป็นกลุ่มพืชที่เก่าแก่ที่สุดของพืชดอก ตีพิมพ์ผลงานในหนังสือชื่อ Cronica Botanica ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกา

นับจากปี ค.ศ. 1950 เป็นต้นมา ได้มีการเสนอระบบการจำแนกพืชของนักพฤกษศาสตร์อีกหลายท่าน ระบบการจำแนกเหล่านี้ได้พัฒนาขึ้นโดยอาศัยความรู้จากหลาย ๆ ด้าน เช่น โครงสร้างของพืช ส่วนประกอบทางเคมี และหลักฐานทางบรรพพฤกษศาสตร์ เป็นต้น นักพฤกษศาสตร์ที่น่าสนใจในช่วงนี้มีดังนี้

อาร์เมน ทัคห์ทาจัน (Armen Takhtajan)
เกิด ค.ศ. 1910 นักพฤกษศาสตร์ชาวรัสเชีย ระบบการจำแนกพืชของเขาตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1961 1964 และ 1969 ครั้งล่าสุด ค.ศ. 1987 ยังไม่ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษ จัดพืชดอกอยู่ในกลุ่ม Magnoliophyta และจัดพืชใบเลี้ยงคู่อยู่ในชั้น Magnoliopsida พืชใบเลี้ยงเดี่ยวอยู่ในชั้น Liliopsida

อาร์เทอร์ ครอนควิสต์ (Arthur Cronquist) เกิด ค.ศ. 1919 นักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้เสนอระบบการจำแนกพืชใบเลี้ยงคู่เป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1957 จากนั้นได้มีการปรับปรุงโดยอาศัยแนวความคิดของทัคห์ทาจันมาประกอบ รวบรวมไว้ในหนังสือชื่อ The Evolution and Classification of flowering Plant (ค. ศ. 1968) มีการจำแนกในลำดับอันดับ และชั้นย่อยใหม่

โรเบิร์ต ธอร์น (Robert Thorne) เกิด ค. ศ. 1920 นักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานการจำแนกพืชของเขาในปี ค. ศ. 1968 และได้ปรับปรุงผลงานของเขาอีกหลายครั้ง โดยอาศัยความสัมพันธ์กับระบบของ เบนสัน (Benson) และ สเตบบินส์ (Stebbins) ปรับปรุงครั้งล่าสุด ปี ค. ศ. 1992

โรล์ฟ ดาลห์เกรน (Rolf Dahlgren) ค. ศ. 1932-1987 นักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก เขาได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานครั้งแรกในปี ค. ศ. 1975 และได้ปรับปรุงแก้ไขอีกหลายครั้ง

ปัจจุบันการจำแนกพืชได้อาศัยข้อมูลด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เช่น บรรพพฤกษศาสตร์เคมีอนุกรมวิธาน (Chemotaxonomy) และการศึกษาจากกล้องจุลทรรศน์ทั้งแบบส่องกราด (Scanning Electron Microscope หรือ SEM) และแบบส่องผ่าน (Transmission Electron Microscope หรือ TEM) ทำให้มีข้อมูลละเอียดยิ่งขึ้น เป้าหมายที่สำคัญคือ จัดระบบการจำแนกพืชที่สะท้อนให้เห็นถึงวิวัฒนาการของพืชอย่างถูกต้องตรงความเป็นจริงที่สุด

อนุกรมวิธานพืชในประเทศไทย
หอพรรณไม้

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

🍁 การแพทย์แผนโบราณ
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้ค้นพบบันทึกว่า มีระบบการจัดหายาที่ชัดเจนสำหรับราษฏร มีแหล่งจำหน่ายยาและสมุนไพรหลายแห่งทั้งในและ นอกกำแพงเมือง

🍁 หลักธรรมในการอยู่ร่วมกันในสังคม
พระพุทธศาสนาได้สอนไว้ว่านักปกครองที่ดีนั้นควรมีคุณธรรม 10 ประการ เรียกว่า ทศพิธราชธรรม

🍁 สมถะวิปัสสนา
ตามแนวพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ (เถรวาท) ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)

🍁 พุทธธรรมขั้นพื้นฐาน
ไม่มีมนุษย์คนใดที่จะสามารถมีชีวิตอยู่ได้ลำพังตนเองโดยไม่ติดต่อสัมพันธ์กับคนอื่น เพราะการดำรงชีวิตอยู่ของคนเราจำเป็นจะต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน

🍁 พระสูตรของท่านเว่ยหลาง
สูตรของท่านเว่ยหล่างล้วนแต่เป็นเรื่องของการใช้ปัญญาเพื่อค้นหาหนทางแห่งความเป็นพุทธะ และเพื่อความหลุดพ้นไปจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวงในโลกนี้

🍁 พุทธศาสนสุภาษิต
สุภาษิตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดำรัสไว้ ซึ่งมีคุณค่าสูงส่ง สามารถใช้ได้ทั้งเป็นแนวทางดำเนินชีวิต เตือนใจ หาคำตอบที่ดีสำหรับปัญหาที่สงสัย

🍁 โอวาทสี่ของเหลี่ยวฝาน
แบบฉบับในการประพฤติดี ปฏิบัติชอบ เพื่อหยุดยั้งกระแสแห่งวัฒนธรรมตะวันตกและอนุรักษ์ความเป็นคนจีนดั้งเดิม

🍁 สาเหตุการเกิดมลภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อน หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกในปัจจุบัน สังเกตุได้จากอุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้น

🍁 แนวคิดและหลักการทางวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ คือ องค์ความรู้ของธรรมชาติและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการสืบเสาะหาความรู้

🍁 จักรวาล
“จักรวาล” และ “เอกภพ” เป็นคำๆ ที่มีความหมายเหมือนกัน ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “Universe” ซึ่งหมายถึง ทุกสรรพสิ่งทั้งหมดทั้งปวง

🍁 ทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา
ผู้เรียนเป็นฝ่ายสร้างความรู้ขึ้นด้วยตนเอง มิใช่ได้มาจากครูและในการสร้างความรู้นั้น ผู้เรียนจะต้องลงมือสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา

🍁 ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน
มิติทางวิชาการหลายมิติที่ซ้อนทับ เคลื่อนไหว และมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน รวมทั้งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจในทุกบริบทที่เกี่ยวข้อง

🍁 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทย
สังคมทุกสังคมย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอ ตราบใดที่สังคมนั้นยังต้องมีการติดต่อและสัมพันธ์กับสังคมอื่น การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างหนึ่ง

🍁 ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ
เมื่อบุคคลปรารถนาที่จะได้รับความพึงพอใจและเมื่อบุคคลได้รับความพึงพอใจในสิ่งหนึ่งแล้วก็จะยังคงเรียกร้องความพึงพอใจสิ่งอื่นๆ ต่อไป ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะของมนุษย์

🍁 กำเนิดโลกและสิ่งมีชีวิต
ทำไมโลกซึ่งแต่เดิมเป็นลูกไฟดวงหนึ่ง ไม่ได้ต่างจากดาวเคราะห์ดวงอื่น จึงเอื้อต่อสิ่งมีชีวิตได้มากมายเช่นนี้

🍁 โรคสัตว์สู่คน

🍁 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม

🍁 โรคอารมณ์สองขั้ว

🍁 คู่มือ อสม.กับการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

🍁 การจัดการกับอารมณ์และความเครียด

🍁 ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจ

🍁 การจูงใจ

🍁 การแกว่งแขน รักษาโรค

🍁 ประวัติขนมไทย

🍁 กัญชา

🐍 โปรดระวังงูฉก

มนุษย์ก็เหมือนสสารชนิดหนึ่ง
ที่รอวันร่วงโรยแตกดับ

อยู่ไปนานวันเข้าก็เริ่มสูญเสียความสมดุล
ระบบการทำงานของร่ายกายก็ช้าลงไปเรื่อยๆ

หลีกหนีไม่พ้นความตายในที่สุด

ร่างกายเน่าเปื่อยผุผัง
ไม่เที่ยงแท้แน่นอน
ไม่มั่นคงยั่งยืน
กลับคืนสภาพเดิมได้ยาก

จากธรรมชาติสู่ธรรมชาติ
ทั้งในสถานะของแข็งของเหลวและก๊าซ

มันเป็นอนิจจัง

รู้แล้วเหยียบไว้
อย่าได้ทำเป็นตื่นตูม.

🐍 งูเขียว หางบอบช้ำ : เขียน

เชิญแวะอ่านสักนิดสักหน่อยก็ยังดี...

🌿 ปายฝน ต้นรัก ปางอุ๋ง แม่ละนา 1864 โค้ง
บนทางหลวง 1864 โค้ง หมายเลข 1095 เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ฝันค้างกลางฤดูหนาวหนึ่ง ได้กลายเป็นความจริงตอนปลายฤดูฝน ปายที่เคยได้แต่ฝันถึง ปางอุ๋งที่ไม่มีวันจะเป็นจริง แม่ละนาที่ไกลเกินเอื้อม ด้วยปีกคู่นั้นกับชีวิตเสรีในแบบฉบับของตัวเอง

🌿 ตะลุยเมืองจำลอง
ฝนจะตกแดดจะออกก็ไม่เป็นปัญหา ไม่ต้องเตรียมแผนที่หรือข้อมูลอะไรให้ยุ่งยาก เสื้อยืดตัว ขอใช้ส่วนตัวเท่าที่จำเป็น เป้ใบ กล้อง จองโรงแรมคืนหนึ่งล่วงหน้า 3 วัน ก่อนเดินทางแถวจอมเทียน ขอลงรถหน้าเมืองจำลองได้เลย ก่อนรถเลี้ยวเข้าสถานีตรงพัทยาเหนือ (10.30 น. ถึง) พร้อมลุย

🌿 จากจังหวัดที่เล็กที่สุดถึงเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุด
ถึงอัมพวา แต่ไม่เห็นหิ่งห้อยสักตัว ทั้งที่นอนอยู่ใต้ต้นลำพู ถึงค่ายบางกุ้ง แต่ไม่ถึงวัดบางกุ้งทั้งที่อยู่ห่างกันแค่ข้ามฝั่งถนน

ยังมีอีก »


ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
ภูจอมยุทธ | Podcast

ชีวิตในแบบฉบับของตัวเอง หิวก็กินง่วงก็นอน อยากทำอะไรก็ทำ เบียดเบียนสภาพแวดล้อมแต่พองาม ประสบการณ์แบ่งปันผู้คน มากบ้างน้อยบ้าง วัดกับร้านเหล้าถือเป็นสถานอโคจร ที่ต้องรักษาระยะห่าง คลิกดู👆